|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ประธานบอร์ดทีโอทียันเสียหายหนัก หากรีบประมูล 3G วอนกทช.พิจารณาให้รอบคอบ ด้านกสทชี้รัฐน่าส่งเสริม 3G ความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนประธานกทช.พร้อมหยุดหากตีความว่าขัดรัฐธรรมนูญ ด้าน‘สุริยะใส’เลขาฯพรรคการเมืองใหม่ชี้ควรชะลอประมูล 3G ออกไปก่อนเพราะการประมูลครั้งนี้เป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่า นั้น
นายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานคณะกรรมการบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงผลกระทบที่จะเกิดกับรัฐวิสาหกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมภายหลังจาก การเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ที่จะรายงานคณะรัฐมนตรีว่าผลกระทบจากการประมูลไลเซ่นส์ 3Gจะทำให้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจโทรคมนาคมอย่างทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคมเสียหายเป็นอย่างมากเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานทั้ง 2 แห่งยังทำงานแบบกึ่งข้าราชการ การขับเคลื่อนองค์กรเพื่อแข่งขันกับเอกชนเป็นไปอย่างยากลำบาก
ประกอบกับผู้รับสัมปทานซึ่งประกาศตัวชัดเจนว่าจะทำการโอนย้ายลูกค้าจาก สัมปทานเดิมไปบนโครงข่ายใหม่ทันที ก็แสดงให้เห็นแล้วว่ารายได้ที่ทีโอทีได้รับจากสัมปทานปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาทจะหายไปทันที
นอกจากนี้การเปิดให้ต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติประมูลใบอนุญาต 3Gได้อย่างเสรี ก็จะทำให้ต่างชาติเหล่านั้นนำเงินที่ได้จากทรัพยากรประเทศไทยกลับไปพัฒนา ประเทศตัวเองได้มากขึ้นซึ่งจากเดิมรัฐบาลยังมีรายได้จากการทีโอทีและกสทนำ รายได้ส่งเข้ารัฐปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ผลกระทบจากการประมูล 3G ในด้านความมั่นคง กรณีหากอนาคตมีการใช้ระบบสื่อสาร 3G โจมตีรัฐบาล การที่รัฐจะร้องขอให้เอกชนปิดกั้นสัญญาณนั้นจะดำเนินการได้ยากแต่หากระบบ สื่อสารโทรคมนาคมยังเป็นของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่การสั่งปิดกั้นก็สามารถ ดำเนินการได้ทันที
‘กทช.ทุกคนเป็นคนดีและทุกคนเป็นข้าราชการ เชื่อว่าทุกท่านมีความรักต่อประเทศชาติ ผมเชื่อว่ากทช.จะทบทวนเรื่องการประมูล 3G อย่างละเอียดรอบคอบเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ’
นายกฤษดา กวีญาณ กรรมการบอร์ดบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้กสทกำลังอยู่ระหว่างเตรียมรายละเอียดผลกระทบที่กสท ได้รับตามคำสั่งของคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจจากการประมูลใบอนุญาต 3Gของกทช. โดยผลกระทบที่กสทจะได้รับคือรายได้จากสัญญาสัมปทานที่จะหายไปทันทีที่กทช .ให้ใบอนุญาตแก่เอกชน เพราะบริษัท โทลเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ ก็จะเกิดการโอนย้ายลูกค้าจากสัมปทานเดิมไปบนโครงข่าย ใหม่จนหมด
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากสท และทีโอที นำจ่ายส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานมือถือปีละ 3 หมื่นล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนต้องจ่ายให้รัฐประมาณ 25% ซึ่งสัญญาสัมปทานมีอายุเฉลี่ยเหลือประมาณ 6 ปี แต่หากกทช.ออกใบอนุญาต 3G รัฐจะมีรายได้เหลือเพียง 6 % หากคำนวณจากผู้รับสัมปทานรายใหญ่ในปัจจุบันรัฐจะมีรายได้เข้าประเทศเพียง 7,000 ล้านบาท และราคาการประมูลที่ 10,000 ล้านเป็นราคาที่เอกชนสามารถทำกำไรได้รวดเร็วเพราะเป็นราคาที่ต่ำ
ทั้งนี้หากรัฐหันมาส่งเสริมให้มีการลงทุน 3G บนความถี่ 850 MHz ของกสทซึ่งปัจจุบัน ดีแทคและทรูมูฟทดสอบให้บริการโดยสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี ก็จะทำให้รัฐยังมีเงินในการพัฒนาประเทศในปริมาณเท่าเดิม
‘ผลกระทบจากส่วนแบ่งรายได้ที่หายไปของสัมปทานมือถือกสท ก็จะส่งผลให้รายได้ที่ส่งให้รัฐหายไปด้วย ในขณะที่รายได้ที่ได้รับจากใบอนุญาต 3G ของ กทช.ก็เพียงเล็กน้อย ส่วนต่างที่หายไป ความเสียหายที่เกิดกับรัฐ ใครก็รับผิดชอบ’
นายกฤษดากล่าวว่าหากกทช.จะประมูลใบอนุญาต 3G ก็อยากให้ดำเนินการอย่างโปร่งใสชัดเจน ไม่ใช่เร่งรีบทำแต่ไม่มีความรอบคอบทำให้หน่วยงานรัฐประสบปัญหา และควรจะเปิดโอกาสให้กสท และทีโอทีมีโอกาสเข้าร่วมประมูลเช่นเดียวกับเอกชนรายอื่นๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจไทย
**ขัด รธน.ก็หยุด 3G
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานกทช.กล่าวว่ากทช.รับฟังทุกความคิดเห็น และดูทุกประเด็นที่เป็นความห่วงใยของหลายๆฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลกระทบที่จะเกิดกับทีโอทีและกสท ปัญหาในเรื่องความมั่นคง การเป็นบริษัทต่างชาติหรือนอมินีต่างชาติ ซึ่งจะมีการหารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องและดูว่าในด้านกม.แล้วจะตรวจสอบลงลึก ได้ในระดับไหน รวมทั้งเรื่องการกำหนดเพดานค่าบริการเพื่อไม่ให้เกิดการผลักภาระให้ผู้ บริโภค
‘ผมไม่ปวดหัวหรือไม่เครียดเลย ดีเสียอีกที่ทุกๆฝ่ายแสดงความคิดเห็นเพื่อให้กระบวนการเดินหน้าไปด้วยความ โปร่งใส วันนี้ในเรื่องจะประมูล 3G ได้เมื่อไหร่ ไม่ใช่ความสำคัญอันดับแรก หรือประเด็นสำคัญหลักแล้ว’
ประธาน กทช.ขยายความว่ากทช.จะประชุมบอร์ดในวันที่ 21 ต.ค.ที่จะถึงนี้เพื่อพิจารณาราคากลางที่ใบอนุญาตแต่ละใบไม่น่าจะเกินหมื่น ล้านบาท หรือถ้าแพงกว่านั้นอาจเป็นใบอนุญาตที่มีความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมทั้งจะหารือทุกประเด็นที่เป็นคำถามจากทุกฝ่ายที่แสดงความเห็นมา หลังจากนั้นจะนำขึ้นเว็บในวันที่ 22 ต.ค.และประชาพิจารณ์อีกรอบในวันที่ 5 พ.ย. และหลังจากนั้นจะมีการหารือกลุ่มย่อยหรือโฟกัส กรุ๊ปกับทีโอที กสท และผู้ประกอบการอย่างเอไอเอส ดีแทค ทรูมูฟ เพื่อเก็บตกรายละเอียดและทำความเข้าใจให้ตรงกันอีกครั้งหนึ่ง
‘สิ่งสำคัญคือถ้าประกาศ IM (Information Memorandum)ได้ก็ถือว่าจบแล้ว ซึ่งเราคาดว่าหลังประชาพิจารณ์ประมาณ 30 วันจะได้ข้อสรุปทั้งหมด’
สำหรับการส่งเรื่องให้กฤษฎีกาตีความมาตรา 47 วรรค 2 ที่กำหนดให้องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุ กระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.ทำหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวนั้นพล.อ.ชูชาติกล่าวย้ำว่าหากกฤษฎีกาตีความ กลับมาว่าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุด แต่โดยส่วนตัวและเชื่อว่ากทช.มีอำนาจทำได้และไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
‘ถ้าขัดรัฐธรรมนูญ ก็หยุดไม่ต้องประมูลก็แค่นั้นไม่ได้มีอะไรมาก’
อย่างไรก็ตามประธานกทช.เห็นว่าผลกระทบกับรัฐวิสาหกิจไม่น่ารุนแรงถึงขนาดว่า จะเสียหายเป็นแสนล้านบาท เพราะการถ่ายโอนลูกค้า เนื่องจากเงื่อนไขกำหนดไว้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องวางโครงข่ายเสร็จและ ครอบคลุมประชากรเป็นระยะๆในเวลากี่ปี และกว่าจะถ่ายโอนลูกค้าเสร็จ ดีไม่ดีสัมปทานอาจหมดอายุก่อนก็เป็นได้ นอกจากนี้ทีโอทีควรรับไปทำบริการโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) อีกหลักพันล้านหรือหมื่นล้านบาทจะดีกว่าเพราะมีศักยภาพเพียงพอ
ส่วนประเด็นเรื่องความมั่นคงของ 3G นั้น ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้สิทธิในการใช้ความถี่เท่านั้น แต่ความถี่ยังถือเป็นสมบัติของชาติเหมือนเดิม รวมทั้งความมั่นคงเกี่ยวกับ 3G น่าจะเป็นความมั่นคงด้านคอนเทนต์ไม่ใช่ด้านโครงข่าย ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีที สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จะบังคับใช้พรบ.คอมพ์ให้เข้มงวดมากกว่า
**กกม.ร้อง กทช.ชะลอประมูล 3G
นาย สำราญ รอดเพชร โฆษกพรรคการเมืองใหม่ แถลงว่าขอเรียกร้องให้ กทช.ชะลอการประมูลใบอนุญาต 3G ออกไปก่อน เพราะการเตรียมการประมูลเป็นไปอย่างลุกลี้ลุกลน รวบรัดตัดตอน เช่น สถานภาพของกรรมการเพียง 3 คน จากทั้งหมด 7 คน เงื่อนไขการประมูลยังกีดกันและห้ามกสทและทีโอทีเข้าร่วมนอกจากนี้กระบวนการ ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าเป็นไปด้วยความโปร่งใสและปกป้องผล ประโยชน์ของประชาชน
พรรค กกม.ของตั้งข้อสังเกตว่าการประมูลครั้งนี้มีผลประโยชน์หลายล้านล้านบาทอาจมี กลุ่มธุรกิจการเมืองบางกลุ่มได้ประโยชน์ทั้งเม็ดเงินการประมูลและการเอื้อ ประโยชน์ให้กับนักธุรกิจมือถือปัจจุบัน โดยเฉพาะบริษัทมือถือรายใหญ่ ที่หากชนะการประมูลจะโอนย้ายลูกค้าไปใช้โครงข่ายใหม่ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราย ได้ที่ต้องนำส่งรัฐ พรรคฯจึงขอเรียกร้องให้กทช.และกระทรวงไอซีทีให้จัดกระบวนการรับฟังความคิด เห็นของประชาชนและผู้บริโภคในวงกว้างมากกว่าจะดำเนินการโดยลำพัง
นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวว่า การประมูลใบอนุญาตครั้งนี้มูลค่ากว่า 1.6 ล้านล้านบาท แต่การประมูลที่เกิดขึ้นกลับมีรูปแบบลุกลี้ลุกลนเหมือนการพยายามอำนวย ประโยชน์กัน เนื่องจากมีการกีดกันกสทและทีโอที ประกอบกับมีการให้ใบอนุญาตเพียง 4 ใบ ซึ่งเมื่อหลับตาดูแล้วก็จะรู้ว่ามีผู้ให้บริการรายใดบ้างที่จะได้ใบอนุญาตไป การประมูลจึงเป็นเพียงการจัดฉากเพื่อแบ่งผลประโยชน์เท่านั้น
|
|
|
|
|