Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
เปิดตลาดเซ็กชั่นใหม่ "ตู้เย็นกับเครื่องสำอางโดยเฉพาะ"             
 


   
search resources

Jurgen Kraus
Werner Hoffmann




เวลาไปซื้อเครื่องสำอาง คุณคงได้ยินผู้เชี่ยวชาญด้านความงามแนะนำอยู่เสมอว่า ให้เก็บ eye gels ในตู้เย็นช่องที่มีความเย็นระดับที่คุณแช่ผลิตภัณฑ์นมเนย ส่วนครีมทาหน้าเก็บในช่องแช่ผักสลัด และน้ำยาทาเล็บก็จะง่ายต่อการทามากขึ้น ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น แต่ในความเป็นจริงแล้ว การต้องเดินออกจากห้องน้ำไปยังห้องครัวเพื่อหยิบเครื่องสำอางในตู้เย็นออกมาใช้นั้น ช่างน่าเบื่อหน่ายเสียนี่กระไร ในเมื่อคุณอาจต้องเปิดประตูถึงสองบานคือประตูห้องครัวและประตูห้องน้ำ ต้องเดินไปตามทางเดินในบ้าน และอาจต้องขึ้นลงบันไดอีกต่างหาก

ถ้ามีอีกทางเลือกหนึ่งคือมีตู้เย็นเล็กๆ อยู่ในห้องน้ำล่ะ?

คำถามง่ายๆ นี้แวบขึ้นมาในหัวสมองของ Jurgen Kraus ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดประจำกรุง Cologne เมื่อ 2 ปีที่แล้ว เพราะเขาเห็นภรรยาต้องวิ่งไปมาระหว่างห้องครัวและห้องน้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นิตยสาร Wallpaper ฉบับเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ยังให้รายละเอียดของการจุดประกายความคิดนี้ต่อไปว่า "ผมเลยเกิดข้อสงสัยต่อไปว่า ทำไมถึงไม่มีใครคิดออกแบบตู้เย็นสวยๆ แลดูดีมีรสนิยมสำหรับไว้ในห้องน้ำกันบ้างนะ? ลองคิดดูสิ เรารู้จักเอาเนยเก็บไว้ในตู้เย็นกัน แต่กับครีมทาหน้าซึ่งบางกระปุกราคาสูงกว่า 100 มาร์ก กลับถูกวางทิ้งไว้ในห้องน้ำที่ทั้งอบอ้าวและร้อน โดยทั่วไปแล้วห้องน้ำมีอุณหภูมิสูงเกินไป (ประมาณ 28 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น) และมีความชื้นมากไปไม่เหมาะกับการเก็บเครื่องสำอาง ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายส่วนผสมแพงๆ ของเครื่องสำอางเร็วกว่าที่เก็บไว้ในตู้เย็นถึง 30 เปอร์เซ็นต์"

หลังจากนั้น Kraus ไม่รอช้าที่จะแปรความคิดให้เป็นการกระทำ เขาติดต่อกับสถาปนิก Werner Hoffmann และร่วมงานกันจนได้ตู้เย็น Biszet แบบเรียบสวยสง่าที่มีผนังคู่และโครงทำด้วยเหล็กพื้นผิวมันวาว ซึ่งจะไม่ทำให้ห้องน้ำที่คุณลงทุนใช้อุปกรณ์ของ Boffi ต้องแลดูด้อยค่าไร้รสนิยมโดยเด็ดขาด พวกเขาต้องใช้เวลาถึง 2 ปี สำหรับงานออกแบบที่เป็นไปได้ ทั้งในแง่ประโยชน์ใช้สอยและกลไกทางเทคนิค

ประการแรกสุดอยู่ที่การให้ความสำคัญกับขนาดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีขนาดเล็กกะทัดรัดพอที่จะเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของห้องน้ำโดยทั่วไปได้

ประการที่สองจะต้องเป็นตู้เย็นที่มีช่องอุณหภูมิแตกต่างกัน 3 โซน เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังจำนวนมากยืนยันว่า เครื่องสำอางที่มีสูตรการผลิตแตกต่างกันต้องการเงื่อนไขการเก็บที่แตกต่างกันด้วย จึงออกแบบผลิตให้ชั้นบนสุดของตู้เย็น Biszet มีอุณหภูมิ 12-13 องศาเซลเซียส ซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับเก็บเครื่องสำอางที่มี ส่วนผสมของคอลลาเจน ถัดมาในชั้นกลางอุณหภูมิอยู่ที่ 10 องศาเซลเซียส สำหรับเก็บผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารกันบูด (preservatives) หรือมีเพียงเล็กน้อย และชั้นล่างสุดมีอุณหภูมิ 5-8 องศาเซลเซียส เหมาะกับการเก็บเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของวิตามินมากที่สุด

แนวคิดเรื่องการมีตู้เย็นในห้องน้ำนี้ฟังดูออกจะ "เว่อร์" ไม่น้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วบริษัทผู้ผลิตเครื่องสำอางในปัจจุบันหันมาเน้นการใช้สารอินทรีย์ (organic) และวัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนผสมมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาต่างให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาส่วนผสมของเครื่องสำอางให้มีความบริสุทธิ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และจำกัดปริมาณการใช้สารกันบูดลงให้เหลือน้อยที่สุด แล้วหันมาใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติสามารถต่อต้านแบคทีเรียและเก็บได้นาน เช่น tea tree oil และ wheatgerm oil ซึ่งอุดมด้วยวิตามินอี

ปัจจุบันจึงมีห้างขายเครื่องสำอางหลายแห่ง อาทิ The Organic Pharmacy ซึ่งตั้งอยู่บนถนน King's Road ในกรุงลอนดอนและห้าง Lush เก็บผลิตภัณฑ์ที่ตนวางขายเอาไว้ในตู้เย็น และเพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับความสดใหม่ของสูตรเครื่องสำอาง จึงขายสินค้าตามกำหนดวันหมดอายุ ส่วน Doux Me ซึ่งเป็นเครื่องสำอางสูตรออร์แกนิคยี่ห้อล่าสุดจากฝรั่งเศสก็ออกแบบตู้เย็นของตนขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อโชว์ผลิตภัณฑ์ที่วางขายในห้าง "การมีตู้เย็นถือเป็นเรื่องวิเศษสุดเลยทีเดียว เพราะความเย็นช่วยเสริมประสิทธิภาพของหัวน้ำมัน (essential oil) เมื่อนำมาทาลงบนผิวหนังก็ให้ความรู้สึกเย็นและสดชื่น" บรรดาเจ้าหน้าที่ของบริษัทผลิตเครื่องสำอางเหล่านี้ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียว

นอกจากนี้ เครื่องสำอางที่เก็บในตู้เย็นก็มีประสิทธิภาพดีขึ้นเช่นกัน เห็นได้จากลิปสติกและดินสอเขียนคิ้ว ซึ่งมีส่วนผสมของขี้ผึ้งเป็นหลัก จะละลายเมื่อเก็บไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง ส่วนน้ำยาทาเล็บที่มีลักษณะเหลวเกินไปเพราะเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูงก็ทำให้ยากต่อการทา แม้ว่าเครื่องสำอางส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของสารกันบูด แต่การเก็บไว้ในที่เย็นสามารถช่วยลดการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย และการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนกลายเป็นออกไซด์หรือ oxidation ได้ สำหรับมาสคาร่านั้นนับว่ามีความไวเป็นพิเศษ เพราะเมื่อคุณเปิดหลอดแล้วดึงแท่งมาสคาร่าออกมาทาขนตาและปิดกลับเข้าไปในหลอดดังเดิม จะเป็นการอัดอากาศเข้าไปด้วยทุกครั้ง ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นที่สุดราว 3 หรือ 6 เดือนเท่านั้น

ในส่วนของผู้ที่รักน้ำหอมก็คงดีใจไม่น้อยกับแนวคิดเรื่องการติดตั้งตู้เย็นในห้องน้ำ "อุณหภูมิเหมาะสมที่สุดสำหรับการเก็บน้ำหอมอยู่ที่ 6-10 องศาเซลเซียส" Roja Dove ผู้เชี่ยวชาญการพิสูจน์กลิ่นน้ำหอม (nose) ในอังกฤษแสดงความคิดเห็น "ศัตรูตัวร้ายที่สุดของกลิ่นหอมคือ การต้องสัมผัสกับแสงแดด แก๊สออกซิเจน และความร้อนโดยตรง ถ้าเป็นไปได้ให้เก็บขวดน้ำหอมไว้ในกล่องเพื่อไม่ให้โดนแสง และต้องระวังคอยปิดจุกขวดให้แน่นเสมอ น้ำหอมจากธรรมชาติ (natural perfume) มีคุณสมบัติเหมือนไวน์คือ เมื่ออยู่ในขวดที่ปิดสนิทไม่มีอากาศเข้าได้มันจะเก่า (ageing) ต่อไปเรื่อยๆ เพราะอณูของน้ำมันธรรมชาติ (natural oil) จะแตกตัวได้ดีเมื่ออยู่ในแอลกอฮอล์ ทำให้กลิ่นหอมจากน้ำมันระเหยออกมาทีละน้อยๆ เหมือนความหวานหอมของเค้กคริสต์มาสยังไงยังงั้น"

อย่างไรก็ตาม บริษัทเครื่องสำอางระดับยักษ์ใหญ่ที่มีปริมาณการผลิตครั้งละมากๆ ซึ่งทำให้จำเป็นต้องมีส่วนผสมของสารกันบูดในสัดส่วนสูงขึ้นนั้น ยังระมัดระวังที่จะออกความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดนี้ เห็นได้จากที่ Dr. Sven Gohla แห่งบริษัท Clinique La Prairie อธิบายว่า "กฎหมายบังคับว่าผลิตภัณฑ์ที่วางตลาดต้องเก็บได้อย่างปลอดภัย ณ อุณหภูมิห้องเป็นเวลานาน 30 เดือน หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องระบุวันหมดอายุไว้ อีกอย่างหนึ่งเมื่ออยู่ในห้องทดลองเราจะนำผลิตภัณฑ์ไปทดสอบความกดดันทุกรูปแบบ รวมทั้งการใส่แบคทีเรียทุกชนิดลงไป และสร้างสถานการณ์จำลองทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ขึ้นมา เพื่อให้แน่ใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นั่นเอง"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us