Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
ดร.ศุภกร สุนทรกิจ Strategic Planner ของ MFC             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
 

   
related stories

เมื่อ High Risk ก็ต้อง High Return

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
พิชิต อัคราทิตย์
อัญญา ขันธวิทย์
ศุภกร สุนทรกิจ




ตำแหน่งนักวางแผนกลยุทธ์การลงทุนอาวุโส (Senior Strategist) ของบลจ.MFC ที่ดร.ศุภกร สุนทรกิจ ได้รับ แม้ไม่ใช่ตำแหน่งบริหารระดับสูงที่ต้องมีลูกน้องมากมาย แต่เขาก็มีความภาคภูมิใจในหน้าที่และบทบาทนี้เป็นอย่างยิ่ง

"มันเป็นตำแหน่งที่ทำให้ผมมีความคล่องตัวมากในการทำงาน" เขาบอกกับ "ผู้จัดการ"

ความคล่องตัวนี้ ย่อมหมายถึงบทบาทที่เขาได้โอกาส มีส่วนร่วมวางกลยุทธ์การก้าวย่างต่อไปของ MFC ในทุก step

ดร.ศุภกร เป็น 1 ในมันสมอง 2 คนที่ ดร.พิชิต อัคราทิตย์ กรรมการจัดการ ดึงตัวเข้ามาช่วยงาน โดยอีกคนนั้นคือ ดร.อัญญา ขันธวิทย์ อาจารย์จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพียงแต่ ดร.ศุภกรทำงานให้กับ MFC เต็มเวลา

ทั้ง 2 คน ถือว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสูง โดยเฉพาะดร.ศุภกรเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังการสร้างสรรค์กองทุนใหม่ๆ ที่ MFC ได้ทยอยเปิดตัวออกมาแล้วในช่วงนี้

เขาเพิ่งมีอายุเพียง 36 ปี ถือเป็นดอกเตอร์หนุ่มอีก 1 คน ที่กำลังมีบทบาทในแวดวงการเงิน

ดร.ศุภกรเรียนจบมัธยมจากโรงเรียนเซนต์ดอมินิครุ่นเดียวกับ "นีโน่" เมทนี บุรณศิริ แล้วเอนทรานซ์ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกโยธาในปี 2528

เขาใช้เวลาเรียนวิศวฯ จุฬาฯ ถึง 5 ปี เพราะในรั้วมหาวิทยาลัย เขาให้ความจริงจังกับการเรียนน้อยกว่าสมัยอยู่มัธยม

"จบ ม.6 ได้เกรด 3 กว่า แต่จบมหาวิทยาลัย ได้เกรดแค่ 2 กว่าเท่านั้น" เขายอมรับ

ดร.ศุภกรไม่เคยมีความคิดว่าจะก้าวเข้ามาในแวดวงการเงินมาก่อน ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่จุฬาฯ เป็นช่วงที่ภาวะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของไทยเริ่มบูมขึ้น หลังจบมหาวิทยาลัย ในปี 2533 เขาได้งานเป็นวิศวกรโครงการ บริษัท Adtech International ซึ่งรับเหมาก่อสร้าง แต่ทำอยู่ที่นี่ไม่นาน ก็คิดไปเรียนต่อ

"ตอนนั้น หัวหน้าเอาโครงการมาให้ศึกษาผลตอบแทนจากการลงทุน ก็เลยเริ่มสนใจ แต่ความรู้เรื่องการเงินของเราก็ไม่มีเลยจึงอยากไปเรียนต่อ"

ดร.ศุภกรไปเรียนปริญญาโท MBA สาขาการเงิน ที่มหาวิทยาลัย Central Oklahoma สหรัฐอเมริกา และจบกลับมาเมืองไทยในปี 2538 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์กำลังบูมสุดขีด ดัชนีราคาหุ้นขึ้นไปถึง 1,700 จุด ก่อนที่จะหักหัวลง

"กลับมาใหม่ๆ อยากลอง ก็ไปซื้อกองทุนของ บลจ. ที่ทางการเพิ่งให้ใบอนุญาต ปรากฏว่าตอนซื้อ 10 บาท หลังจากนั้นมูลค่าก็ลดลงมาเหลือเพียง 2-3 บาท" เป็นประสบการณ์ที่ทำให้เขารู้จักกับธุรกิจจัดการกองทุนเป็นครั้งแรก

เขากลับมาเมืองไทย เพื่อเรียนต่อระดับปริญญาเอก ด้านบริหารธุรกิจ (ด้านการเงิน) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างเรียนเขาเคยร่วมหุ้นจัดตั้งบริษัท Value Vision รับจัดงานสัมมนา ฝึกอบรม โดยรับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ แต่บริษัทนี้ต้องปิดตัวลงหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เขาจึงเบนเข็มไปเป็นผู้ช่วยหัวหน้าส่วนในฝ่ายวิจัยและพัฒนา ศูนย์การซื้อขายตราสารหนี้ไทย ในปี 2540 แต่ทำได้เพียง 2 ปี ก็ต้องลาออก เพื่อเร่งทำวิทยานิพนธ์ให้เสร็จ

เขาได้รับปริญญาเอกในปี 2543 และกลับเข้าทำงานในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยอีกครั้ง ตำแหน่งสุดท้าย ก่อนจะลาออกมาอยู่ บลจ.MFC เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา

ทั้ง ดร.ศุภกร และ ดร.พิชิต มีพื้นฐานคล้ายคลึงกัน คือมีพื้นฐานมาจากงาน R&D ซึ่งจุดนี้ทำให้ทั้งคู่ทำงานเข้าขากันเป็นอย่างดี และทั้งคู่มีบุคลิกที่เหมือนกัน คือเป็นคนที่ไม่อยู่นิ่ง

"งานวิจัยและพัฒนาทำให้เราต้องหาอะไรใหม่ๆ ทำอยู่ตลอดเวลา เมื่อจบเรื่องนี้แล้ว ก็ต้องหาเรื่องใหม่มาให้คิดต่ออีก"

เป็นคุณสมบัติที่ บลจ.MFC กำลังต้องการพอดี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us