Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์12 ตุลาคม 2552
แกรมมี่พาโมเดลแฮปปี้ แวมไพร์บุกไต้หวันจับมือจงหัว เทเลคอม ดูดลูกค้าอาเซียน 4 ประเทศ             
 


   
www resources

โฮมเพจ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่

   
search resources

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บมจ.
Musics




ตลาดเพลงในยุคนี้ได้เคลื่อนเข้าสู่โลกของดิจิตอลอย่างเต็มตัว ค่ายเพลงหันไปหารายได้จากการดาวน์โหลดแทนการขายแผ่นซีดี แต่ละค่ายหันไปจับมือกับโอเปอเรเตอร์มือถือ เปิดกลยุทธ์การตลาดบนโลกดิจิตอลกันอย่างดุเดือด แผ่นซีดีที่เคยเสนอขาย 10-12 เพลง ราคา 100-200 บาท วันนี้ ผู้บริโภคจ่ายเพียง 20-30 บาท ต่อเดือน สามารถดาวน์โหลดเพลงยกค่าย ไม่ว่าเก่าหรือใหม่อย่างไม่จำกัด ดูในมุมผู้บริโภคอาจมองว่าคุ้มค่ากว่าก่อนที่การซื้อหาเพลงในยุคนี้ สามารถเลือกเฉพาะเพลงฮิต เพลงดังได้ ไม่ต้องซื้อเหมายกอัลบัมเหมือนก่อน แต่ในมุมของค่ายเพลงเอง ยิ่งคุ้มค่ากว่า เพราะทุกเดือนจะมีลูกค้านับแสนราย จ่ายเงินเดือนจะมีลูกค้านับแสนรายจ่ายเงินรายเดือน 20-30 บาท ให้กับค่าย เปลี่ยนโฉมสินค้าที่เคยขายขาดครั้งเดียว กลายเป็นสินค้าที่ต้องจ่ายรายเดือน สร้างรายได้ให้กับค่ายเพลงอย่างมั่นคง

จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ คือค่ายเพลงที่ขายสินค้าระบบเหมาจ่ายรายเดือนรายแรก โดยบริการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือการจับมือกับโอเปอเรเตอร์มือถืออันดับ 2 ของประเทศไทย ดีแทค ให้บริการในชื่อ 'แฮปปี้ แวมไพร์' ดาวน์โหลดเพลงแกรมมี่ยกค่ายในราคาเดือนละ 20 บาท วันนี้มีผู้สมัครใช้บริการร่วม 2 ล้านราย รายได้ที่ไหลเข้าสู่บริษัทอย่างน่าสนใจนี้ ทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่คิดนำโมเดลบริการนี้ไปใช้ในต่างประเทศที่มีคนไทยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไต้หวัน, ตะวันออกกลาง หรือออสเตรเลีย และวันนี้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ก็เปิดให้บริการในไต้หวัน เป็นที่เรียบร้อยในชื่อ 'Happy Ideal Mobile'

Happy Idea Mobile เป็นการให้บริการดาวน์โหลดเพลงที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ร่วมมือกับ จงหัว เทเลคอม โอเปอเรเตอร์มือถือรายใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ที่กินส่วนแบ่งทั้งตลาดมือถือ โทรศัพท์บ้าน และบริการอินเทอร์เน็ต ราว 80-90% ในไต้หวัน เพื่อให้บริการแก่คนไทยที่เดินทางไปทำงานซึ่งมีอยู่ราว 1 แสนคน สามารถเสพเพลงไทยได้อย่างสะดวก สบาย เพราะปัจจุบันตลาดไต้หวันยังมีสินค้าเพลงไทยตอบสนองความต้องการไม่ครบถ้วน

สุรชัย เสนศรี กรรมการผู้จัดการหน่วยธุรกิจจีเอ็มเอ็ม อินเตอร์เนชันแนล ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่กล่าวว่า แกรมมี่ได้ดำเนินการทำตลาดเพื่อจัดเก็บรายได้จากเพลงของแกรมมี่ในต่างประเทศให้เข้าสู่ระบบ ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจในแต่ละประเทศ โดยในไต้หวันได้จับมือกับจงหัว เทเลคอม ให้บริการ Happy Idea Mobile ดาวน์โหลดเพลงแกรมมี่ทั้งเสียงเพลงรอสาย และเพลงเต็ม ไม่อั้น เพียงเดือนละ 50 ดอลลาร์ไต้หวัน ซึ่งทางจงหัว เทเลคอม มองว่าบริการนี้ถือเป็นบริการ CSR ที่จะตอบแทนให้กับลูกค้าของจงหัว เทเลคอม โดยค่าบริการ Happy Idea Mobile ที่ผู้ใช้บริการจ่ายเดือนละ 50 ดอลลาร์ไต้หวัน สามารถใช้โทรฟรีตามมูลค่าที่จ่าย และหากใช้บริการครบ 1 ปี 600 ดอลลาร์ ก็จะเพิ่มค่าโทรฟรีให้เป็น 1,200 ดอลลาร์ไต้หวัน

โดยจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจ สร้างความรู้จักในบริการนี้ทางจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ร่วมมือกับจงหัว เทเลคอมในการเปิดบูธที่สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจกซิมฟรีสำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปทำงานในไต้หวัน ขณะที่ในไต้หวันจะมีการจัด Exclusive Concert นำศิลปินไทยไปแสดงคอนเสิร์ตถึงไต้หวัน ปีละ 6 ครั้ง ครั้งละ 2 โชว์ 2 เมือง โดยมองสิทธิพิเศษให้กับลูกค้าที่ใช้ซิมมือถือของจงหัว เทเลคอม และใช้บริการ Happy Idea Mobile รับบัตรเข้าชมฟรี 1,000 ที่นั่ง เพื่อสร้างความจงรักภักดีในบริการ นอกจากนี้ยังจะมีการโฆษณาบริการผ่านแผ่นพับ แผ่นป้ายโฆษณา และพิมพ์ลงในปกซีดี คาราโอเกะเพลงไทยของแกรมมี่ที่วางขายในไต้หวัน และโฆษณาผ่านแฟนทีวี ซึ่งสามารถรับชมผ่านจานดาวเทียมได้ในไต้หวัน ตั้งเป้าปีแรกจะมีคนไทยสมัครเป็นสมาชิกบริการนี้ราว 10%

สุรชัยกล่าวว่า นอกเหนือ Happy Idea Mobile จะทำตลาดเพลงไทยให้กับคนไทยและคนลาวในไต้หวันแล้ว จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ยังได้ประสานกับค่ายเพลงมิวสิกก้า ในอินโดนีเชีย, ยูนิเวอร์แซล ในฟิลิปปินส์ และค่ายเพลงพันธมิตรในเวียดนาม นำเพลงของทั้ง 3 ค่ายมาร่วมอยู่ในบริการนี้ เพื่อขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น โดยนอกเหนือจากคนไทย 1 แสนคนแล้ว ในไต้หวันยังมีคนงานจากอินโดนีเชีย อยู่ราว 2.5 แสนคน คนฟิลิปปินส์ 1 แสนคน และคนเวียดนามอีก 1 แสนคน เมื่อรวมแล้วจะมีกลุ่มเป้าหมายของบริการนี้อยู่ราว 5-6 แสนคน โดยคาดว่า หากสามารถทำตลาดหาสมาชิกบริการได้ครึ่งหนึ่ง หรือ 2.5 แสนคน จะทำให้จีเอ็มเอ็มแกรมมี่มีรายได้ราว 100 ล้านบาท

สุรชัยเชื่อมั่นว่ารูปแบบการทำตลาดที่แพดร่วมกัน 4 ประเทศเช่นนี้ จะทำให้จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่สามารถขยายตลาดในต่างประเทศได้ไม่ยาก โดยเป้าหมายต่อไปคือการขยายไปสู่ตลาดตะวันออกกลาง และยุโรป ซึ่งที่ผ่านมา จีเอ็มเอ็มแกรมมี่เคยพยายามเจรจาทำธุรกิจกับโอเปอเรเตอร์มือถือเพียงลำพัง แต่ไม่สามารถทำได้เพราะตลาดคนไทยยังเล็กเกินไป แต่หากได้พันธมิตรจากอาเซียนร่วมทีมไป ก็น่าจะทำให้การเจรจาเพื่อทำธุรกิจเป็นไปได้มากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us