|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์ประเมินเม็ดเงินจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งที่สามารถอัดฉีดเข้าระบบได้ในปีหน้า จะอยู่ในราว 2 แสนกว่าล้าน ส่วนอื่นๆยังคงต้องรอความชัดเจนในแหล่งที่มาของเงินทุน ด้านสัดส่วนโครงการเป็นส่วนของอสังหาฯมากสุด 40%
ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) หรือ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ซึ่งมูลค่ารวม 1.4 ล้านล้านบาทนั้น คาดว่าจะทำให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณราว 2 แสนกว่าล้านบาทในปี 2553 ซึ่งโดยรวมแล้ว ระดับการใช้จ่ายของภาครัฐจะไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2552 เท่าใดนัก เพราะวงเงินนอกงบประมาณจาก SP2 ในปีหน้าส่วนหนึ่งจะมาชดเชยวงเงินในงบประมาณที่ลดลง ดังนั้น แรงกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในระยะยาวจะไม่มากอย่างที่คิด
สำหรับโครงการ SP2 ทั้งหมด 1.4 ล้านล้านบาท มีโครงการที่ยังไม่พร้อมดำเนินการซึ่งต้องศึกษาเพิ่มเติม หรือที่เรียกว่า Tier-2 และ Tier-3 อยู่ราว 4 แสนล้านบาท เหลือโครงการที่จัดอยู่ในประเภท “พร้อมดำเนินการ” (Tier 1) ราว 1 ล้านล้านบาท แต่มิใช่ว่าทุกโครงการจะเริ่มดำเนินการได้ในระยะอันใกล้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับความชัดเจนด้านแหล่งเงินทุนและลักษณะโครงการ เช่น งบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท คาดว่าจะมาจากรัฐวิสาหกิจและเงินกู้ยืมจากต่างประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก
สำหรับแหล่งเงินทุนที่ดูมีความชัดเจนมีอยู่ราว 7 แสนล้าน โดยส่วนแรก 3 แสนล้านบาทซึ่งมีความชัดเจนที่สุดนั้น มาจากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ที่เดิมมีวงเงินกู้ 4 แสนล้านบาทแต่ต้องกันไว้ชดเชยเงินคงคลังราว 1 แสนล้านบาท สำหรับส่วนที่สองอีก 4 แสนล้านบาทนั้น จะมาจากร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งวุฒิสภาลงมติเห็นชอบให้แก้ไขในบางมาตรา ทำให้สภาผู้แทนราษฎรต้องมาตัดสินอีกทีว่าจะแก้ไขตามที่วุฒิสภาเสนอหรือไม่
จากโครงการส่วนที่มีความชัดเจนของแหล่งทุนที่สุด 3 แสนล้านบาท SCB EIC คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายได้จริงราว 2 แสนกว่าล้าน โดยถ้าสมมติให้โครงการก่อสร้างถนนและอาคารมีอัตราการเบิกจ่ายเท่ากับที่เคยทำได้จริงในอดีต และให้โครงการอื่นๆ เบิกจ่ายได้เท่ากับงบลงทุนในงบประมาณประจำปี จะได้ตัวเลขเบิกจ่ายประมาณ 2 แสนล้านบาทในปี 2553 แต่ถ้าสมมติให้รัฐเบิกจ่ายได้เร็วที่สุดเท่าที่เคยทำได้คือให้ทุกโครงการเบิกจ่ายได้ 80% ในปีแรกจะได้ตัวเลขเบิกจ่ายราว 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับวงเงินในงบประมาณปี 2553 ที่ลดไปจากงบประมาณปี 2552 ราว 2 แสนล้านบาท จะทำให้เห็นได้ว่าการใช้จ่ายภาครัฐไม่น่าเป็นปัจจัยกดดันให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
ในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจ SCB EIC เข้าไปดูรายละเอียดของแต่ละโครงการเพื่อแบ่งเป็นประเภทต่างๆ พบว่า ประเภทโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านการก่อสร้าง (40%) และกิจกรรมการจัดจ้างและอบรม (38%) และการจัดซื้ออุปกรณ์ (15%) ดังนั้นจึงน่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างพื้นฐาน เช่น ซิเมนต์ เหล็ก หิน รวมทั้งการจ้างงานในชุมชนที่เกิดจากการทำโครงการที่เน้นการจัดจ้าง เช่น การจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก 1,600 แห่งทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ในภาพรวม SCB EIC คาดว่าอัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก แม้มีแนวโน้มจะเพิ่มจากระดับปัจจุบันที่ 43% ไปถึงระดับสูงสุดที่ 61% ในปี 2557 แต่น่าจะค่อยๆ ลดลง โดยเป็นผลจากอัตราการเติบโตของ GDP เป็นหลัก ไม่ใช่การลดลงของระดับหนี้โดยตรง
|
|
|
|
|