Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTVผู้จัดการรายวัน9 ตุลาคม 543
สภาทนายต้าน3Gชี้กทช.ไร้อำนาจ             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
3G
อธึก อัศวานนท์




ทรูลั่นย้ำจุดยืนเดิมประชาพิจารณ์ 3G รอบสอง ค้านใช้วิธีประมูล และการเปิดโอกาสให้รัฐวิสาหกิจต่างชาติเข้ามาตักตวงทรัพยากรชาติ เผยในภูมิภาคเอเชียไม่มีประเทศใดใช้วิธีการประมูลและเปิดโอกาสให้ต่างชาติเหมือนไทย ด้านสภาทนายความคัดค้านประมูล 3 G ชี้บทบาทกทช.มีหน้าที่แค่รักษาการรอ “กสทช”เกิด ด้านกทช.เดินหน้าให้ความรู้วิธีประมูล3G เผยสัปดาห์หน้าได้ราคาเริ่มต้นประมูล

นายอธึก อัศวานนท์ รองประธานกรรมการ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่นจำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ทรูยังคงยืนยันจุดยืนเดิมในการประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างหลักเกณฑ์ ข้อสรุปข้อเสนอการจัดสรรคลื่นความถี่ ไอเอ็มที หรือ 3G and beyond เพิ่มเติมครั้งที่ 2 ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.จะจัดขึ้นในปลายเดือนนี้

โดยทรูยืนยัน ไม่เห็นด้วยกับการใช้วิธีประมูลใบอนุญาต 3 G เนื่องจากในภูมิภาคเอเชียไม่มีประเทศไหนใช้วิธีการประมูลเพราะมีผลเสียต่ออุตสาหกรรม เช่น หากทำการประมูลโดยสนใจแต่ราคาที่จะได้จากการประมูลเพียงอย่างเดียวเหมือนที่กทช.คำนึงถึงในขณะนี้ ผลที่เกิดขึ้นภาระจากต้นทุนประมูลก็จะถูกผลักต่อไปยังผู้บริโภค

“เรายืนยันไม่สนับสนุนให้มีการประมูลไลเซ่นส์ 3 G เพราะในภูมิภาคนี้ไม่มีประเทศไหนทำไม่ว่าจะเป็น เขมร เวียดนาม มาเลเชีย และอินโดนีเชีย การประมูลมีแต่จะเป็นการผลักภาระไปให้ผู้บริโภค และตัวอย่างในต่างประเทศก็มีให้เห็นว่าล้มเหลว ”นายอธึกกล่าว

นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยกับการที่กทช.พยายามยัดเยียดคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศให้กับรัฐบาลต่างชาติ ทั้งรัฐบาลเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ และรัฐบาลจากแดนไกลอย่างนอร์เวย์ การดำเนินการดังกล่าวถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกันในภูมิภาคเอเชีย 2 ใน 3ของผู้ประกอบการต้องเป็นผู้ประกอบการในประเทศ

“ตามหลักผู้กำกับดูแลควรทำหน้าที่ผลักดันหรือส่งเสริมให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการได้ แต่ประเทศไทยกลับยัดเยียดให้ต่างชาติเข้าแข่งขันกับผู้ประกอบการไทย “นายอธึกกล่าว

ทั้งนี้คาดหวังว่าครั้งนี้กทช.จะเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกียวข้องและนำไปปรับปรุงแก้ไขอย่างจริงจัง ไม่ใช่รับฟังเฉยๆแต่ไม่นำความคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้และดันทุรังใช่ร่างหลักเกณฑ์เดิมประกาศใช้เหมือนการประชาพิจารณ์หลายครั้งที่ผ่านมา

นอกจากนี้หวังว่าการประชาพิจารณ์ครั้งนี้ กทช.จะส่งรายละเอียดร่างหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนการประชาพิจารณ์ 15 วันเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องศึกษาอย่างระเอียดอย่างถี่ถ้วนก่อนแสดงความเห็นในการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งการประชาพิจารณ์ร่าง 3 G ครั้งแรก กทช.จัดส่งเอกสารไม่ครบและยังล้าช้ากว่ากำหนด 15วันทำให้ผู้ประกอบการหลายรายศึกษารายละเอียดไม่รอบคอบเท่าที่ควร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กทช.ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ถึงการจำลองสถานการณ์การประมูลคลื่นความถี่ 3G (Mock Auction) โดยวานนี้(8 ต.ค.52 ) ได้จัดให้ที่ปรึกษามาให้ความรู้เกี่ยวกับการประมูล เช่นประโยชน์ของการประมูล และวันนี้(9 ต.ค. 52 ) จะทำการทดลองการประมูล 3 G เต็มรูปแบบ

ด้าน นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความเปิดเผยว่า สภาทนายความ ขอคัดค้านและให้ กทช.ทบทวนเรื่องการเปิดประมูลใบอนุญาต 3 G เพราะ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช.มีอำนาจรักษาการเพื่อรอการตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.เท่านั้น หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550

ดังนั้นหากมีการออกแผนแม่บทที่มีผลผูกพันธ์กับ กสทช.อย่าง 3G หรือ เลขหมายเดียวทุกระบบ( นัมเบอร์พอร์ทบิลิตี้) ถือว่ามิชอบตามกฎหมาย

“กทช.ออกแผนแม่บทมาในขณะนี้ ถือว่าเข้าข่ายประกาศมิชอบ ซึ่งสามารถฟ้องร้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้ และถ้าในกรณี กทช.ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการออกประกาศดังกล่าวแต่ยังมีการดำเนินต่อ ก็สามารถฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งแผนแม่บทที่ กทช.เขียนขึ้นมานั้น กสทช.มีสิทธิ์จะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้”นายเดชอุดมกล่าว

อย่างไรก็ดี 3 G เป็นบริการที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศ และ ถึงแม้ที่ผ่านมาสำนักงานกฤษฎีกาจะให้ความเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ แต่เป็นการตีความในปี 2549 ก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว กทช.ยังไม่เคยหารือกับสำนักงานกฤษฎีการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการทำแผนแม่บทหลังจากที่กฎหมายใหม่บังคับใช้จึงถือว่าไม่มีความชัดเจนเรื่องอำนาจหน้าที่

นายเดชอุดมกล่าวต่อว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลชุดที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี เร่งจัดตั้ง กสทช.โดยเร็วที่สุดเพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด และไม่ควรปล่อยให้มีการทำธุรกิจที่หมิ่นเหม่ขัดรัฐธรรมนูญ ประกอบกับเรื่องดังกล่าวล่าช้ามากมามากเพราะรัฐบาล 3 ชุดที่ผ่านมายังไม่สามารถขับเคลื่อนให้คืบหน้าหรือแล้วเสร็จได้

นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ กทช. เปิดเผยว่า การจำลองสถาการณ์การประมูล 3 Gในครั้งนี้ ถือว่าทำให้ผู้เข้าร่วมงานมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น และทำให้เห็นแนวทางในการเปิดประมูลมากยิ่งขึ้น อาทิ หากกทช.กำหนดราคาใบประมูลเบื้องต้นน้อยจนเกินไปก็จะทำให้เป็นภาระต่อภาครัฐบาลโดยรัฐบาลจะต้องมาอุ้มส่วนต่างที่เหลือ แต่หาก กทช. กำหนดราคากลางการประมูลที่สูงเกินไปก็จะดูเหมือนกับว่า กทช.ดำเนินงานด้วยความไม่โปร่งใส ซึ่ง กทช.ต้องคำนึงถึงราคากลางการประมูลมากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ นาย ประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการกทช. เปิดเผยว่า กทช.จะสามารถเปิดเผยราคาเริ่มต้นการประมูลไลเซ่นส์ 3 G ได้ในสัปดาห์หน้า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us