Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
125 ปี โรงแรมโอเรียนเต็ล             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

โรงแรมไทยที่ดีที่สุด
เคิร์ท ว๊าซไฟท์ ร่วมสร้างตำนานโรงแรมโอเรียนเต็ล
ปริศนาวันเกิด
รำลึกอดีต กับอังคณา กะลันตานนท์
"เสน่ห์งานศิลป์" ในโอเรียนเต็ล

   
search resources

โรงแรมโอเรียนเต็ล, บมจ.
Hotels & Lodgings




เมื่อคืนวันที่ 16 มกราคม 2544 โรงแรมโอเรียนเต็ลได้จัดงานเฉลิมฉลอง ครั้งใหญ่ วันครบรอบ 125 ปี โดยมีแขก ชั้นสูงในฟ้าสังคมของเมืองไทยและต่างประเทศมาร่วมงานกันคับคั่งไม่ต่ำกว่า 1,000 คน เป็นงานสังคมที่ยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่งของปี พ.ศ.นี้ที่จัดขึ้นอย่างหรูหรา ตระการตา เพื่อให้ทุกคนได้จดจำวันแห่ง ประวัติศาสตร์นี้ไปอีกนานแสนนาน

ประวัติความเป็นมาของโรงแรมโอเรียนเต็ล เป็นสิ่งที่สืบค้นมาได้ไม่ง่ายนัก เรื่องราวทุกชิ้นแทบจะไม่มีการบันทึก ไว้เป็นภาษาไทย เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เรียบเรียงไว้ต่อจากนี้ จึงแปลมาจากหนังสือ "The Oriental Bangkok" โดย Andreas Augustin และ Andrew Williamson เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่มีการค้นคว้าประวัติไว้ค่อนข้างละเอียดทีเดียว มีหนังสืออ้างอิงมากมายหลายเล่ม เช่น 1,800 miles on a Burmese tat ; Lt G J Younghusband, 1988 Andersen, Hans Niels ; Danish National Biography entry, 1979 The romance of the harem ; Anna Leonowens, 1873 Hotels, Ges-chichte in Geschichten ; Gabriele M. Walther, 1990 The Imperial, The First 100 Years, Tokyo 1990

๏ ก้าวแรก ค.ศ.1870-1893 จากที่พักลูกเรือสินค้าสู่โรงแรมชั้นหนึ่งของโลก

ซี ซาลเจ กะลาสีเรือชาวเดนมาร์ก นับเป็นบุคคลแรกที่ปรากฏชื่อว่าเป็นผู้ซื้อกิจการโอเรียนเต็ลในช่วงทศวรรษ 1870 และยังเป็นผู้ริเริ่มการลงโฆษณาโรงแรมใน สยาม ไดเร็คตอรี่ ต่อมาเอช จาร์ค เพื่อนชาวเดนมาร์กของซาลเจ ได้เข้ามาช่วยบริหารกิจการ ทั้งสองยังเป็นผู้ริเริ่มนำน้ำแร่บรรจุขวดมาบริการแขกด้วย ปี 1881 ซาลเจและจาร์คเดินทางกลับบ้านเกิด กิจการจึงเปลี่ยนมือไปเป็นของ ฮันส์ นีลส์ แอนเดอร์เซน ผู้ก่อตั้งบริษัทเมสเซอร์ แอนเดอร์เซน แอนด์ โค เขายังเป็น ผู้เปิดร้านค้าโอเรียนเต็ล รวมทั้งโรงงานน้ำแข็ง โรงอบเบเกอรี่ในละแวกเดียวกันด้วย ปี 1885 แอนเดอร์เซนปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยขึ้น โดยว่าจ้างสถาปนิกอิตาเลียนในไทยให้ออกแบบอาคารใหม่ เอส คาร์ดู ได้ออกแบบโครงสร้างอาคารที่คงโดด เด่นอยู่ใจกลางบริเวณโรงแรม ซึ่งก็คือ บริเวณ "ออเธอร์ส วิง" ในปัจจุบันนั่นเอง และด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่า โอเรียนเต็ลเป็นโรงแรมหรูแห่งแรกของไทย โรงแรมได้เปิด ตัวอย่างเป็นทางการในวันพฤหัสที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ.1887 และขยับขึ้นเป็นโรงแรม หรูสำหรับชนชั้นสูงและแขกสำคัญต่างแดน ครั้นถึงเดือนเมษายน ปี ค.ศ.1891 โอเรียนเต็ลก็มีโอกาสถวายการรับรองมกุฎราชกุมารนิโคลัส ซึ่งก็คือ ซาร์แห่งรัสเซียในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม โอเรียนเต็ล ก็ต้องเผชิญคลื่นลมยามเกิดวิกฤติทางการเมืองเช่นกัน อย่างเช่น ในปี 1893 ซึ่งไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส จนกองเรือฝรั่งเศสถึงกับยกมาจอดทอดสมอในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตรงข้ามกับโรงแรมโอเรียนเต็ลพอดี โชคดีที่ความขัดแย้งคลี่คลาย ไปได้โดยไม่มีการสู้รบกันแต่อย่างใด

๏ 1893-1910 แขกผู้หนึ่งที่เข้าพักในโอเรียนเต็ลอย่างถาวรในยุคแรกก็คือ หลุยส์ โทมัส เลียวโนเวนส์ เขาคือ บุตรชายของแอนนา เลียวโนเวนส์ ผู้ได้รับเชิญจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อปี ค.ศ.1862 หลุยส์กลับมาเมืองไทยในปี ค.ศ.1881 สนองพระเดชพระคุณโดยเป็นหัวหน้าทหารม้า และต่อมาเขายังได้เป็นตัวแทนของบริษัทบอร์เนียว ซึ่งได้สัมปทานไม้สักทางภาคเหนืออีกด้วย หลุยส์เล่าว่า "วันแรกที่ผมมาถึงบางกอกพร้อมกับแม่ โอเรียนเต็ลคือ สิ่งแรกที่ผมเห็น" เขาจดจำบ้านหลังเล็กที่เป็นที่พักของลูกเรือหลังนั้นได้แม่น เพราะรู้สึกประทับใจตั้งแต่แรกเห็น "ผมจำได้ดีว่าผิดหวังขนาดไหนที่ต้องพักบนเรือคืนแรก ผมอยากพักที่โอเรียน เต็ลมากกว่า" หลุยส์และเพื่อนของเขาคือ แฟรงคลิน เฮอร์สท์ ลงนามเป็นผู้ซื้อกิจการโอเรียนเต็ลเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1893 จากบุคคลสามคนคือ ฮันส์ นีลส์ ปีเตอร์ แอนเดอร์เซน และเฟรดเดอริก นิช มูลค่าการซื้อกิจการครั้งนั้นอยู่ที่ 22,000 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเปลี่ยนมือเจ้าของกิจการแล้ว เฮอร์สท์ได้ว่าจ้างชาวอเมริกันชื่อ ดับบลิว เจ พาลเมอร์ เป็นผู้บริหารกิจการ พาลเมอร์เป็นผู้ลงมือทาสีเฟอร์นิเจอร์โรงแรม เอง รวมทั้งปรับปรุงห้องอาหาร เป็นห้อง อาหารที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในตะวัน ออกไกล และในปี ค.ศ.1895 โอเรียนเต็ล ก็ได้มีโอกาสถวายที่พักให้กับเจ้าชายลุยกี อาเมดีโอ เชื้อพระวงศ์จากอิตาลี นับเป็นการเชิดหน้าชูตาของโรงแรม และโรงแรมก็ได้รับรองแขกสำคัญๆ อีกนับไม่ถ้วนในเวลาต่อมา ค.ศ.1899 เฮอร์สท์ขายหุ้นในมือให้กับกลุ่มบุคคลภายใต้การนำของดับบลิว ดาวนี ในขณะที่โรงแรมค่อยๆ สร้างชื่อเสียงควบคู่ไปกับการเติบโตของบางกอก ทั้งที่ในยุคนั้นยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ค.ศ.1903 เอฟ เอส โรเบิร์ตสัน เข้าเทกโอเวอร์กิจการแต่ให้หลังเพียงไม่กี่เดือนเขาก็ต้องหนีหนี้ไปอย่างรีบร้อน ทำให้กิจการโรงแรมต้องปิดตัวลงชั่วคราวในเดือนสิงหาคมปีถัดมา กิจการถูกบอกขายในหน้าหนังสือพิมพ์ Bangkok Times ไม่เว้นวัน จนกระทั่งคาร์ล จี เอ็ดวาร์ดส์ ชาวอเมริกันได้เข้ามาฟื้นกิจการโรงแรม ก่อนที่จะเจริญขึ้นอีกครั้งในยุคของมาดามเอ็ม โอ บูโจต์ แต่เมื่อบูโจต์เดินทางกลับยุโรปในปี 1910 กิจการก็เปลี่ยนมือไปอยู่กับมาดามมาเรีย แมร์ ซึ่งเป็นทั้งเจ้าของและผู้บริหารโรงแรมนานถึง 22 ปี โอเรียนเต็ลได้รับรองแขกสำคัญระดับเชื้อพระวงศ์อีกหลายครั้ง ห้องพักขยายเพิ่มเป็น 40 ห้องและถูกจองเต็มแทบตลอดเวลา

๏ สงครามโลก 1911-1922 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการโรงแรมโอเรียนเต็ลมากนักในช่วงแรก จนกระทั่งไทยประกาศสงครามกับเยอรมนีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1917 โอเรียนเต็ลกลายเป็นแหล่งจัดเลี้ยงอาหารค่ำและแสดงคอนเสิร์ต เพื่อระดมทุนให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนรถพยาบาล สภากาชาด และงานการกุศลต่างๆ แต่เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจระดับโลก โอเรียนเต็ลจึงได้รับผลกระทบไปด้วย ยิ่งกว่านั้น สภาพของโรงแรมก็เริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลา เงินทุนที่จะใช้ปรับ ปรุงกิจการเริ่มเป็นปัญหา ผู้ที่เข้ามาสะสางปัญหาดังกล่าวคือ มาเรีย แมร์ เธอก่อตั้งบริษัทโอเรียน เต็ล โฮเต็ล คอมปะนี ระดมทุนได้ถึง 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ เธอเป็นผู้ถือหุ้นกิจการรายหนึ่ง และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการ และดำเนินการฟื้นฟูสภาพโรงแรมขนานใหญ่ในปี 1925

๏ 1923-1945 มาเรีย แมร์ ลาจากโอเรียนเต็ล เพื่อเข้าพิธีสมรสและใช้ชีวิตในอังกฤษ เธอทุ่มเทให้กับโรงแรมนานถึง 22 ปีด้วยกัน และเป็นช่วงเวลาแห่งการปรับปรุงกิจการ รวมทั้งการขานรับการเติบโตของถนนหนทางในกรุงเทพฯ ด้วยการสร้างประตูทางเข้าใหม่ให้หันหน้าออกด้านถนน เพื่อต้อนรับแขกเหรื่อที่เดินทางมาโดยรถยนต์ และ ทางเครื่องบินซึ่งมาถึงในปี 1931 เป็นกลุ่มแรก พันโทไซโลว์และภรรยาเข้าเทกโอเวอร์กิจการโอเรียนเต็ลในเวลาต่อมา และ สานต่อการปรับปรุงกิจการให้ทันสมัยพร้อมสรรพ เมื่อถึง ค.ศ.1935 กิจการก็เปลี่ยน มือไปเป็นของเจ โอ ฮอสสิก ซึ่งผลักดันให้โอเรียนเต็ลมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น โดยจัดห้องเลี้ยงรับรองที่จุแขกได้ถึง 200 คน ว่าจ้างวงออร์เคสตร้ามาขับกล่อม และลงทุนซื้อเครื่องเล่นแผ่นเสียงรุ่นล่าสุด อีกทั้งยังจ้างศิลปินไทยวาดภาพเทือกเขาแอลป์ขนาดใหญ่รอบห้องเลี้ยงรับรอง ให้หลังได้ไม่นานสงครามโลกครั้งที่สองก็ปะทุขึ้น กองทัพ ญี่ปุ่นขอเช่าโรงแรมโอเรียนเต็ล โดยในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1942 สำนักงานการท่องเที่ยวระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้สั่งการให้โรงแรมอิมพีเรียลซึ่งเป็นโรงแรมมีชื่อเสียงที่สุดในโตเกียว เข้าเทกโอเวอร์กิจการโอเรียนเต็ล เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น 4 ราย โดยมีมังคิชิ สุกิยามา เป็นผู้นำและเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมคนใหม่ ทั้งนี้ในช่วงสงครามโลก อิมพีเรียลยังต้องบริหารกิจการโรงแรมอีกหลายแห่งในประเทศเอเชียที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ไม่ว่าจะเป็นโรงแรมกู๊ดวูด ปาร์ค ในสิงคโปร์ หรือเดอะ สแตรนด์ในพม่า เป็นต้น แต่แล้วในที่สุดฝ่ายอเมริกันก็มีชัยชนะในสงคราม

๏ 1946-1960s หลังสงครามโลกครั้งที่สองทหารอเมริกันเรียกร้องโรงแรมโอเรียนเต็ลคืน โรงแรมได้กลายสภาพเป็นที่พักของเชลยสงครามชาวดัตช์ อังกฤษ และออสเตรเลีย ผู้บริหารกิจการในครั้งนั้นคือ มาเรีย โรบินส์ จากอังกฤษ โรงแรมมีที่พักห้องสวีท 7 ห้อง ห้องพักปกติ 24 ห้องและห้องพักขนาดเล็กอีก 10 ห้อง ในช่วงนี้เอง เจอร์เมน ครูลล์ ช่างภาพหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศสได้เข้ามารับช่วงการบริหารกิจการ โดยมีผู้ร่วมธุรกิจ หลายรายคือ พันเอกจิม ทอมป์สัน ซึ่งต่อมาเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท ผ้าไหมไทย พลเอกชัย ประทีประเสน พระองค์เจ้าภาณุฯ พจน์ สารสิน และจอห์น เวสเตอร์ ครูลล์ ต้องยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูโรงแรมให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดอาคาร ทาสีใหม่ รวมทั้งจัดระบบไฟและน้ำ เพื่อรองรับแขกทุก ระดับชั้นในภาวะที่ไฟฟ้ามีการดับเป็นช่วงๆ และน้ำประปาขาดแคลน ครูลล์ประสบความสำเร็จ โอเรียนเต็ลยังคงเป็นโรงแรม ที่โดดเด่นยิ่ง เมื่อมีการเปิด "แบมบู บาร์" ขึ้น สถานที่นี้จึงเป็น แหล่งรวม "ความสนุก" ในกรุงเทพฯ ที่ขึ้นชื่อในหมู่ชาวต่างชาติ ยุคนั้น ทว่าต้องจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชนชั้นสูง เพราะแขก ที่จะเข้าไปต้องแต่งตัวดี แต่หากใครไม่มีเนกไททางโรงแรมจะจัดให้ เนกไทที่ว่านี้ทำจากผ้าซาตินราคาถูก ลวดลายรูปไก่สีส้ม สดเป็นฝีมือเด็กๆ ชาวจีน และปรากฏว่าเนกไทเหล่านี้กลายเป็นของสะสมอย่างหนึ่งในภายหลัง จากจุดเริ่มต้นของบริการห้องพักขนาดเล็กที่มียุงชุกชุม โรงแรมเริ่มขยับขยายห้องให้กว้างขวางและสวยงาม ขึ้น เริ่มมีเมนูอาหารฝรั่งเศส-อเมริกัน เช่น ครัวซองสำหรับมื้อเช้า แฮมเบอร์เกอร์ และฮอทดอกมื้อเที่ยง รวมทั้งอาหารชุด และอาหารตามสั่งให้เลือก กิจการโรงแรมเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติตามสภาพบ้านเมือง กรุงเทพฯ กลับมาเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง แขกผู้มีเกียรติ เดินทางมาและเข้าพักที่โรงแรมโอเรียนเต็ลมากขึ้น ปี ค.ศ.1950 นางอีลีนัวร์ รูส เวลต์ ได้รับเชิญมากล่าวปาฐกถาให้กับสมาคมอเมริกัน และเธอยังมาในฐานะแขกของรัฐบาลไทยด้วย วันที่ 1 เมษายน ปี 1958 บริเวณ "Tower Wing" ได้ฤกษ์เปิดดำเนินการทั้งที่เป็นวัน "April Fool" นับเป็นความ สำเร็จยิ่งใหญ่ของครัล เดือนพฤศจิกา ยนปีเดียวกันนั้น ห้องอาหาร "Le Normandie" ก็ให้บริการ ณ ชั้นบนสุดของอาคาร ใหม่ ตกแต่งในแบบนอร์มังดีขนานแท้จนหนังสือพิมพ์ Bangkok Post กล่าวถึงว่า "อาจจะเป็นห้องอาหารที่มีทำเลดีเยี่ยมที่สุดในกรุงเทพฯ อีกทั้งยังมีอาหารและบริการ ชั้นดีบนชั้นสูงสุดของโรงแรม เหมาะอย่างยิ่งที่จะเชิญแขกจากต่างประเทศมาทานอาหารเป็นมื้อแรก" เดือนเมษายน 1967 จิม ทอมป์สัน หุ้นส่วนรายหนึ่งของโอเรียนเต็ลหายตัวไปอย่างลึกลับขณะอยู่ที่มาเลเซีย นับเป็นจุดปิดฉากอีกยุคหนึ่งของโรงแรมโอเรียนเต็ล ก่อนเข้าสู่ยุคที่มีผู้บริหารเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่ ที่มีกลุ่มอิตัลไทยของหมอชัยยุทธเข้ามาถือหุ้นใหญ่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us