Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์5 ตุลาคม 2552
เปิดประเด็นร้อน ไลเซนส์ 3จี ระวังคุณสมบัติผิดรัฐธรรมนูญ             
 


   
search resources

3G




* ไลเซนส์มือถือ 3จี ระอุตั้งแต่รอบอุ่นเครื่อง
* กลุ่มทรูยิงอาวุธหนัก 'ร่างคุณสมบัติ' เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญความมั่นคง
* เจ้าสัวน้อย 'ศุภชัย เจียรวนนท์' ขอสู้สุดใจเพื่อประเทศชาติ

'อาทิตย์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม 2552 จะเป็นวันดีเดย์ที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. จะเปิดประมูลไลเซนส์หรือใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม (IMT หรือ 3G and Beyond)' เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ หนึ่งใน กทช. ระบุอย่างชัดเจนในวันรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างสรุปข้อสนเทศ (Draft Information Memorandum) การจัดสรรคลื่นความถี่ IMT หรือ 3G and Beyond

การจัดสรรคลื่นความถี่ในย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จัดสรรเป็น 4 ช่วงความถี่ หรือ 4 ใบอนุญาตได้แก่ใบอนุญาตสำหรับช่วงความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์ 1 ใบ และอีก 3 ใบสำหรับช่วงความถี่รายละ 10 เมกะเฮิรตซ์ ในรูปแบบวิธีการประมูล โดยทาง กทช.จะดำเนินการประมูลพร้อมกันแบบหลายรอบ หรือ Simultaneous Multiple Round (SMR) จำนวน 4 ใบอนุญาตพร้อมกัน และเปิดให้มีการประมูลหลายรอบ ด้วยราคาที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนรอบ

ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมประมูลจะมีสิทธิในการเสนอราคาประมูลได้เพียง 1 ใบอนุญาตเท่านั้น โดยก่อนเข้าร่วมการประมูลจะต้องวางเงินมัดจำที่เรียกว่า แบงก์การันตี เท่ากับราคาเริ่มต้นประมูลหรือราคากลางของใบอนุญาต

'ราคากลางใบอนุญาตขณะนี้ที่ปรึกษาได้เสนอมาแล้ว ซึ่ง กทช.จะหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้ ก่อนที่จะมีการประกาศหลักเกณฑ์การประมูลลงในราชกิจจานุเบกษา'

ถึงแม้การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะร่างสรุปข้อสนเทศในครั้งนี้ ผู้ประกอบการต่างคาดว่า คงจะไม่บังเกิดผลประการใดต่อแนวทางการออกใบอนุญาตเหมือนทุกครั้งที่เคยมีการดำเนินการมา แต่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 บริษัทใหญ่ที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมประมูลต่างได้ส่งตัวแทนเข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อร่างดังกล่าวกันอย่างคึกคัก

ตัวแทนกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่นำทัพโดย 'ศุภชัย เจียรวนนท์' กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร 'อธึก อัศวานนท์' รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกฎหมาย และผู้บริหารระดับสูงอีกหลายๆ ท่านต่างลุกขึ้นให้ความคิดเห็นอย่างแข็งขัน

โดยเฉพาะ 'อธึก อัศวานนท์' ไม่เห็นด้วยในร่างสรุปข้อสนเทศที่ กทช.เปิดให้รัฐวิสาหกิจต่างชาติเข้าร่วมประมูลได้ รวมทั้งบริษัทที่มีต่างชาติถือหุ้น ซึ่งอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญด้านความมั่นคงได้ เนื่องจากในรัฐธรรมนูญมาตรา 48 (1) ระบุไว้ไม่ให้รัฐทำการค้าแข่งกับเอกชน ดังนั้น คงต้องมาตีความกันว่า 'รัฐ' ที่ระบุไว้หมายถึง รัฐของไทย หรือของต่างประเทศ

'ปัจจุบันบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 รายหลักในไทย มีผู้ถือหุ้นเป็นบริษัทต่างชาติซึ่งต่างก็มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลประเทศนั้นๆ และผู้บริหารระดับสูงที่เข้ามานั่งบริหารในบริษัทเหล่านี้ก็มีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจประเทศนั้น'

ประเด็นเกี่ยวกับ 'สัญชาติ' ของบริษัทที่จะมีคุณสมบัติร่วมประมูลคลื่น 3 จีของ กทช. นอกเหนือจากยึดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจต่างด้าวที่ดูในแง่สัดส่วนการถือหุ้นแล้ว ยังอาจนำ พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 มาใช้พิจารณาได้ โดยเฉพาะประเด็นกิจการโทรคมนาคมที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคง เนื่องจาก พ.ร.บ. ดังกล่าวจะดูไปถึงบริษัทแม่ด้วย โดยไม่มองเฉพาะสัดส่วนหุ้นว่าถืออยู่เท่าไร แต่จะมองว่าผู้ถือหุ้นฝ่ายใดมีอำนาจมากกว่าในการแต่งตั้งผู้บริหาร ก็จะถือว่าเป็นบริษัทแม่

ขณะที่ 'ศุภชัย เจียรวนนท์' ท้วงติงการเปิดประมูลด้วยการใช้การแข่งขันด้าน 'ราคา' จะไม่เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ที่มีศักยภาพในการลงทุนสูงได้เปรียบมากยิ่งขึ้น แทนที่จะสร้างการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม จึงไม่ต่างจากรูปแบบสัมปทานแต่ประการใด

ที่ผ่านมาผู้ประกอบการโทรคมนาคมรายใหญ่มีอำนาจในการลงทุนจำนวนมาก โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เสียส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาสัมปทานเดิมอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท พร้อมที่จะลงทุนและประมูลไลเซนส์ 3จี ที่ราคา 3-4 หมื่นล้านบาท

'ขณะที่ทรูจ่ายส่วนแบ่งรายได้ตามสัญญาสัมปทานเดิมที่ 5-6 พันล้านบาทต่อปี ก็พร้อมที่จะลงทุนราว 5-6 พันล้านบาท หรือไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แล้วอย่างนี้จะเรียกว่า เปิดเสรีและเป็นธรรมได้อย่างไร'

ศุภชัย กล่าวอีกว่า ที่มีคนสบประมาทว่า ทรู มีหนี้เป็นจำนวนมากไม่สามารถประมูลได้ ขอยืนยันว่า ทรูพร้อมที่จะประมูล และพร้อมสู้ขาดใจ ทรู เป็นบริษัทคนไทยที่เหลืออยู่เพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมนี้ที่จะยืนหยัดสู้กับบริษัทข้ามชาติและรัฐวิสาหกิจที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในโทรคมนาคมไทย

ในฐานะที่ทรูมูฟเป็นบริษัทของคนไทย จริงๆ แล้ว บริษัทก็สามารถมีนอมินีต่างชาติเข้ามาถือหุ้น เพื่อสร้างอำนาจแข่งขันและต่อสู้กับบริษัทอื่นๆ แต่ทรูต้องการดำรงสถานะความเป็นบริษัทของคนไทย คลื่นความถี่ก็เป็นสมบัติของแผ่นดิน จึงไม่ต้องการให้ผู้ถือหุ้นต่างประเทศเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง

'ผมในฐานะที่เป็นผู้บริหารทรู ผมต้องการทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ และการทำสิ่งเหล่านี้เพื่อว่าอนาคตคนไทยจะคำนึงถึง เพราะผมไม่ได้ทรยศต่อชาติและต้องการรักษาไว้ซึ่งอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพราะตั้งแต่ผมเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้บริษัทคนไทยก็ถูกต่างชาติเข้าครอบงำมาโดยตลอด พอมาถึงปัจจุบัน เมื่อจะมีจุดเปลี่ยนสำคัญเรื่องไลเซนส์ 3จี ผมต้องการให้มีความเสรีและเป็นธรรม มากกว่าคำนึงถึงว่าใครมีเงินมากกว่าก็สามารถได้คลื่นความถี่ไป'

ขณะที่ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรมโทรศํพท์เคลื่อนที่ ให้ความสำคัญกับเรื่องอายุของใบอนุญาตแทน 'พรรัตน์ เจนจรัสสกุล' ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและวิเคราะห์การตลาด เอไอเอส แสดงความคิดเห็นว่า ใบอนุญาตให้บริการ 3จี ควรจะมีอายุ 25 ปีจึงจะเหมาะสมกับการลงทุนที่มีวงเงินมหาศาล เพราะการกำหนด 15 ปีสั้นเกินไป

'รูปแบบการประมูลตามกฎเกณฑ์ที่ออกมายังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร จึงจะส่งเอกสารให้ กทช.เพื่อพิจารณารายละเอียด และต้องการให้มีการแก้ไขกฎเกณฑ์การกำหนดการพัฒนาโครงข่ายที่จะต้องได้ครอบคลุมพื้นที่ 50% ของประเทศภายใน 2 ปี และ 80% ภายใน 4 ปี ควรจะกำหนดตามกลุ่มประชากรมากกว่า เพราะคลื่น 2.1 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นที่เหมาะสมกับการพัฒนาในพื้นที่เขตเมืองมากกว่าพื้นที่ชนบท'

ขณะที่เมื่อถามความคิดเห็นของหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารของเอไอเอสอย่าง 'วิเชียร เมฆตระการ' ว่า เอไอเอสมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็ได้คำตอบว่า ทางเอไอเอสพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลไลเซนส์ 3จี โดยสนใจที่จะเข้าประมูลใบอนุญาตช่วงความถี่ 15 เมกะเฮิรตซ์เพียงย่านเดียว

ส่วนกรณีคุณสมบัติของบริษัทเข้าร่วมประมูลที่ทางกลุ่มทรูท้วงติงนั้น 'วิเชียร' กล่าวหนักแน่นว่า เอไอเอสมั่นใจว่าบริษัทเป็นของคนไทย มีสัดส่วนการถือครองหุ้นตามประกาศในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ด้าน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้เผยแพร่เอกสารแสดงความคิดเห็นออกมา ภายในเอกสารให้ความเห็นไว้ว่า ในเรื่องคลื่นความถี่ที่จะจัดสรรนั้น ทางดีแทคเห็นว่า การกำหนดเงื่อนไขที่ให้ผู้ประมูลแต่ละรายสามารถได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G เพียงรายละ 1 ใบนั้นเป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว เพราะเป็นการป้องกันการผูกขาดการแข่งขันและป้องกันการกักตุนคลื่นความถี่ ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในการให้บริการโดยผู้ประกอบการในจำนวนที่เหมาะสมเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ

ส่วนเรื่องคุณสมบัติของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลนั้น ดีแทคเห็นด้วยกับหลักการที่ กทช.กำหนด เพราะเป็นการป้องกันการสมยอมในการเสนอราคาซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันราคาอย่างเสรีและเป็นธรรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากเวลานี้ กทช.ยังไม่ได้กำหนดแนวทางการพิจารณาความสัมพันธ์ในเชิงของการเป็นเจ้าของในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญ ทางดีแทคมองว่า กทช.ไม่ควรนำเรื่องการถือหุ้นในสัดส่วนที่ไม่เป็นสาระสำคัญมาพิจารณา เนื่องจากการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่สอดคล้องกับหลักสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นบริษัทซึ่งมีหุ้นอันเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งหุ้นของผู้ขอรับใบอนุญาตดังกล่าวสามารถซื้อขายได้โดยเสรี

โดยทางดีแทคได้ท้วงติงในเรื่องระยะเวลาของใบอนุญาตนั้น ควรจะอยู่ที่ 20 ปีถึงจะเหมาะสม เนื่องจากการลงทุนเครือข่าย 3จีนั้นมีจำนวนมหาศาล ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาที่เพียงพอและคุ้มค่ากับการลงทุน ระยะเวลา 20 ปีดังกล่าวสอดคล้องกับเงื่อนไขในการอนุญาตใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม ที่มีระยะเวลาใบอนุญาต 20 ปี ซึ่ง กทช.ได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามรายใหม่มาแล้วจำนวนหลายราย จึงควรใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน

เมื่อเปรียบเทียบจำนวนเงินลงทุนแล้ว การลงทุนของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สามที่ให้บริการประเภทอื่นๆ ก็ไม่ได้มีการลงทุนด้วยเงินจำนวนมหาศาลมากเท่ากับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3จี ซึ่งต้องสำรองและใช้เงินจำนวนมากที่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตายตัว

หลังสิ้นสุดการรับฟังความคิดเห็น 'เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์' กรรมการ กทช. กล่าวว่า หลังจากนี้ ทางคณะกรรมการคงจะนำความคิดเห็นที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมาพิจารณากันอีกครั้ง ส่วนเรื่องระยะเวลาใบอนุญาต รวมถึงการเลือกวิธีประมูลโดยใช้ 'ราคา' เป็นตัวตัดสินนั้น ทาง กทช.ไม่ได้มีเจตนาต้องการได้เงินมากๆ ให้รัฐบาล แต่เราเลือกวิธีการประมูลพร้อมกันแบบหลายรอบ เพราะเชื่อมั่นว่าเป็นวิธีการที่โปร่งใส และเกิดความเป็นธรรม เพราะเห็นว่าคนที่ได้คลื่นความถี่ไปก็ควรจะเป็นคนที่ตีราคาคลื่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us