Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน5 ตุลาคม 2552
CPFภัยธรรมชาติไม่กระทบโรงงานตุรกี             
 


   
www resources

โฮมเพจ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร

   
search resources

เจริญโภคภัณฑ์อาหาร, บมจ.
อดิเรก ศรีประทักษ์
Food and Beverage




“ซีพีเอฟ” มั่นใจธุรกิจตุรกีเติบโตต่อเนื่อง ยืนยันไม่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น กลับกันได้รับอานิสงส์จากวิกฤตดันผลดำเนินงานดียิ่งขึ้นแทน เชื่อทำให้ผลดำเนินงานรวมของบริษัทขยายตัว ด้านโบรกฯรุดปรับประมาณการกำไรสุทธิ ขึ้นจาก 7,383 ล้านบาท เป็น 9,307 ล้านบาท

นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในนครอิสตันบูล ประเทศตุรกีในช่วงเดือนที่ผ่านมา ทำให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมต่างๆและต่อธุรกิจไก่เนื้อในอิสตันบูล ขณะเดียวกัน ตุรกียังส่งออกไก่เนื้อไปยังอิรัก ทำให้เกิดความขาดแคลนและราคาเนื้อไก่ถีบตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ดี ธุรกิจอาหารแปรรูปและไก่เนื้อครบวงจร ที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุนในประเทศตุรกีนั้น ทางบริษัทขอยืนยันว่า ไม่ได้รับผลกระทบใดๆจากเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เนื่องจากธุรกิจซีพีเอฟตั้งอยู่ชานเมือง และจึงได้รับอานิสงส์ดังกล่าว ทำให้ในปีนี้ คาดผลการดำเนินงานในตุรกีจะดียิ่งขึ้น โดยเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ธุรกิจในตุรกีเป็นหนึ่งในธุรกิจที่จะช่วยผลักดันให้ผลการดำเนินงานของซีพีเอฟโดยรวมในครึ่งหลังปี 2552 สามารถเติบโตอย่างโดดเด่นต่อเนื่อง เนื่องจากซีพีเอฟถือหุ้นในตุรกี 100%

ขณะเดียวกัน เมื่อเร็วๆนี้ ดร.สมหมาย เตชะศิรินุกูล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่าโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำแกลง อ.แกลง จ.ระยอง ได้รับเลือกจากกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ได้รับเกียรติบัตร CSR-DIW (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works: CSR-DIW) หรือ มาตรฐานกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยการแสดงความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม เมื่อเร็วๆนี้

สำหรับโรงงานแกลงแห่งนี้เป็นโรงงานแปรรูปอาหาร ซึ่งมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 1,200 ตันต่อเดือน ทำการผลิตผลิตภัณฑ์กุ้งแช่แข็งและกุ้งแปรรูปเพื่อการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และเอเชีย

ด้านบทวิเคราะห์ บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า คาดว่ากำไรไตรมาส 3/52 ของ CPF จะอยู่ที่ 3,485 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 2/52 ที่มีกำไรสุทธิมากถึง 3,194 ล้านบาท โดยคาดการณ์ปริมาณขาย (Volume) ดีกว่างวดไตรมาส 2/52 ขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับ 16% ในขณะที่ไตรมาส 4/52 คาดว่ากำไรสุทธิจะอ่อนตัวลงมาอยู่ราว 1,857 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณขายอ่อนตัวลงตามฤดูกาลที่เป็น Low Season

ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาส 3/52 เป็นฤดูกาลที่ CP F ต้องเริ่ม Restock วัตถุดิบในการผลิต ปรากฎว่าตรงกับจังหวะที่ราคาข้าวโพดในตลาดโลกอ่อนตัวอย่างหนักอยู่ระหว่าง 5.5-6.7 บาทต่อ กก. เทียบกับค่าเฉลี่ย 6 เดือนแรกปี 52 อยู่ที่ 7.7 บาทต่อ กก. CPF ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบประมาณ 30% ของวัตถุดิบทั้งหมด ในขณะที่วัตถุดิบส่วนที่เหลือคือกากถั่วเหลืองและปลาป่นราคาทรงตัวในระดับราว 17 บาท และ 32 บาท ตามลำดับและคาดว่า ราคาคอมมอดิตี้ที่ไม่ปรับตัวสูงมากจะช่วยให้ CPF คงระดับมาร์จิ้นสูงน่าพอใจ วัตถุดิบที่ทำการสต็อกไปครั้งนี้จะพอใช้ไปได้ถึงไตรมาส 1/53 ซึ่งจากนี้ไปคาดว่า CPF จะทยอยซื้อล่วงหน้าวัตถุดิบเพื่อล็อคราคาให้ได้ต่ำนานไปจนถึงปีหน้า (CPF เคยทำผิดทางไปในช่วงไตรมาส 3/51 ซื้อข้าวโพดได้ 11 บาท กดกำไรในไตรมาส 4/51 ทรุดหนัก กลับมาดีขึ้นหลังไตรมาส 1/52 ซื้อข้าวโพดได้ต่ำลงและเห็นกำไรชัดแจ้งในไตรมาส 2/52)

ทำให้ ฝ่ายวิเคราะห์ได้ปรับประมาณการกำไรสุทธิของ CPF ขึ้นจาก 7,383 ล้านบาท เป็น 9,307 ล้านบาท และปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2553 จาก 7,767 ล้านบาท เป็น 8,780 ล้านบาท โดยหัวใจสำคัญของกิจการ คือรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้ได้ 16-18% พยายามจัด Business Model ของการลงทุนในหลายๆ ประเทศให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนที่ดี ราคาหุ้น CPF ยัง undervalued ทั้งในแง่ P ER และ P/ B V จึงปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 7.11 บาท เป็น 11.7 อิง PER 10 เท่า ในปี 2553   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us