Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
เงินที่ซื้อไม่ได้             
โดย ยงยุทธ สถานพงษ์
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย
Museum




ภาพเหล่าสล่าล้านนานุ่งโจงกระเบนสักลายทั่วตัวอันเป็นเอกลักษณ์ของชายที่เชื่อในความคงกระพันกำลังสาละวนในกองพระคลัง ตีทุบทั่ง ขึ้นรูปเงินเจียง ตลอดจนแบกหีบเงินที่ผลิตได้รอการนำออกใช้จ่ายเป็นภาพสะท้อนถึงวิถีชีวิตและเศรษฐกิจในชุมชนทางภาคเหนือ ซึ่งถูกติดตั้งไว้กลางโถงพิพิธภัณฑ์ของสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย จังหวัดเชียงใหม่

"เงิน" คำคำนี้ที่ทุกคนทุกชนชั้นในสังคมโลก ปัจจุบันต่างขวนขวายถวิลหานานารูปแบบไม่ว่าจะเพื่อการค้า การลงทุน เพื่อให้ได้มาเป็นมูลค่าเพิ่ม และที่ใครๆ ในสังคมปัจจุบันเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การมีเงินจำนวนมากมาครอบครองสามารถซื้อทุกสิ่งได้

แต่เงินเป็นเพียงสื่อกลางในการซื้อขายเท่านั้น ความเป็นมูลค่าของเงินเมื่อถึงจุดจุดหนึ่งก็ย่อมสูญค่าไป แต่ความมีคุณค่าและจิตวิญญาณของตัวเงินยังคงอยู่ เมื่อถึงระยะเวลาหนึ่งก้อนโลหะเงินที่รังสรรค์ออกมาเป็นตรามูลค่าจะสามารถสะท้อนเรื่องราวความเป็นมาในยุคอดีตได้ดีที่สุดที่ทุกคนควรทำความเข้าใจ อย่าให้มูลค่าของเงินมาเป็นเครื่องมือในการครอบงำวิถีและตัวตนอย่างที่เป็นมาในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

เช่นเดียวกับ "เงินเจียง" เมื่อ 400 ปีก่อน สมัยพระยาเม็งรายมหาราชที่ชัดเจนที่สุดเคยเป็นเงินที่มีมูลค่าสูงที่สุด และเคยมีชีวิตอยู่ในอุ้งมือท่ามกลางตลาดการค้า โดยการขับเคลื่อนของมนุษย์ ใช้ในการแลกเปลี่ยนการค้าภายในอาณาจักรล้านนาและระหว่างอาณาจักรใกล้เคียงอย่างล้านช้าง (ลาว) ศรีเกษตร (พม่า) สุโขทัย จีน อินเดีย กระทั่งสร้างฐานะเศรษฐกิจให้กับอาณาจักรที่เคยเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนืออย่างมากมายมหาศาล

เอาเป็นว่าสังเกตได้ง่ายๆ จากแผนผังเมืองที่มีการจัดการที่ดี วัดวาอารามที่มากนับร้อยวัด ศิลปวัฒนธรรมที่หลงเหลือเป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน การได้มาของเงินตราในการค้าขายหรือวิธีการใดก็แล้วแต่ ประโยชน์ที่ได้รับจากส่วนนี้ได้จัดการให้เกิดประโยชน์แก่อาณาจักรซึ่งทำด้วยใจจริงๆ

เวลาล่วงเลยมา ณ วันนี้ "เงินเจียง" หยุดการเคลื่อนไหวในตลาดดังเมื่อครั้งกาลอดีต มูลค่าของตัวเงินหยุดนิ่งไม่มีการนำมาใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนได้อีกต่อไป เงินเจียงบางส่วนถูกถ่ายโอนเข้ามาวางแนบนิ่งในตู้กระจกภายในห้องจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ของสำนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากเวียนวนท่ามกลางตลาดการค้าของอาณาจักรมานาน

แม้ความแน่นิ่งหยุดอยู่กับที่ มันยังคงมีเรื่องราวและคุณค่าที่ประเมินค่าไม่ได้ของการสัมผัสและศึกษาเรียนรู้นอกจากความเป็นเงิน

เงินเจียงเป็นอีกมรดกทางวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา เงินที่มีมูลค่าสูงสุดในการแลกเปลี่ยนซื้อขายในหัวเมืองแถบนี้ในสมัยนั้น เนื่องจากเงินเจียงมีโลหะเงินเป็นส่วนผสมสูงมากและมีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้าสองวงปลายต่อกัน ทำให้สามารถหักแบ่งครึ่งราคาได้ ซึ่งมีชนิดราคาต่างๆ กัน

สังเกตดีๆ เงินเจียงของล้านนานั้นจะมีตราประทับเป็นตัวอักษรล้านนาตรงกับตัว "ล" ในอักษรไทยที่หมายถึงล้านนา และสัญลักษณ์รูปดอกไม้ที่บ่งบอกถึงมูลค่าของเงินเจียง

ความเย็นฉ่ำในบรรยากาศเสียงประสานจากวงสะล้อซอซึง ดนตรีเมืองเหนือดังขึ้นจากเครื่องเล่นแผ่นเสียงระหว่างเดินเข้าชมห้องจัดแสดง ยิ่งชวนให้ซึมซับบรรยากาศเมืองเหนือเข้าไปทุกขณะ

เงินเจียงมีการผลิตขึ้นใช้เองในอาณาจักรล้านนา แม้ในปัจจุบันเงินเจียงไม่มีความสำคัญในการแลกเปลี่ยนทางการค้าเหมือนเมื่อครั้ง 400 ปีก่อน แต่ความเป็นเงินตราที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของอาณาจักรแห่งนี้สื่อถึงภูมิปัญญาของคนเมือง

กระทั่งศิลปินในยุคปัจจุบันคิดรังสรรค์งานศิลปะเพื่อนำไปติดตั้งไว้บริเวณด้านหน้าสำนักงานของธนาคาร ทางไปอำเภอแม่ริม จนกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำธนาคาร โดยใช้เงินเจียงขนาดใหญ่ 5 หน่วยเป็นกลีบดอก และรูปเงินเจียงขนาดเล็กอีก 5 หน่วยเป็นเกสร ซึ่งทำเป็นลักษณะรูปดอกไม้ งานดังกล่าวเป็นการพยายามสะท้อนความเจริญงอกงาม การแพร่ขยายจำนวน การสืบต่อที่ไม่ขาดสายของการเงินและการธนาคาร แสดงความรู้สึกถึงพลังความมั่นคงสง่างามในแบบอย่างดอกไม้ เรียกได้ว่านี่คือดอกไม้เงิน (เจียง) หล่อด้วยสำริด (Bronze) แพตตินา (Patina) ขนาดมหึมาที่โดดเด่น คนผ่านไปมามองเห็นได้ชัด

ความเป็นอนิจจังและมั่งคั่งร่ำรวยด้วยเงินทองกองเพิ่มมหาศาลเพียงใด ก็ใช่ว่าจะมีความสุขและราบรื่นชื่นใจ การมีเงินและไม่ลืมคุณค่าของเงินนั่นจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของความเป็นมนุษย์โดยปราศจากการครอบงำจากอำนาจแห่งเงินตรา

ไม่เพียงแต่เงินตราที่เป็นเงินเจียงได้นำมาจัดแสดง ถ่ายทอดเรื่องราวที่ทางพิพิธภัณฑ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ สมบัติทรงคุณค่าไม่แพ้ราคาเงินตราคือผืนผ้าที่ดูวิริศมาหราของกลุ่มชนชั้นในหัวเมืองของอาณาจักรแห่งนี้ ก็เพราะว่าครั้งหนึ่งผู้คนในล้านนา เคยมีผ้าทอที่ไว้ใช้และบ่งบอกฐานะตัวตน ตลอดจนสามารถใช้ผ้าเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทนเงินตราและเป็นหลักประกันในการค้าขาย

ผ้าทอซิ่นตีนจกอำเภอแม่แจ่มของกลุ่มคนเมืองไทยยวน ผ้าทอชาวเขา ซิ่นลัวะกลุ่มคนลัวะ ซิ่นยางกลุ่มคนกะเหรี่ยง ผ้าทอลายน้ำไหลของกลุ่มคนไตในจังหวัดน่าน ที่มีลักษณะสีสันและเทคนิคการทอที่แตกต่างกันไป เมื่อสังเกตลงลึกไปในรายละเอียดของลวดลายบนผืนผ้าของกลุ่มผู้คนเหล่านี้ล้วนสะท้อนเรื่องราวบางอย่างที่มากกว่าความสวยงาม หรืออย่างที่ปัจจุบันแวดวงไฮโซต่างค้นคว้าขวนขวายกว้านซื้อมาเป็นสมบัติประดับราศีอวดกัน น้อยนักที่จะเข้าใจคุณค่าและจิตวิญญาณของศิลปินผู้ถักทอ

ผ้าทอลวดลายบางผืนใช่ว่าจะใช้นุ่งได้ในโอกาสทั่วไป หรือผืนผ้าบางผืนใช้ในพิธีกรรมเช่น การเกิด งานศพ หรือแม้แต่งานแต่งงานที่ต้องใช้ผ้าทอในการไหว้บุพการี และเป็นของกำนัลหรือมูลค่าแทนเงิน เป็นสินสอดจำนวนหลายผืน โดยเฉพาะผ้าทอผืนที่มีลวดลายประณีตสวยงาม อาจจะเป็นมรดกตกทอดยาวนานแก่ลูกหลานประจำวงศ์ตระกูลเลยทีเดียว

รูปทรงใบหน้าเหล่าชาตรีอันเหลี่ยมคมและความอ่อนหวานของสตรีชาวล้านนา บ้างก็เปลือยเปล่ากายาท่อนบนในกิริยาเยื้องย่างเกี้ยวพาราสี และทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้าน หาบข้าวของ ดูมีชีวิตชีวาสะท้อนภาพครั้งหนึ่งของผู้คนในหัวเมืองถิ่นนี้ ที่มีการดำรงชีวิตโดยใช้ผ้านุ่งที่ดูสวยงามและเรียบง่าย แถมแฝงด้วยเอกลักษณ์และจิตวิญญาณของผู้สวมใส่ รังสรรค์บรรจงวาดเอาอย่างภาพจิตรกรรมฝาผนังบางส่วนที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน มาจัดแสดงเบื้องหน้าทางเข้าโซนจัดแสดงผ้าโบราณแห่งล้านนา

แว่วเสียงวงสะล้อซอซึง ประโคมดังเอื่อยๆ จากเครื่องเสียงอย่างไม่ขาดสาย ขณะที่ชมผืนผ้าที่สำคัญและล้ำค่าหลายชิ้นในห้องจัดแสดง นับตั้งแต่ผืนเรียบๆ ไปจนถึงผืนที่หรูหรา ใช้เทคนิคการทอที่อลังการโดยใช้ดิ้นไหมเงินไหมทอง ที่ตีขึ้นจากเส้นทองจริงขนาดเล็กเท่าเส้นไหม มาใช้เป็นส่วนประกอบในการทอผืนผ้าลวดลายที่สวยงามแฝงด้วยคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นผ้านุ่งทอดิ้นทองลวดลายแบบล้านนาปักเลื่อมทอง ผ้านุ่งทอดิ้นเงินและตีนจกดิ้นเงินลวดลาย ล้านนาแบบแม่แจ่ม และผ้าทอดิ้นทองลวดลายพม่าแบบล้านนาของเจ้าทิพวรรณ

ผ้าทอดิ้นเงินดิ้นทองจะมีใช้ในวงศ์เจ้านายชั้นสูงระดับพระมหากษัตริย์และพระราชินี หรือตกทอดสู่วงศ์ตระกูลสูงศักดิ์

ต้องใช้ช่างที่ชำนาญมากกว่าสองคนขึ้นไปคือ ช่างเงิน ช่างทอง และช่างทอ ประกอบ การทอผ้าของชาวล้านนา การใช้ดิ้นเงินดิ้นทองนี้ช่างเงินช่างทองต้องเป็นช่างที่มีความชำนาญ ในการตีเส้นเงินหรือเส้นทองให้ได้ขนาดเล็กเท่ากับเส้นด้ายจำนวนหลายร้อยเมตร ใช้เป็นเส้นพุ่งทอควบกับเส้นไหมธรรมดา ผืนผ้าที่ได้จะสวยงามระยิบระยับ ผืนผ้าทอล้านนาที่ใช้เทคนิคดังกล่าวนี้คนทั่วไปใช่ว่าจะได้ใช้กัน

เหตุผลก็เพราะว่าล้านนาเป็นเมืองศิลปะและศิลปิน การรังสรรค์ผลงานต่างๆ อย่างผ้าทอ ช่างพยายามใช้ความสามารถ เทคนิคและความชำนาญ และใส่จิตวิญญาณลงไปในการทอผ้าแต่ละผืน จึงจะได้ผลงานที่ทรงคุณค่าเหมาะสมฐานะของผู้สวมใส่

ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่เพียงแต่นำผ้าของชาวล้านนามาจัดแสดง ยังมีผืนผ้าที่สำคัญในหัวเมืองแว่นแคว้นอาณาจักรใกล้เคียงที่มีการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนการค้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าชาวลาวในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศลาว ผ้าสมป๊วต (สมพต) ของคนเขมร จากประเทศกัมพูชา ผ้าโลงจีของพม่า

นึกๆ ไปแล้ว ไม่ต่างอะไรกับเส้นทางสายไหมขนาดย่อมๆ บนภาคพื้นอินโดจีน ซึ่งผ้าไหมถือเป็นสมบัติอันล้ำค่า ที่ใช้ค้าแลกเปลี่ยนและเป็นหลักประกันทางฐานะเศรษฐกิจสังคมเมืองในยุคสมัยต่างๆ อย่างสำคัญยิ่ง

ขณะที่ทีมงานจดจ่อกับผืนผ้านับร้อยผืนในห้องจัดแสดงที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้สืบเสาะ สะสม นำมาจัดแสดงให้ได้ตะลึงจนถ้วนทั่วอยู่พักใหญ่ๆ ภัณฑารักษ์สะกิดเรียกทีมงานให้มาที่มุมจัดแสดงงานศิลป์ผืนผ้าประยุกต์ที่ทรงคุณค่า ซึ่งทอเป็นรูปตราสัญลักษณ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โดยผืนผ้าใช้เทคนิคการทอผสมผสาน อันได้แก่ การมัดหมี่ การขิด การจก การล้วง อยู่ในผ้าผืนเดียวกัน

ยิ่งไปกว่านั้น ช่างลูกหลานชาวเมืองล้านนาในยุคปัจจุบัน พยายามนำภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมถ่ายทอดคุณค่าแฝงลงในผลงานทางศิลปะ สะท้อนความเป็นอดีตและปัจจุบันให้เห็นถึงวัฒนธรรมล้านนาได้อย่างสวยงามและมีเอกภาพ ซึ่งผลงานหลายชิ้นนำมาวางแสดงภายในอาคารสำนักงาน เช่น งานจิตรกรรมจักรวาล ซึ่งใช้แนวคิดหลักพุทธศาสนามาเป็นองค์ประกอบ โดยใช้สถานที่สำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบทิศทั้ง 4 ทิศ คือ เจดีย์วัดเจ็ดยอด เจดีย์หลวง วัดพระสิงห์ และซุ้มประตูหอไตรวัดพระสิงห์จัดแสดงอย่างอลังการภายในโถงอาคารสำนักงาน

แม้แต่ตัวอาคารยังถูกออกแบบอย่างมีเอกลักษณ์ที่สื่อให้นึกย้อนไปในครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบัน ถึงความมั่งคั่งและความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง สะท้อนออกมาเป็นการสร้างอาคารสำนักงาน นำเอารูปทรงการสร้างยุ้งข้าวของล้านนามาประยุกต์ในการสร้างบนพื้นที่ประมาณ 31 ไร่ ที่แผนผังการจัดวางอาคารภายใต้แนวคิดของการวางผังเวียงกุมกาม และเมืองเชียงใหม่ดังเมื่อครั้งอดีต

ความเพลิดเพลินด้วยรจนามูลค่าที่เป็นเงินตรา เมื่อถึงที่สุดย่อมหยุดนิ่ง คงเหลือไว้แค่คุณค่าและจิตวิญญาณ การศึกษาเรื่องราวผ่านมรดกชิ้นงานโบราณ ตระหนักเข้าใจ และเรียนรู้อดีตในสภาวะปัจจุบัน จะเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนให้เราทุกคนในสังคมอยู่รอดและสงบสุข สันติ โดยเข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงมากกว่าคุณค่าที่เกิดจากอำนาจความต้องการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us