Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ "ถอยดีกว่า"             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ลำดับเหตุการณ์

   
www resources

Bizdimension Homepage
โฮมเพจ ทราฟฟิก คอร์เนอร์
Thai Union Frozen Homepage

   
search resources

บีส ไดเมนชั่น
ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์, บมจ.
ทราฟฟิกคอร์เนอร์ โฮลดิ้งส์, บมจ.
อินไซท์อินโฟ, บจก.
ธีรพงศ์ จันศิริ
ยรรยง อัครจินดานนท์
ไซมอน ชาน
News & Media




แม้จะได้ชื่อว่า ขยายธุรกิจเชิงรุกมาตลอด แต่มาถึงคราวนี้ ธุรกิจ b to b ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ กลับต้องทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับที่แล้วๆ มา

หลังจากใช้ยุทธศาสตร์ธุรกิจแบบดั้งเดิม ด้วยการแสวงหาพันธมิตรมาเติมเต็ม ให้กับธุรกิจ new media วันนี้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ รู้แล้วว่า บางครั้งก็ไม่ได้เป็นอย่างที่คาดหมายไว้

6 เดือนที่แล้ว ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ นำธุรกิจในกลุ่ม new media ควบรวมกิจการเข้ากับบริษัทบีส ไดเมนชั่น ซึ่งเป็นเครือข่ายธุรกิจของบริษัทไทย ยูเนี่ยนโฟรเซ่น โปรดักส์

จุดมุ่งหมายของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ในครั้งนั้น นอกจากต้องการนำประสบการณ์และความรู้ด้านเทคโนโลยี ของบีส ไดเมนชั่น มาช่วยผลักดันให้ธุรกิจ new media อันประกอบไปด้วยธุรกิจออดิโอเท็กซ์ บริการข้อมูลบนโทรศัพท์ บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือ

ที่สำคัญไปกว่านั้นคือ พวกเขายังหวังด้วยว่าธุรกิจเป็นที่รู้จัก และมีรายได้แล้วของบีส ไดเมนชั่น จะช่วยทำให้ภาพธุรกิจ new media ของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ซึ่งเพิ่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ใหม่ๆ มีความชัดเจนและน่าเชื่อถือมากขึ้นกว่าเดิม

เวลาผ่านไปแค่ 6 เดือน ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ เริ่มรู้แล้วว่า สิ่งที่พวกเขาคาดหวังนั้นไม่เป็นจริง

"ตัวธุรกิจดีแต่ต้องใช้เวลา ซึ่งเรารอไม่ได้ถึงขนาดนั้น" ยรรยง อัครจินดานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ และบริษัทบีส ไดเมน ชั่น บอกกับ "ผู้จัดการ"

และด้วยเหตุผลที่ว่านี้ทำให้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ต้องตัดสินใจล้างพอร์ตการลงทุนของตัวเอง ด้วยการขายหุ้นในบีส ไดเมนชั่น ให้กับบริษัทอินไซท์ อินโฟ ซึ่งเขาบอกว่า เป็นกลุ่มนักลงทุนรายหนึ่งของไทยไม่ต้องการเปิดเผยนาม

บริษัทบีส ไดเมนชั่น ก่อตั้งในเดือน มีนาคม 2543 โดยธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ ผู้ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในธุรกิจส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง เริ่มมองเห็นโอกาสและแรงบีบที่ต้องเข้าสู่โลกการค้าผ่านระบบออนไลน์ จัดตั้งเว็บไซต์ FoodMarket Exchange เพื่อเป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมส่งออก ใช้เป็นช่องทางติดต่อซื้อขายกับผู้ค้าในต่างประเทศ มีทั้งการประมูล และการขาย ข้อมูล และเป็นที่ปรึกษาในการติดตั้งระบบ eCommerce

ดูแล้วแนวโน้มน่าจะไปได้ดี เนื่องจากเป็นกระแสการทำธุรกิจทั่วโลก ที่ต้องก้าวเข้าสู่โลกการค้าอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ แบบ b to b รวมทั้งในไทยก็ตื่นตัวเรื่องเหล่านี้ค่อนข้างมาก

ยิ่งมาในช่วงหลัง รัฐบาลออกนโยบายให้ทุกหน่วยงานราชการ ซื้อขายผ่านระบบออนไลน์ หรือ eProcurement ซึ่งบีส ไดเมนชั่น เป็น 1 ใน 5 ผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก ให้เข้ามาเป็นตัวกลางในการประมูลออนไลน์นี้ โดยมีพันธวณิชของกลุ่มซีพีเป็นคู่แข่งรายสำคัญ

แต่เอาเข้าจริงกลับไม่เป็นอย่างที่คิด นอกจากจะให้ผลตอบแทนต่ำกำไรน้อยแล้ว ผู้ประกอบการทั้ง 5 ราย ต้องแข่งขันกันอย่างหนัก เพื่อช่วงชิงฐานลูกค้า ทำให้มีการตัดราคาเกิดขึ้น โอกาสในการสร้างรายได้ตามที่คาดหมายไว้ ยิ่งห่างไกลจากความจริง เพราะบีส ไดเมนชั่นเองก็ยังมีขาดทุนสะสมอยู่ถึง 100 ล้านบาท

การประคับประคองธุรกิจนี้เอาไว้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่องบการเงินและภาพธุรกิจโดยรวมของทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ซึ่งมีราคาหุ้นมาเป็นตัวกำหนด

"ต้องไม่ลืมว่าเราเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าเป็นธุรกิจอื่นอาจรอได้ แต่เราไม่มีเวลารอถึงขนาดนั้น"

ด้วยแรงกดดันเหล่านี้เอง ทำให้ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ต้องขายหุ้นออกไปใน เวลาอันรวดเร็ว และจะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม บริษัททราฟฟิก คอร์นเนอร์ ก็ใช้เวลาไม่ถึงเดือนในการล้างพอร์ตการลงทุนและยังได้เงินจากการขายหุ้นในครั้งนี้ 34 ล้านบาท

ไม่เพียงการขายหุ้นเท่านั้นแต่ทราฟฟิก คอร์นเนอร์ ยังได้ลดบทบาทธุรกิจ new media ลง โดยดึงเอาพันธมิตรเข้ามาร่วมถือหุ้นแทน เพื่อหันไปให้น้ำหนักกับธุรกิจบันเทิงและมีเดีย ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้ภาพชัดเจนและมีสีสันมากกว่า ประกอบไปด้วยคลื่นวิทยุ 3 คลื่น การถ่ายทอดฟุตบอลอังกฤษและเยอรมันทางโทรทัศน์ และธุรกิจสิ่งพิมพ์ นอกจากบางกอกทูเดย์ เอ็มทีวีแทร็กซ์ Tick A Seat ยังเตรียมเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ และร่วมมือกับหนังสือที่มีอยู่ในตลาด

ส่วนบีส ไดเมนชั่น ที่ถูกขายเปลี่ยนไปอยู่ในมือของบริษัทอินไซท์ อินโฟ ยรรยง บอกว่า จะดำเนินธุรกิจต่อไป แต่จะต้องลดธุรกิจบางอย่าง และลดคนลงเพื่อตัดค่าใช้จ่าย โดยจะเหลือธุรกิจ eProcurement และ FoodMarketExchange โดยผู้บริหารเดิมคือ ไซมอน ชาน ยังคงอยู่ต่อไป

"แต่คงไม่ aggressive เพราะมีการลดทอนธุรกิจหลายอย่างลง"

ก่อนหน้านี้ บีส ไดเมนชั่น ได้ยุติธุรกิจขายเนื้อหาในส่วนของเว็บไซต์ Food MarketExchange โดยลดพนักงานลงประมาณ 20 กว่าคน รวมทั้งธุรกิจออกแบบเว็บไซต์

ส่วนธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ ไม่ได้รับผลกระทบอย่างใดในครั้งนี้ เพราะได้ถอยฉากออกจากธุรกิจนี้นับตั้งแต่นำบีส ไดเมนชั่น ควบรวมกิจการกับทราฟฟิก คอร์นเนอร์ โดยยกเก้าอี้ CEO ของบีส ไดเมนชั่นไปให้ยรรยงบริหารงานแทน

การล้างพอร์ตการลงทุนของทราฟฟิกคอร์นเนอร์ในครั้งนี้ นอกจากสะท้อนภาพของธุรกิจที่ต้องโฟกัสมากขึ้นแล้ว

ยังสะท้อนถึงธุรกิจการค้าในโลกออนไลน์ ซึ่งไม่ง่ายอย่างที่คิด ยังต้องใช้เวลา ในการพิสูจน์ถึงผลสำเร็จไปอีกนาน ก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะมีสายป่านยาวกว่ากัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us