Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
กลยุทธ์หลังวิกฤติผ่านมุมมองซีอีโอ             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
อนันต์ อัศวโภคิน
กานต์ ตระกูลฮุน
วิชิต สุรพงษ์ชัย
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
Economics




ในงานสัมมนา "กลยุทธ์หลังวิกฤติ ทิศทางปี 2553" ของธนาคารไทยพาณิชย์ อาจไม่น่าสนใจ หากธนาคารรายงานความคืบหน้าจากศูนย์วิจัยเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อธนาคารเชื้อเชิญผู้บริหารระดับสูงจาก 3 ค่ายยักษ์ของเมืองไทย ปตท. เครือซิเมนต์ไทย และแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จึงกลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักธุรกิจกว่า 600 คนเข้าฟังอย่างหนาแน่น

ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปรียบเสมือนผู้กุมธุรกิจ กลุ่มพลังงานระดับประเทศ ด้านกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือซิเมนต์ไทย กว้างขวางในธุรกิจก่อสร้างในฐานะผู้ผลิตและให้บริการครบวงจร ขณะที่อนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เป็นบริษัทที่อยู่ในอันดับต้นๆ ในกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศ

การปรากฏตัวของทั้ง 3 คนพร้อมกันในที่สาธารณชนไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าเหตุผลที่มาร่วมเสวนาให้กับธนาคารไทยพาณิชย์จะมาในฐานะลูกค้าหรือคนรู้จัก แต่มากกว่านั้นคือ ความสนิทสนมระหว่างผู้บริหารทั้ง 3 คน รวมถึงวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะศิษย์เก่าที่ร่ำเรียนสาขาวิศวกรรม ในรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาด้วยกัน ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ฉันพี่น้องแนบแน่นมากยิ่งขึ้น

การพบปะของผู้บริหารเหล่านี้ไม่ได้เจอกันเพียงบนเวทีเสวนาเท่านั้น แต่เขาเหล่านี้ยังพบปะพูดคุยกันอยู่บ่อยครั้ง

4 ผู้บริหารที่ดูแลบริษัทระดับชั้นแนวหน้าของเมืองไทย หากนำมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของบริษัท 4 แห่งมารวมกันมีมูลค่าถึง 1,360,185.3 ล้านล้านบาท หรือประมาณ 24.12 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าหลักทรัพย์รวมทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ย.2552)

ประสบการณ์และมุมมองรวมถึงวิธีการบริหารงานในวิกฤติที่เกิดขึ้นหลายครั้ง จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตาม โดยเฉพาะการมองผ่านจากมุมมองผู้นำอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างทั้ง 3 คนข้างต้น

ประเสริฐ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. บอกว่าเขาเห็นวิกฤติมาแล้ว 2-3 ครั้ง และวิกฤติในครั้งนี้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงดีขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การลงทุน และการส่งออกติดลบน้อยลง เพราะรัฐบาลไทยและโลกเริ่มอัดฉีดช่วยเหลือ ทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 จะดีกว่าไตรมาส ที่ 2 และไตรมาสที่ 1 และจีดีพีในปี 2553 จะโตขึ้นเป็น 3.5-4 เปอร์เซ็นต์

อนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บอกว่าในขณะที่บริษัทส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้แต่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กลับตรงกันข้าม โดยเฉพาะรายใหญ่ที่อยู่ในตลาดตั้งแต่อันดับที่ 1 ถึง อันดับที่ 10 ธุรกิจไปได้ดี โดยเฉพาะของบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์มียอดขายเติบโต 20%

อนันต์ยังได้บอกตัวเลขกำไรในไตรมาสที่ 1 มีกำไรกว่า 600 ล้านบาทและในไตรมาสที่ 2 มีกำไรกว่า 1,000 ล้านบาท เขาบอกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะโตสวนทางกับธุรกิจอื่น

สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยรวมในปีนี้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก อาจเป็นเพราะว่าในปี 2540 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประสบปัญหาค่อนข้างรุนแรง แม้แต่ บมจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ได้รับบทเรียนที่สาหัสไปแล้ว ในตอนนั้นเงินบาทอ่อนค่าอย่างมากจาก 25 บาทไปเป็น 40 บาท ทำให้บริษัทมีหนี้สิน 20,000 ล้านบาท ในปี 2541-2542 พนักงานตกงานและธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ

แต่ตรงกันข้ามกับธุรกิจในเครือซิเมนต์ไทยที่ดำเนินธุรกิจหลากหลาย ธุรกิจปูนซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจเคมีภัณฑ์และกระดาษ ที่มีกานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ในฐานะผู้นำเองก็ยอมรับว่า กลุ่มบริษัทฯ ได้รับผลกระทบภาวะเศรษฐกิจรอบนี้ โดยเฉพาะไตรมาสที่ 3 มียอดขายลดลง 20 เปอร์เซ็นต์หรือติดลบโดยเฉลี่ยปีละ -6 เปอร์เซ็นต์

เขาเห็นว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ค่อนข้างรุนแรง สังเกตได้จากบริษัทที่ไม่เคยล้มละลาย ก็จะล้มเหลวเป็นครั้งแรก และเขายังมีความเป็นห่วงธุรกิจในครึ่งปีแรก 2553 ก็ยังไม่น่าไว้วางใจ แต่ยังเชื่อว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ภาพรวมของเศรษฐกิจจะดีขึ้นหลังจากรัฐบาลมีนโยบายลงทุนมากขึ้น

ทั้งกลุ่ม ปตท.และเครือซิเมนต์ไทยได้ปรับตัวเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับองค์กร ด้วยการออกหุ้นกู้ ในปีนี้ ปตท.ออกหุ้นกู้ 2 ครั้ง ครั้งแรกในเดือนมีนาคมจำนวน 50,000 ล้านบาท และครั้งที่สองในเดือนกรกฎาคมจำนวน 35,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินมาใช้ลงทุนหมุนเวียนทั่วไป และทดแทนเงินกู้เดิมที่ครบกำหนดชำระ

ส่วนเครือซิเมนต์ไทยออกหุ้นกู้เมื่อเดือนกรกฎาคมไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เพื่อนำเงินไปไถ่ถอนหุ้นกู้เดิมครบกำหนดชำระในเดือนตุลาคมนี้

ปตท.ให้ความสำคัญกับสภาพคล่องทางการเงินเป็นอย่างมาก เพราะประเสริฐมองว่าวิกฤติสามารถกลับมาได้อีก เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูงและสิ่งที่ ปตท.เตรียมรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้น คือระบบบริหารจัดการและโครงสร้างการบริหาร

ธุรกิจถ่านหินเป็นธุรกิจที่ ปตท. กำลังเห็นเป็นโอกาสในอนาคต เพราะเป็นพลังงานราคาถูกกว่าราคาก๊าซ 2-3 เท่า และได้ซื้อเหมืองถ่านหินเพื่อผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวป้อนผู้ใช้ในประเทศไทย

สำหรับธุรกิจของเครือซิเมนต์ไทยจะเน้นรักษาสภาพคล่องเฉกเช่นเดียวกับปตท. ปัจจุบันมีสภาพคล่องราว 20,000 ล้านบาท ควบคุมต้นทุน 5,000 กว่าล้าน ดูแลธุรกิจส่งออกในกลุ่มกระดาษและเคมีภัณฑ์ ดูแลสาขาทั้งหมด 60 แห่งทั่วโลก

กานต์ยังให้ความสำคัญคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการทำงานวิจัยเพื่อสร้างแบรนด์ให้รู้จักอย่างกว้างขวาง

ส่วนอนันต์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่เขาเห็นพฤติกรรมการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เขาบอกว่ายอดสร้างบ้านใหม่ในปี 2552 เทียบเท่ากับยอดสร้างบ้านในปี 2532 และเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมายอดสร้างบ้านและคอนโดมิเนียมจะเติบโตปีละ 20 เปอร์เซ็นต์

แต่ปัจจุบันลูกค้าต้องการซื้อคอนโดมิเนียมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยอดขายโดยรวมโตถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ยอดสั่งซื้อบ้านลดเหลือ 20% จาก 30% อนันต์ตั้งข้อสังเกตว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคและอายุมีโครงสร้างที่เปลี่ยนไป

เขาเชื่อว่าราคาคอนโดมิเนียมจะไม่ลดลง เพราะติดกฎหมายผังเมืองมีระยะเวลา 2 ปีเกี่ยวกับการก่อสร้างในพื้นที่สีเขียว

แนวการบริหารงานของเขาในปัจจุบัน จึงไม่ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือสนใจ ตัวเลขอัตราการเติบโตเหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา แต่เขาใช้ประสบการณ์ที่อยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากว่า 30 ปี และฟังลูกค้าของเขาที่มีถึงปีละ 10,000 ราย โดยเฉพาะพฤติกรรมการซื้อที่อยู่อาศัยของลูกค้า ที่ศึกษาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ถึง 30% ดังนั้นธุรกิจในปัจจุบันควรให้ความสำคัญการใช้ไอทีมากขึ้น เพราะจะช่วยลดค่าการตลาดให้ต่ำลง

จากการให้บริการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ให้กับลูกค้าต่างชาติ จะเห็นว่าผู้เช่าเปลี่ยนไปจากที่เป็นต่างชาติผมสีทอง กลายเป็นคนจีน ฮ่องกง อินเดีย เพราะบริษัทใหญ่ๆ เช่น ไอบีเอ็ม เริ่มจ้างกลุ่มคนเหล่านี้แทน เพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า

อนันต์ยังมีแนวคิดนำระบบเทคโนโลยีสื่อสารมาปรับใช้ให้มากขึ้น และมีแผนที่จะให้พนักงานทำงานที่บ้าน และส่งงานที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักให้ข้างนอกบริหารแทน เหมือนดังเช่นตึกที่สร้างจำนวน 500 ห้อง มีพนักงาน 60-70 คน ดูแลการขายและการตลาด การจัดการ ส่วนธุรกิจร้านอาหาร ซักรีด หรือพนักงานความสะอาดได้ให้บริษัทภายนอกเข้ามาจัดการดูแล

การบริหารบุคลากรเป็นสิ่งที่สำคัญ แม้ว่าอนันต์จะมองว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นถึง 20% ก็ตาม แต่การบริหารบุคลากรจะไม่ว่าจ้างพนักงานใหม่ แต่จะให้พนักงานที่มีอยู่ทำงานเพิ่มขึ้นโดยเพิ่มรายได้ให้กับพนักงานที่ทำงานล่วงเวลา (โอที)

แม้อนันต์จะเชื่อว่าธุรกิจโดยรวมจะดีขึ้นและการเมืองจะเริ่มนิ่ง แต่จากวิกฤติปี 2540 ที่ผ่านมา ประเทศไทยใช้เวลาฟื้นตัวถึง 5 ปี

แนวคิดของผู้บริหารทั้งประเสริฐ ค่าย ปตท. กานต์ เครือซิเมนต์ไทย และอนันต์ ผู้คร่ำหวอดในวงการอสังหาริมทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา เพราะวิกฤติที่เกิดขึ้นไม่เคยซ้ำกันสักครั้งเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us