Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
ความหมายและความสำคัญของ “ทะเลตะวันออก”             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Vietnam




คำว่า "ทะเลตะวันออก" มักพบเสมอในเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ทั้งๆ ที่จริงแล้ว "ทะเลตะวันออก" กับ "ทะเลจีนใต้" คือผืนทะเลเดียวกัน แต่ทำไมคนเวียดนามจึงไม่เรียกเช่นนั้นและท้องทะเลแห่งนี้มีความสำคัญต่อประเทศต่างๆ ที่อยู่รายรอบอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องศึกษา

ข้อมูลจากสารานุกรมเปิด Wikipedia ภาษาเวียดนามให้ความหมายของคำว่า "ทะเลตะวัน ออก" (เขตทะเลตะวันออกเวียดนาม) ว่าเป็นทะเลริมทวีปแห่งหนึ่ง (marginal sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมเนื้อที่ตั้งแต่สิงคโปร์ขึ้นไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน ด้วยเนื้อที่ประมาณ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นโครงร่างทะเลที่ใหญ่ที่สุดต่อจาก 5 มหาสมุทร

บรรดาเกาะในทะเลตะวันออกมีจำนวนมาก รวมกลุ่มเป็นหมู่เกาะจำนวนหนึ่ง ทะเลเขตนี้และบรรดาเกาะส่วนใหญ่ไม่มีคนอยู่ ดังนั้น พื้นที่แห่งนี้จึงเป็นเป้าหมายของกรณีพิพาทอธิปไตยของหลายชาติที่อยู่รายรอบ กรณีพิพาทเหล่านั้นก็อาจใช้ชื่อเรียกเพื่อระบุถึงเขตทะเลแห่งนี้

ชื่อต่างๆ ของเขตทะเล
South China Sea เป็นถ้อยคำที่รู้จักกันมากที่สุดในภาษาอังกฤษ เพื่อระบุทะเลเขตนี้และชื่อในบรรดาภาษายุโรปส่วนมากก็ใช้เช่นนี้ แต่ประเทศที่อยู่รอบๆ กลับเรียกท้องทะเลผืนนี้ด้วยชื่ออื่นๆ เพื่อสะท้อนถึงอธิปไตยทางประวัติศาสตร์ของพวกเขาต่ออำนาจอธิปไตยเขตทะเล

จีนปกติเรียกทะเลแห่งนี้สั้นๆ ว่า "นามหาย" (ทะเลใต้) ในแขนงงานการพิมพ์ปัจจุบันของจีน มักได้รับการเรียกว่า "ทะเลจีนใต้" เป็นประจำและชื่อนี้ก็ได้ถูกใช้ในแผนที่ด้วยภาษาอังกฤษ

ฟิลิปปินส์เรียกว่าทะเลลูซอน (Luzon) ตามชื่อเกาะใหญ่ลูซอนของฟิลิปปินส์

ที่เวียดนาม อาณาเขตเกือบทั้งหมดที่หันสู่ทะเล คือทิศตะวันออก ดังนั้นชื่อในภาษาเวียดนามของทะเลแห่งนี้จึงมีความหมายว่าเขต "เบี๋ยนดง" (ทะเลตะวันออก) เวียดนามในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงสามารถออกสู่ทะเลแล้วย้อนกลับไปทางทิศตะวันตก (อ่าวไทย) ไปทางประเทศกัมพูชาและไทย

ทะเลตะวันออกของเวียดนามยังได้บันทึกร่องรอยของตนไว้ในวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เช่น ในนิทาน "เมียตักผัวตัก เบี๋ยนดงก็แห้ง" หรือ "ปูทราย รถขุดทรายเบี๋ยนดง"

ในเอกสารโบราณเกี่ยวกับการเดินเรือของโปรตุเกส เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ยังมีชื่อว่า "ทะเลจัมปา"

นอกจากนั้นยังมี East China Sea (ชื่อสากลของทะเลแห่งนี้) อยู่ทางทิศเหนือ เทียบกับทะเลตะวันออก เวียดนาม จีนเรียกสั้นๆ ว่า "ดงหาย" (แปลว่าทะเลตะวันออก เหมือนกับคำว่าเบี๋ยนดง) เมื่อค้นหาเอกสารต่างๆ ของจีนหรือประเทศอื่นๆ เอกสารจีนให้ความสนใจและเข้าใจไม่ผิดในชื่อทะเลตะวันออกทั้ง 2 ชื่อนี้ (ชื่อ "เบี๋ยนดง" และชื่อ "ดงหาย")

ชื่อเรียกสากลของทะเล "ตะวันออก" กำเนิดจากหลายศตวรรษก่อน คือทะเล "จีนใต้" เพราะสมัยนั้นจีนเป็นประเทศกว้างใหญ่ที่สุด พัฒนาที่สุด มีชื่อเสียงที่สุดในภูมิภาค ได้มีการติดต่อค้าขายกับตะวันตกผ่าน "เส้นทางสายไหม" ชื่อเรียกทะเลมหาสมุทร เดิมอาศัยที่ตั้งของท้องน้ำเหล่านี้ เมื่อเทียบกับบริเวณแผ่นดินใกล้เคียงกัน เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

แต่ไม่มีความหมายที่จะสื่อให้เห็นเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือท้องทะเลในความเป็นจริง

ตัวอย่างคือมหาสมุทรอินเดียเป็นมหาสมุทรทางทิศใต้อินเดีย ติดกับหลายประเทศในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา ก็ไม่ใช่เป็นของเฉพาะประเทศอินเดีย หรือทะเลญี่ปุ่นที่ล้อมรอบด้วยรัสเซีย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เป็นต้น

สถานที่มีชื่อในทะเลตะวันออก
อ่าวบั๊กโบะ ("บั๊กโบะ" หมายถึง ภาคเหนือ) เป็นส่วนทะเลตะวันออกระหว่างภาคเหนือกับเกาะหายนาม ภาคใต้จีนฝั่งทิศตะวันตกเป็นฝั่งทะเลเวียดนาม ตั้งแต่ทาญฮว้าถึงม้องก๊าย ทิศเหนือตั้งแต่ม้องก๊ายไปทางทิศตะวันออกคือ มณฑลกวางสีและมณฑลกวางตุ้งของจีนกับแหลม Leizhou ฝั่งตะวันออกคือเกาะหายนามของจีนในอ่าวหะลอง ที่อยู่ในอ่าวบั๊กโบะ มีเกาะเล็กนับพันเกาะที่มีชื่อเสียง เกาะต่างๆ ในอ่าวหะลองได้รับจัดประเภทให้เป็นมรดกทางธรรมชาติโลกโดย UNESCO เกาะบาจลองหวีเป็นของเวียดนาม ตั้งอยู่กึ่งกลางอ่าว มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ตารางกิโลเมตร

หมู่เกาะหว่างซา (พาราเซล) และหมู่เกาะเตรื่องซา (สแปรตลี) ตั้งอยู่กลางทะเลตะวันออก อำนาจรัฐเวียดนามหลายสมัยได้ใช้อธิปไตยเหนือหมู่เกาะทั้งสองอย่างต่อเนื่องในหลายศตวรรษที่ผ่านมา หมู่เกาะพาราเซล โดยจีนใช้ความรุนแรงเข้ายึดครอง ส่วนหนึ่งไว้ตั้งแต่ช่วงปี 2493 และอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ปี 2517 การพิพาทอธิปไตยส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ได้ปรากฏที่หมู่เกาะสแปรตลี ระหว่างเวียดนาม จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และไต้หวัน

เหตุผลสำคัญต่างๆ สำหรับกรณีที่พิพาทอธิปไตยที่เกิดขึ้นกับสองหมู่เกาะข้างต้นคือ

เนื้อที่ทะเลเชื่อมโยงถึงอาณาเขตกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะ และการขยายกำลังป้องกันประเทศของแต่ละประเทศ

ทะเลตะวันออกตั้งอยู่บนหนึ่งในบรรดาเส้นทางการเดินเรือขนาดใหญ่เส้นหนึ่งของโลก มีแหล่งสัตว์น้ำและมีศักยภาพ ทั้งด้านก๊าซ-น้ำมัน ปัจจุบันการพิพาทกำลังมีการเจรจาจากฝ่ายต่างๆ เพื่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค และเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ภูมิศาสตร์
องค์การอุทกศาสตร์สากลให้คำจำกัดความเขตทะเลที่ยืดยาวตามทิศทางตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นไปถึงตะวันออกเฉียงเหนือ สุดเขตทิศใต้คือเส้นรุ้ง 3 องศาใต้ ระหว่างใต้เกาะสุมาตราและกาลิมันตัน (ช่องแคบทะเลกาลิมาตา: Karimata) และสุดเขตทิศเหนือคือช่องแคบทะเลไต้หวัน ตั้งแต่แหลมทิศเหนือไต้หวัน ถึงฝั่งทะเลฟุกเกี๊ยน เป็นของจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะที่อ่าวไทยเป็นส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของทะเลตะวันออก

ทะเลตั้งอยู่บนไหล่ทวีปจมน้ำส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นไหล่ทวีปในยุคน้ำแข็ง เมื่อไม่นานมานี้น้ำทะเลได้ลดต่ำลงนับร้อยเมตร และบอร์เนียวเคยเป็นส่วนหนึ่งของไหล่ทวีปเอเชีย

ประเทศและอาณานิคมต่างๆ ที่มีชายแดนติดกับทะเลแห่งนี้ (ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ) ประกอบด้วยไหล่ ทวีปจีน มาเก๊า ฮ่องกง ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย กัมพูชา และเวียดนาม

แม่น้ำใหญ่หลายสายไหลเข้าทะเลตะวันออก ประกอบด้วยแม่น้ำเจิวยาง แม่น้ำเมินยาง แม่น้ำกื๋วลอง (ฟุกเกี๊ยน) แม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำราจาง (Rajang) แม่น้ำปาฮาง และแม่น้ำปาสิก (pasig)

เกาะในทะเลตะวันออก
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลตะวันออก มีหมู่เกาะดงซาเป็นของจีน (Pratas Islands) ซึ่งไต้หวันก็ประกาศอธิปไตย

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลตะวันออกห่างจากเกาะลี้เซินและเกาะกว๋างนามของเวียดนามประมาณ 200 กิโลเมตร และห่างจากเกาะหายนามของจีน 235 กิโลเมตร มีหมู่เกาะพาราเซลกับ 18 เกาะเล็กและหาดปะการัง 22 หาด (แต่ศาสตราจารย์เซิน โห่ง ดึ๊ก นักวิชาการของเวียดนาม บอกว่ามีเกาะเล็กและหาดปะการังถึง 230 แห่ง) ที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะฟุเลิม (Woody Island) ระดับสูงที่สุด 14 เมตร (Rocky Island) หมู่เกาะนี้ปัจจุบันกำลังถูกสาธารณรัฐประชาชนจีนยึดครองอยู่

ด้านในเขตทะเล มีเกาะและหาดปะการังกว่า 200 แห่ง ส่วนมากอยู่ในหมู่เกาะสแปรตลี หมู่เกาะสแปรตลี กระจายบนเขตกว้าง 810 กิโลเมตร ยาว 900 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะประมาณ 175 เกาะ เกาะใหญ่ที่สุดคือเกาะบาบิ่ญ (Itu Aba) ที่มีความยาวกว่า 1.3 กิโลเมตรและ มีจุดสูงสุด 3.8 เมตร มีภูเขาจมน้ำลูกหนึ่ง กว้าง 100 กิโลเมตร ได้รับการเรียกว่า Reed Tablemount อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หมู่เกาะสแปรตลีแยกห่างจากเกาะ Palawan ของฟิลิปปินส์ด้วยร่องน้ำ Palawan ปัจจุบันตั้งอยู่ลึก 20 เมตรใต้ระดับน้ำทะเล แต่ในอดีตเคยเป็นเกาะหนึ่ง ก่อนที่ระดับน้ำทะเลจะยกตัวขึ้นในยุคน้ำแข็ง จนสุดท้ายทำให้เกาะจมลึกลงไปใต้น้ำ

ทิศตะวันออกหมู่เกาะพาราเซล มีหาดปะการังต่างๆ เช่น Macclesfield Bank (หมู่เกาะตรุงซา), Stewart Bank, Truro Shoal และ Scarborough Shoal หาด Scarborough Shoal

ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหาด Macclesfield ใกล้ฝั่งทะเลฟิลิปปินส์

รูปร่าง: เป็นหาดที่ค่อนข้างใหญ่ข้างใต้เป็นปะการัง หาดนี้ตั้งอยู่ใต้ผิวน้ำทะเล ประมาณ 92 fathoms

หาด Truro Shoal: ตั้งอยู่ข้าง Scarborough Shoal ลึก 10 fathoms

หาด Stewart Bank: (578 fathoms) ใกล้เกาะ Luzon ของฟิลิปปินส์

แหล่งทรัพยากร
ทะเลตะวันออก เป็นเขตทะเลที่มีความหมายทางการเมืองที่สำคัญไม่สิ้นสุด เป็นเส้นทางการเดินเรือหนาแน่นอันดับ 2 ของโลก ในขณะที่ถ้านับตามปริมาณการค้า สินค้าส่งผ่านทุกปีกว่า 50% เดินทางผ่านช่องแคบมะละกา (Malacca) ช่องแคบซุนดา (Sunda) และช่องแคบลอมบอค (Lombok)

มีน้ำมันดิบกว่า 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร (10 ล้านบาร์เรล) ขนส่งผ่านช่องแคบ มะละกาทุกวัน ทำให้เป็นสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์โจรสลัดเป็นประจำ แต่ปัจจุบันได้ลดลงมากเมื่อเทียบกับกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20

เขตนี้ได้รับการสำรวจว่ามีน้ำมันสำรองประมาณ 7,700 ล้านบาร์เรล และมีการคาดการณ์ว่าปริมาณรวมสูงถึง 28,000 ล้านบาร์เรล ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติประมาณ 266 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

ตามการวิจัยโดยสำนักงานสิ่งแวด ล้อมและแหล่งรายได้ตามธรรมชาติของฟิลิปปินส์ ทะเลแห่งนี้ครอบครอง 2 ใน 3 ของความหลากหลายทางชีววิทยาทางทะเลทั่วโลก เพราะฉะนั้นจึงเป็นเขตสำคัญยิ่งต่อระบบนิเวศวิทยา

การประกาศอาณาเขตทางทะเล
ทะเลตะวันออก เขตและทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ต่างๆ มีความขัดแย้งมากมายเกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลเหนือเขตทะเลตะวันออก และบรรดาแหล่งทรัพยากรของที่นี่ เพราะกฎหมายทะเลปี 2525 ของสหประชาชาติ อนุญาตให้ประเทศต่างๆ ที่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ขยายเขตออกไปได้ 200 ไมล์ทะเล (370.6 กิโลเมตร) จากอาณาเขตทางทะเลของพวกเขา ทุกประเทศรอบๆ เขตทะเลสามารถประกาศอธิปไตยด้วยส่วนกว้างใหญ่ของพื้นที่

สาธารณรัฐประชาชนจีน (สป.จีน) ประกาศอธิปไตยดูเหมือนทั่วทั้งเขตทะเล รายงานเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า สป.จีน กำลังพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินกลุ่มหนึ่งเพื่อปกป้องเส้นทางขนส่งเชื้อเพลิงในทะเลตะวันออก

เขตพิพาทที่มีอันตรายประกอบด้วย

อินโดนีเซียและ สป.จีน เกี่ยวกับเขตทะเลตะวันออกเฉียงเหนือเกาะ Natuna

ฟิลิปปินส์และ สป.จีน เกี่ยวกับเขตสำรวจขุดเจาะก๊าซ Malampaya และ Camago

ฟิลิปปินส์และ สป.จีน เกี่ยวกับหาดทรายจมน้ำ Scarborough

เวียดนามและ สป.จีน เกี่ยวกับเขต ทะเลทิศตะวันตก บริเวณหมู่เกาะสแปรตลี ส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของหมู่เกาะสแปรตลี กำลังมีข้อพิพาท โดยเวียดนาม สป.จีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอีกบางประเทศ

หมู่เกาะพาราเซลกำลังอยู่ภายใต้การบริหารและประกาศอธิปไตยของเวียดนาม สป.จีนควบคุม 6 เกาะตั้งแต่ปี 2517 จนถึงบัดนี้

มาเลเซีย กัมพูชา ไทย และเวียดนาม เกี่ยวกับเขตพื้นที่ทับซ้อนต่างๆ ในอ่าวไทย

สิงคโปร์และมาเลเซีย เลียบตามช่องแคบยะฮอร์ (Johore) และช่องแคบสิงคโปร์

ทั้ง สป.จีน และเวียดนามต่างติดตามการประกาศอธิปไตยของตนเองด้วยความหนักแน่น หมู่เกาะพาราเซล เคยถูกจีนยึดได้ 6 เกาะเมื่อปี 2517 และมีทหารเสียชีวิต 18 นาย หมู่เกาะสแปรตลี เป็นสถานที่เคยเกิดการปะทะของกองทัพเรือ มีทหารเรือเวียดนามกว่า 70 นายถูกฆ่าตาย ที่ทิศใต้หาดปะการัง Chigua เมื่อเดือนมีนาคม 2531 บรรดาประเทศที่ขัดแย้งต่าง แจ้งให้ทราบเป็นประจำเกี่ยวกับการปะทะระหว่างเรือต่างๆ ของกองทัพเรือ

หากกล่าวถึงอาเซียนโดยรวม และกล่าวถึงมาเลเซียโดยเฉพาะกำลังต้องการ การรับประกันว่ากรณีพิพาททั้งหลายภายในทะเลตะวันออก จะไม่สูงขึ้นจนกลายเป็นการปะทะทางทหาร เพราะฉะนั้นโครงการพัฒนาร่วม (Joint Development Authorities) จึงได้รับการจัดตั้งขึ้นในบรรดาเขตพิพาททับซ้อนเหล่านี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาเขตและแบ่งปันสิทธิประโยชน์ในทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน ถึงแม้ไม่ได้ เป็นการแก้ไขปัญหาอธิปไตยของเขตนั้น

กรณีตัวอย่างที่เห็นชัดในเรื่องนี้คือพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย

เคยมีการประกาศอาณาเขตทับซ้อน ที่ Pulau Pedra Branca หรือ Pulau Batu Putih ของทั้งสิงคโปร์และมาเลเซีย เรื่องนี้ได้รับการนำขึ้นสู่ศาลระหว่างประเทศ โดยศาลได้พิพากษาในทางที่เป็นประโยชน์แก่สิงคโปร์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us