Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
อิทธิพลการค้า “จีน” กรณีศึกษา “ประเทศไทย”             
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์ เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

ทัพหน้า (จีน)
การเคลื่อนพลของทัพหลวง
ทัพหน้า (ไทย)
Yuan Zone อาวุธหนักที่รอสับไก
ภาษาจีน อาวุธลับที่ซึมลึก

   
search resources

Commercial and business
International
China




กระแส "คลั่งจีน" เริ่มก่อตัวขึ้นทั่วโลกเมื่อ 10 ปีก่อน หลังองค์การการค้าโลก (WTO) มีมติรับสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิก หลังจากสมาชิกภาพของจีนมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 ภาพการตื่นตัวของประเทศต่างๆ เพื่อเกาะเกี่ยวไปกับการเติบโตของจีน ยิ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น

เงินทุนจำนวนมหาศาลจากแทบทุกประเทศต่างหลั่งไหลเข้าสู่จีน ส่งผลให้เศรษฐกิจของจีนที่โตระดับ 2 หลักต่อเนื่องมาตลอดอยู่แล้วในช่วงก่อนหน้า ยิ่งขยายตัวขึ้นจนเพิ่งจะมาชะลอตัว หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาเมื่อปีที่แล้ว

การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของจีน ทำให้จีนถูกหมายตาว่าจะเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจรายใหม่ของโลกที่สามารถคานอำนาจกับมหาอำนาจดั้งเดิมอย่างสหรัฐอเมริกา หรือประเทศในยุโรป หลายคนเชื่อว่าแกนเศรษฐกิจของโลกกำลังจะเปลี่ยนมาอยู่ทางเอเชียในอีกไม่ช้า ทำให้ทุกประเทศโดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในเอเชียด้วยกัน ต่างพยายามหาทางสร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับจีน

รวมทั้งประเทศไทย

เงินลงทุนที่มุ่งหน้าสู่จีน ส่งผลให้จีนกลายเป็นแหล่งผลิตสินค้าแทบทุกประเภท ส่งออกขายไปทั่วโลก จนมีคำเปรียบเปรยกันว่า ทุกวันนี้จีนเป็นเสมือน "โรงงานของโลก"

เงินทุนที่หลั่งไหลเข้าไปเหล่านั้น ทำให้ทุนสำรองของจีนเติบโตขึ้นถึงระดับมากกว่า 2 ล้านล้านยูเอสดอลลาร์ จีนจึงกลายเป็นนักล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจรายใหม่ โดยรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนของจีนหลายรายต่างหิ้วกระเป๋าออกไปซื้อกิจการใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก

ขณะเดียวกันการเป็นฐานการผลิตสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้จีนจำเป็นต้องหาทางแผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างการผลิตและการขนส่งกับประเทศต่างๆ ที่อยู่รายรอบ เพื่อใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบเป็นฐานการผลิต เป็นเส้นทางขนส่งสินค้า และเป็นช่องทางนำพลังงานเข้าไปใช้ในประเทศ ฯลฯ

1 ในกลุ่มประเทศที่เป็นเป้าหมายในการเชื่อมโยงโครงสร้าง การผลิตและการขนส่งภายนอกประเทศของจีน คือกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (โดยสภาพภูมิศาสตร์เท่านั้น)

ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา ทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยต่างมอง เห็นความสำคัญในประเด็นนี้ พยายามหาวิธีการตั้งรับและรุกกลับ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับประเทศจากการขยายอิทธิพลของจีน ลงมาในพื้นที่แถบนี้

แต่การวางยุทธศาสตร์ในการตั้งรับและรุกกลับของไทย ได้ ทำให้ประเทศไทยได้เปรียบ หรือเสียเปรียบกันแน่? ยังเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถหาคำตอบออกมาได้อย่างชนิดฟันธง

ดร.พิสิฏฐ ภัคเกษม อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยเขียนบทความเรื่อง "7 ผลกระทบหลังจีนเข้าดับบลิวทีโอ" ตีพิมพ์ในคอลัมน์ "ทัศนะ วิจารณ์" ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2545 หลังจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ได้เพียงปีเศษๆ ส่วนหนึ่งของบทความชิ้นนี้ ดร.พิสิฎฐระบุว่า

จีน คือหนึ่งในมหาอำนาจของภูมิภาคเอเชียในยุคปัจจุบันซึ่งอาจส่งผลกระทบมากมายดังนี้:

1. ความโดดเด่นทางเศรษฐกิจในเอเชียที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของจีน อาจหมายถึงการเคลื่อนย้ายทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ สำหรับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ซึ่งจำเป็นต้องเร่งปรับและปฏิรูปโครงสร้างเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน

การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เป็นได้ทั้งภัยคุกคามและโอกาส ซึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ "5 เสืออาเซียน" (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) จำเป็นต้องเร่งยกเครื่องอุตสาหกรรมและรูปแบบการค้า เพื่อดึงดูดและรักษากระแสการลงทุนระหว่างประเทศใหม่ ที่คาดว่าจะไหลเข้าสู่จีนประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2548 "มากกว่าครึ่งของการลงทุนจากต่างประเทศในจีน เป็นการลงทุนในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก"

สำหรับผลต่อประเทศไทยนั้น พิสิฏฐระบุไว้ดังนี้

6. อนาคตประเทศไทย "ตัวเชื่อมทางเศรษฐกิจของจีน"

โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจีนและไทยเป็นโครงสร้างที่ควรจะประกอบกันมากกว่าจะแข่งขัน อีกทั้งความสามารถในการแข่งขันของไทยก็อยู่ในด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมรถยนต์ และอุตสาหกรรมขนส่ง ซึ่งน่าจะสอดรับกับนโยบายใหม่ด้านการเกษตร ที่เริ่มจะเปลี่ยนจากเกษตรพอเพียงมาเป็นเปิดรับสินค้าจากภายนอกมากขึ้น

บทความของ ดร.พิสิฎฐเมื่อ 7 ปีที่แล้วกำลังปรากฏเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน

เรื่องราวที่จะนำเสนอต่อจากนี้เป็นปรากฏการณ์ที่ได้บังเกิด ขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ละปรากฏการณ์สามารถนำมาเป็นกรณีศึกษาถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนกับไทยในมิติต่างๆ

และน่าจะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นมาบ้างว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยเล่นได้สมบทบาทของตนเองเพียงใด ในยุทธภูมิการค้าระดับภูมิภาคที่ดีกรีความรุนแรงกำลังทวีขึ้นเรื่อยๆ...โดยมีจีนเป็นผู้เล่นหลัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us