Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
จีนและอินเดียเหยื่อตัวจริงของปัญหาโลกร้อน             
 


   
search resources

Environment




ผู้รับเคราะห์จากปัญหาโลกร้อนทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อ

จีนและอินเดียแพร่ก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเพียง 10% และ 3% ตามลำดับ เทียบกับชาติพัฒนาแล้วที่แพร่ก๊าซเรือนกระจกมากถึง 75% จึงไม่แปลกที่ทั้ง 2 ประเทศจะตั้งคำถามว่า เหตุใดพวกเขาจึงต้องร่วมลดการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปกับชาติพัฒนาแล้วด้วย ในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลอินเดียกล่าวต่อ Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ อย่างตรงไปตรงมาว่า อินเดียจะไม่ยอมรับการลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกให้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแก้ปัญหาโลกร้อน (อินเดียแพร่ก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับ 5 ของโลก)

ส่วนจีน ซึ่งขณะนี้กลายเป็นประเทศที่แพร่คาร์บอนซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุดในโลก ระบุในการแถลงนโยบายครั้งหนึ่งว่า ชาติพัฒนาแล้วจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อการแพร่ก๊าซเรือนกระจก เพราะเป็นฝ่ายที่เริ่มแพร่ก๊าซเรือนกระจกมานานแล้วและมีอัตราการแพร่ก๊าซเรือนกระจกของประชากรต่อหัวอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ชาติพัฒนาแล้วจึงควรลดก๊าซเรือนกระจกมากกว่า ส่วนประเทศกำลังพัฒนาก็ควรจะสามารถ "พัฒนาเศรษฐกิจ" ต่อไปได้ ซึ่งมีความหมายอีกนัยหนึ่งว่า จีนจะไม่ยอมลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกเป็นอันขาด

ชาวจีนคงจะปรบมือให้กับถ้อยแถลงอันหนักแน่นดังกล่าวของผู้นำจีน เพราะพวกเขาต่างก็รู้สึกขุ่นเคืองใจที่คนอเมริกันซึ่งชอบขับรถขนาดใหญ่ที่กินน้ำมัน แต่กลับมาสั่งสอนให้คนอื่นลดการแพร่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างไรก็ตาม ความจริงที่อยุติธรรมก็คือ จีนกับอินเดียกลับต้องได้รับเคราะห์จากปัญหาโลกร้อนมากกว่าชาติตะวันตก ทั้งๆ ที่มิได้เป็นผู้ก่อปัญหา

ปัญหาโลกร้อนหรือภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่างๆ ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น จีนและอินเดีย โดยเฉพาะในภาคเหนือจะมีอากาศร้อนขึ้นมากกว่าในยุโรปตะวันตก โดยอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น 8-9 องศาฟาเรนไฮต์ และเนื่องจากรูปแบบของฝนตกที่เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมและความแห้งแล้งรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนโดยตรง ดังนั้น จีนกับอินเดียจะต้องเผชิญกับปัญหาอุทกภัยที่รุนแรงขึ้น

ภาคตะวันตกและภาคใต้ของจีนเคยเผชิญอุทกภัยที่หนักกว่าเดิมถึง 7 เท่ามาแล้ว เมื่อเทียบกับอุทกภัยที่เคยเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1950 จีนกับอินเดียยังจำเป็นต้องเพิ่มการชลประทานอีก 15% และ 5% ตามลำดับ ภายในทศวรรษ 2020 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกอยู่ที่เพียง 1-3% เท่านั้น นอกจากนี้ คาดว่าพายุไซโคลนในแปซิฟิกจะยิ่งรุนแรงขึ้น จะทำให้เกิดกระแสลมกระโชกแรงและฝนที่อาจตกหนักถึงขนาดทำให้น้ำท่วมโลกเหมือนยุคโนอาห์ได้

แต่สิ่งที่อาจจะเลวร้ายที่สุดคือ น้ำจืดจะหายากขึ้นทั้งในจีนและอินเดีย ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ต้องเพิ่มการชลประทานมากขึ้นไปอีก น้ำจืดส่วนใหญ่ที่ทั้งสองประเทศได้รับ เพื่อนำมาใช้ในการเกษตรและดื่มกินมาจากธารน้ำแข็งบนที่ราบสูงทิเบตและเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งหล่อเลี้ยงแม่น้ำคงคา สินธุ แยงซีและฮวงโหในอินเดียและจีน ขณะนี้เทือกเขาหิมาลัยมีอากาศอุ่นขึ้นเร็วกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกถึง 3 เท่า ผลก็คือธารน้ำแข็งบนหิมาลัยกำลังลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วกว่าที่อื่นๆ ในโลก และอาจหมดสิ้นไปภายในปี 2035 ส่วนแม่น้ำคงคาและสินธุก็อาจเปลี่ยนไปเป็นแม่น้ำที่ไม่มีน้ำตลอดทั้งปี

คาดว่า น้ำจืดสำหรับประชากรหลายพันล้านคนของอินเดียและจีนจะลดลง 20-40% ภายในศตวรรษนี้ เมื่อรวมกับปัญหาหิมะในฤดูใบไม้ผลิละลายเร็วเกินไป ไม่ตรงกับฤดูกาลเพาะปลูกซึ่งเกษตรกรต้องใช้น้ำ จะทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลง 10% ภายในปี 2030 และจะยิ่งลดลงมากกว่านั้นเมื่อคิดเฉลี่ยต่อหัวประชากร

จีนได้เผชิญกับความแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษมาแล้ว เมื่อประชากรจีน 300 ล้านคนขาดแคลนน้ำดื่ม และพืชผลการเกษตรโดยเฉพาะข้าวสาลีเสียหาย 50 ล้านเอเคอร์ คณะกรรมาธิการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลว่าด้วยปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงของสหประชาชาติ (IPCC) คาดการณ์ด้วยว่า ผลผลิตข้าวในเอเชียจะลดลง 10% เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาฟาเรนไฮต์ จากระดับอุณหภูมิที่ต่ำสุดในฤดูกาลเพาะปลูก

ปัญหาโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อลมมรสุม ลมมรสุมในอินเดียเกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูร้อนพื้นดินจะร้อนกว่าในมหาสมุทรอินเดีย จึงขับมวลอากาศจากมหาสมุทรเข้าสู่พื้นดิน พร้อมกับนำเอากระแสลมและฝนมาด้วย ซึ่งจำเป็นต่อการทำเกษตร แต่จากโมเดลสภาพอากาศแสดงว่า ปัญหาโลกร้อนทำให้พื้นดินร้อนกว่าทะเลมาก ซึ่งหมายความว่า ลมมรสุมอินเดียจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ลมมรสุมที่มีความรุนแรงมากขึ้นได้สร้างโศกนาฏกรรมและ ความเสียหายอย่างมหาศาลแก่อินเดียมาแล้ว โดยคร่าชีวิตผู้คนไป 2,200 คน เมื่อปี 2004 และทำให้คนอีกนับหมื่นๆ คนไร้ที่อยู่อาศัย ลมมรสุมอินเดียยังมาเร็วกว่าปกติ จากเดิมที่จะพัดมาในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ทำให้ฝนตกคลาดเคลื่อนไปจากฤดูกาลปกติรวมทั้งวงจรการเพาะปลูกพืช ส่วนจีนกลับตรงข้ามกับอินเดีย ลมมรสุม ในช่วงฤดูร้อนจะอ่อนแรงลงกว่าปกติ เนื่องจากปัญหาโลกร้อนได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหลเวียนของอากาศในเขตร้อน

อินเดียกับจีนจึงตกเป็นผู้รับเคราะห์ปัญหาโลกร้อนที่แท้จริง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นผู้ก่อปัญหาก็ตาม

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 7 กันยายน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us