Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
เมื่อการลดคาร์บอนแก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้             
 


   
search resources

Environment




ถึงเวลาที่เราควรพิจารณาวิธีอื่นๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อน

เมื่อผู้นำโลกไปประชุมสุดยอดเพื่อแก้ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ Copenhagen ในเดือนธันวาคมนี้ สิ่งที่พวกเขาจะต้องตัดสินใจในการประชุมดังกล่าวจะส่งผลต่อโลกไปอีกหลายชั่วอายุคน เหลือเวลาเพียง 2 เดือนเท่านั้นก่อนที่จะถึงวันประชุม แต่กลับยังไม่มีการหารืออย่างจริงจังเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาจะต้องตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อน และจนถึงทุกวันนี้ยังคงมีคนที่ไม่เชื่อว่า ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องจริง ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งก็กลับเชื่อไปในทางตรงข้ามว่า ปัญหาโลกร้อนอาจหนักหนาถึงขั้นทำให้ทุกชีวิตบนโลกต้องดับสูญ

ผลการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศสรุปชัดแล้วว่า ปัญหาโลกร้อนเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ แต่ทางแก้ปัญหาใน ขณะนี้ดูเหมือนจะทำกันอยู่เพียงทางเดียวเท่านั้น คือการเรียกร้อง ให้ชาติร่ำรวยลดการแพร่คาร์บอนมากเท่าใดยิ่งดี แต่วิธีการนี้กำลังล้มเหลว ในขณะที่แนวคิดอื่นๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อนกลับไม่ได้รับการสนใจเหลียวแล

ที่นครเกียวโตเมื่อปี 1997 ผู้นำโลกต่างให้สัญญาว่าจะลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกลง 5% จากระดับของก๊าซเรือนกระจกในปี 1990 โดยจะลดลงให้ได้ภายในปี 2010 แต่พวกเขากำลังจะพลาดเป้าหมายดังกล่าวถึง 25% ขณะนี้ผู้กำหนดนโยบายบางคน เริ่มเรียกร้องให้ลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกให้มากยิ่งขึ้นอีก คือลดลง 80% จากระดับของก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบัน โดยให้ลดลงให้ได้ภายในปี 2050 ทั้งๆ ที่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก เพียงแค่ 5% ก็ยังแทบจะทำไม่ได้ สหรัฐฯ กำลังจะออกกฎหมายจำกัดการแพร่ก๊าซเรือนกระจก แต่ก็ดูเหมือนจะไม่ช่วยอะไรได้มากนักในการแก้ปัญหาโลกร้อน และต่อให้โลกอุตสาหกรรมพร้อมใจกันออกกฎหมายแบบเดียวกับสหรัฐฯ ทั้งหมด ก็อาจจะทำให้อุณหภูมิของโลกลดลงเพียงเล็กน้อยประมาณ 0.22 องศาเซลเซียส ภายในปี 2100 เท่านั้น

ต่อให้ชาติอุตสาหกรรมทั้งหมดประสบความสำเร็จในการลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกลงได้มากที่สุด ก็ต้องแลกมาด้วย การสูญเสียความมั่งคั่งอย่างมหาศาล เพราะการลดการแพร่คาร์บอน เพื่อจำกัดอุณหภูมิของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส อย่างที่สหภาพยุโรป (EU) และกลุ่ม G8 หวังไว้นั้น Richard Tol นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์และสังคมในไอร์แลนด์ชี้ว่า จะทำให้ GDP ลดลง 12.9% ภายในสิ้นศตวรรษนี้ หรือคิดเป็นเงินที่จะต้องสูญเสียไปถึง 40 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือกว่า 4,000 ดอลลาร์ต่อคน แต่ประโยชน์ที่จะได้กลับมาแทบไม่คุ้ม เพราะจะสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากโลกร้อนได้เพียง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์เท่านั้น

งานวิจัยของ Tol ข้างต้น เป็นหนึ่งในรายงานที่จัดทำโดยศูนย์ Copenhagen Consensus Center เพื่อเปรียบเทียบประโยชน์และค่าใช้จ่ายของวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อน ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับรายงานเมื่อปี 2006 ของนักเศรษฐศาสตร์ Nicholas Stern ซึ่งได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจกไว้ค่อนข้างต่ำ แต่ประเมินความเสียหายที่เกิดจากปัญหาโลกร้อนไว้สูง อย่างไรก็ตาม Stern ยอมรับว่า ขณะนี้ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของการลดการแพร่ก๊าซเรือนกระจก น่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากที่เขาเคยระบุไว้ในรายงานเมื่อ 3 ปีก่อน

ยังมีทางเลือกอีก 2 ทางสำหรับการแก้ปัญหาโลกร้อน ทางแรกคือการลงทุนในด้าน climate engineering ซึ่งเป็นการลดอุณหภูมิของโลกด้วยฝีมือมนุษย์ เพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ช้าลง ยกตัวอย่าง การใช้เรืออัตโนมัติคอยพ่นน้ำทะเลขึ้นไปในอากาศ เพื่อทำให้เมฆมีสีขาวขึ้น สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ได้มากขึ้น เป็นการช่วยเสริมกระบวนการของธรรมชาติ การสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศเพียงแค่ 1-2% เท่านั้น ก็สามารถจะช่วยลดอุณหภูมิของโลกได้มากพอๆ กับที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า จากระดับก่อนที่โลกจะเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมได้ทำให้โลกร้อนขึ้น

การลงทุนประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์กับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี climate engineering ข้างต้น สามารถจะลดความเสียหายที่จะเกิดจากปัญหาโลกร้อนลงได้ถึง 20 ล้านล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ มีงบประมาณวิจัยด้านปัญหาโลกร้อน 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี หากนำงบประมาณส่วนนี้เป็นระยะ 18 เดือน ซึ่งจะเท่ากับ 9 พันล้านดอลลาร์มาใช้ลงทุนในด้าน climate engineering อาจช่วยป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นได้ไปตลอดศตวรรษนี้เลยทีเดียว แม้ว่าวิธีนี้อาจจะก่อให้เกิดคำถามในเชิงตรรกและจริยธรรม แต่ก็เป็นวิธีแก้ปัญหาโลกร้อนวิธีหนึ่งที่เป็นไปได้ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า และอาจได้ผลมากกว่าวิธีลดการแพร่คาร์บอน

อีกวิธีหนึ่งคือ การที่โลกร่วมกันลงทุนในการวิจัยและพัฒนาแหล่งพลังงานสะอาด เพื่อลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงที่มาจากซากพืชซากสัตว์อย่างเช่นน้ำมัน เราจำเป็นต้องมีพลังงานที่ปราศจากคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น หมายถึงการเพิ่มพลังงานลม แสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดอื่นๆ ให้มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบันอีกหลายร้อยเท่า การลงทุนประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี ในการวิจัยพลังงานสีเขียวอาจทำให้เราสามารถแก้ปัญหาภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงได้ ภายในเวลาเพียง 1 ศตวรรษ หรือกว่านั้น โดยเงินที่ลงทุนไปทุกๆ 1 ดอลลาร์จะสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโลกร้อนได้ประมาณ 11 ดอลลาร์

Llomborg ผู้อำนวยการ Copenhagen Consensus Center ในเดนมาร์ก เตือนว่า หากเรายังคงดึงดันที่จะใช้แต่วิธีลดการแพร่คาร์บอนต่อไป อาจจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจได้อย่างใหญ่หลวง แต่กลับไม่สามารถยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้นได้ เราจึงควรมองหาวิธีใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาโลกร้อน ที่นอกเหนือไปจากเพียงการลดการแพร่คาร์บอน ซึ่งกำลังเป็นวิธีการที่ใช้ไม่ได้ผล

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิวสวีค 7 กันยายน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us