Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ตุลาคม 2552
พัฒนา “กล้วย” ให้เป็นอุตสาหกรรม             
 


   
search resources

Agriculture




แม้ว่างานมหกรรม "กล้วย" แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ จัดขึ้นเมื่อกลางเดือนสิงหาคมจะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ประเด็นว่าด้วยความสำคัญของ "กล้วย" ในเชิงเศรษฐกิจยังเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงไม่สิ้นสุด

เนื่องเพราะข้อเท็จจริงที่ว่าการบริโภคภายในประเทศและส่งออก "กล้วย" สร้างรายได้ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทเลยทีเดียว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ไทยยังมีโอกาสขยายมูลค่าการส่งออกกล้วยได้อีกมาก รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยรูปแบบอื่นๆเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าจากเส้นใยกล้วย หรือกระเป๋าสาน แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับการส่งเสริมและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการค้าก็จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากกล้วยของไทย สามารถแข่งขันได้

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยเชิงการค้ามากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของประเทศนำเข้าที่สำคัญอย่างญี่ปุ่น ซึ่งมีปริมาณความต้องการนำเข้าจากไทยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก โดยกล้วยที่นิยมปลูกทั้งกล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า มีผลผลิตรวมกันมากถึงกว่า 1.5 ล้านตันต่อปี

นอกจากนี้ การบริโภคในประเทศมิได้จำกัดอยู่เฉพาะการบริโภคสดเท่านั้น หากยังมีการใช้ประโยชน์จากกล้วยอย่างหลากหลาย ซึ่งรวมถึงการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากกล้วยในลักษณะของสินค้า OTOP ประจำท้องถิ่นนั้นๆ ผลิตขายในรูปของ ของฝาก หรือซื้อไปทานเล่น

อย่างไรก็ดี หากประเมินจากปริมาณการค้ากล้วยในตลาดโลกมีประมาณ 8.8 ล้านตัน มูลค่าเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว ประเทศไทยสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกกล้วยเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท

โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นหลังจากที่มีข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ส่งผลให้ญี่ปุ่นลดภาษีนำเข้ากล้วยหอมทองจากไทยเหลือร้อยละ 0 ทันที ซึ่งตามข้อตกลงฯ ญี่ปุ่นจะจัดสรรโควตาการส่งออกไว้ปีละ 6,000 ตัน และเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 10 ต่อปี โดยทำการตกลงผ่านกลไกสหกรณ์ระหว่างสองประเทศ แต่ไทยมีการส่งออกจริงเพียงปีละ 3,000 ตันเท่านั้น

ส่วนตลาดจีนคาดว่ายังคงขยายตัวได้อีกมาก โดยเงื่อนไขในการส่งออกกล้วยหอมไปยังจีนถือว่าเป็นเงื่อนไขที่แตกต่างจากญี่ปุ่น เพราะจีนอนุญาตให้ส่งออกกล้วยหอมโดยไม่จำกัดขนาด ขณะที่ญี่ปุ่นค่อนข้างที่จะเข้มงวดในการส่งออก โดยมีการกำหนดขนาดมาตรฐานที่เท่ากัน คือ 8-9 นิ้วต่อลูกเท่านั้น ทำให้คาดว่า ไทยน่าจะส่งออกกล้วยหอมไปจีนได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยรองรับกล้วยหอมที่ไม่สามารถส่งออกไปญี่ปุ่นได้

อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องพึงระวังกับปัจจัยเสี่ยงในการส่งออกกล้วยสดและผลิตภัณฑ์กล้วย โดยเฉพาะการพัฒนาคุณภาพ เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่สำคัญของไทย ทั้งเอกวาดอร์ เบลเยียม คอสตาริกา และฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศต่างๆ เหล่านี้เป็นประเทศ ส่งออกรายใหญ่ของโลก

โดยการพัฒนาคุณภาพหมายรวมถึงสร้างความแตกต่างให้กับกล้วยและผลิตภัณฑ์กล้วย ซึ่งต้องมีการจัดการที่ได้มาตรฐานการส่งออก คาดว่าจะทำให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

นอกจากนี้ ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในเรื่องของการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกกล้วยเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง พร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและเร่งพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกันยังมีผลิตภัณฑ์จากกล้วยที่ถือเป็นโอกาสของไทยที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกล้วย และเหมาะที่จะส่งเสริมให้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ทั้งในมิติของขนมขบเคี้ยว อาหารหวาน ผลิตภัณฑ์บำรุง/ถนอมผิว ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกล้วยนำมาทอเป็นเสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งเชือกกล้วย ซึ่งทั้งหมดสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศในอนาคต

มูลค่าทางเศรษฐกิจของกล้วย กำลังทำให้ "กล้วย" ไม่ใช่ เรื่องกล้วยๆ ที่พร้อมจะดำเนินการกันอย่างง่ายๆ และกล้วยๆ ดังที่เข้าใจกันมาอีกต่อไปแล้ว

บางทีคำตอบจาก "กล้วย" อาจเป็นทางออกของสังคมไทยในอนาคตก็ได้ใครจะรู้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us