Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์28 กันยายน 2552
L.P.N. ชูแนวทาง CESR สร้าง 'ชุมชนน่าอยู่'             
 


   
www resources

โฮมเพจ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์

   
search resources

แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์, บมจ.
Real Estate




ในวงการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะแนวตึกสูงที่เป็นอาคารชุดที่พักอาศัย หรือคอนโดมิเนียมที่ขึ้นต้นชื่อโครงการด้วยคำว่า 'ลุมพินี' หรือ L.P.N. ย่อมเป็นที่รู้จักและมองเห็นโดดเด่นในหลายย่านของกรุงเทพฯ

กล่าวได้ว่าเป็นกิจการที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และกิจการเติบโตอย่างสม่ำเสมอยั่งยืน

พิเชษฐ ศุภกิจจานุสันต์ กรรมการบริหาร ยืนยันหนักแน่นว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการทำธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

'โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการก่อสร้างอาคาร ยิ่งมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมมากกว่าหลายธุรกิจ'

แนวคิดเรื่อง CSR หรือความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น พิเชษฐบอกว่า คณะกรรมการและผู้บริหาร แอล.พี.เอ็น. มีจิตสำนึกเรื่องนี้มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทเพื่อเน้นการให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่แอล.พี.เอ็น.จึงเพิ่มตัว E (Environment) กลายเป็น CESR ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Corporate Environment and Social Responsibility)

แนวความคิดนี้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์องค์กรในการบริหารธุรกิจซึ่งกำหนดหลักการ 3 ข้อ คือ ความรับผิดชอบ (Responsibility) การแบ่งปัน (Sharing) และการสร้างเครือข่ายความมีส่วนร่วม (Networking) โดยจิตสำนึกความรับผิดชอบนั้นเป็นการเริ่มต้นจากตนเอง ซึ่งหมายถึงตระหนักในกระบวนการทำธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ (CSR-in-Process)จากนั้นจึงแบ่งปันสู่สังคมภายนอก(CSR-After-Process) โดยความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม เช่น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ

แนวคิดดังกล่าวจึงส่งผลไปสู่แนวทางการปฏิบัติของทุกส่วนในองค์กร และเป็นที่มาของนโยบายการบริหารจัดการชุมชนที่บริษัทมุ่งพัฒนาให้ทุกโครงการเป็น 'ชุมชนน่าอยู่' ของสังคม

ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1)ช่วงเริ่มพัฒนาโครงการ นับตั้งแต่การเลือกทำเลในการพัฒนาโครงการที่ยังขาดแคลนที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ ใกล้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ การออกแบบและการกำหนดราคาเพื่อตอบสนองความต้องการที่อยู่อาศัยที่สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น มีการเพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นความจำเป็นพื้นฐานเข้าไปภายในโครงการ ส่งผลให้การดำเนินชีวิตสมบูรณ์แบบมากขึ้น ช่วยลดการเดินทาง ลดการใช้พลังงาน และแก้ปัญหาการจราจร ทั้งยังมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

การพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์ 'ลุมพินี คอนโดทาวน์' ซึ่งมุ่งสร้างที่อยู่อาศัยหลังแรกให้กับคนในสังคมเมือง จึงกำหนดราคาขายเริ่มต้นเพียง 7 แสนบาทเศษ โดยมีการบริหารชุมชนที่เน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและยังมีแผนที่จะพัฒนาโครงการในลักษณะนี้ในพื้นที่ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังเลือกใช้วัสดุทดแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุจากธรรมชาติซึ่งเป็นการทำลายสภาพแวดล้อมโดยรวม ขนาดของชิ้นส่วนต่างๆ ถูกออกแบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อลดเศษวัสดุที่จะเป็นขยะให้น้อยที่สุด รวมถึงการออกแบบที่คำนึงถึงการประหยัดพลังงานและง่ายต่อการบำรุงรักษาอาคารในระยะยาว

2)ระหว่างการก่อสร้าง มีการปฏิบัติตามแนวทางในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด เริ่มตั้งแต่การดูแลผลกระทบต่ออาคารหรือชุมชนข้างเคียง ทั้งเรื่องเสียง ฝุ่นละออง การจราจร โดยการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ต้องทำความสะอาดของล้อรถขนส่งวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขณะออกจากหน่วยงานก่อสร้าง เพื่อลดความเสียหายของผิวจราจร

มีการรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากการก่อสร้าง

โดยได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของบริษัทคอยดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และควบคุมดูแลให้ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากการก่อสร้างตามที่ระบุในรายงานดังกล่าว

3)หลังพัฒนาโครงการ เมื่อส่งมอบโครงการและห้องชุดให้กับลูกค้าแล้ว มีการจัดตั้งฝ่ายบริหารชุมชนให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่เหมาะสมตามแนวทาง 'ชุมชนน่าอยู่' ซึ่งไม่เพียงเป็นการบำรุงดูแลรักษาให้อุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ เกิดความพร้อมและความปลอดภัยในการใช้งานเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมที่ดี มีความอบอุ่น ปลอดภัย และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมภายในโครงการอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

มีการนำแนวคิด Green Clean Lean มาปรับใช้พร้อมรณรงค์ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนร่วมดำเนินการอย่างจริงจัง เช่น การรณรงค์ให้ผู้อยู่อาศัยร่วมคัดแยกขยะ เพื่อนำขยะบางส่วนเข้ากระบวนการ Recycle หรือนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการนำน้ำจากบ่อบำบัดกลับมารดน้ำต้นไม้การรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารตามแนวทางการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ แอล.พี.เอ็น.ยังให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของคนงานก่อสร้าง โดยกำหนดมาตรฐานในการทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ทั้งยังกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของคนงานและบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังจัดเตรียมที่อยู่อาศัยที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัว และการสร้างเสริมสุขภาพโดยกำหนดให้มีการออกกำลังกายทุกเช้า

แนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

* สังคมภายในองค์กร

พนักงานทุกระดับ ได้รับการดูแลด้านคุณภาพชีวิต มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานเพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และความก้าวหน้าในสายอาชีพส่งเสริมความสมดุลในการใช้ชีวิต (Work Life Balance) ทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัว พร้อมกันนี้ ปลูกฝังวิธีการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยการแบ่งปัน เกื้อกูล เอื้ออาทร เสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกัน ภายใต้วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร (Core Value) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ยังจัดให้มีกิจกรรมภายในเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันตั้งแต่ระดับคณะกรรมการไปจนถึงพนักงาน โดยผ่านช่องทางการสื่อสารภายในองค์กร และการสนับสนุนให้เกิดความมีส่วนร่วมของพนักงานในกิจกรรมต่างๆ ทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังจิตสำนึกในการทำความดี

* สังคมภายในชุมชนของโครงการ L.P.N.

กลยุทธ์ในการบริหารชุมชนในรูปแบบของ 'ชุมชนน่าอยู่' ที่บริษัทมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตภายใต้สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยอย่างสูง และส่งเสริมให้มีกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันภายในครอบครัวและระหว่างกลุ่มสมาชิก 'ลุมพินี' ทั้งยังสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการร่วมในกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทั้งภายในโครงการและขยายไปสู่สังคมภายนอกอีกด้วย

เครือข่ายสังคมภายใน เช่น การร่วมเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในโครงการ การร่วมฟื้นฟูและพัฒนาโรงเรียน 9 แห่ง ในจังหวัดอยุธยาที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ การร่วมในกิจกรรมอ่านหนังสือเสียงให้แก่ผู้พิการทางสายตา การจัดกิจกรรม 'วันครอบครัว' ภายในโครงการ หรือการร่วมในกิจกรรมตามวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามต่างๆ

* สังคมภายนอก

บริษัทได้ให้ความสำคัญกับชุมชนรอบโครงการในรัศมี 1 กิโลเมตร เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากอาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนาโครงการของบริษัท โดยจัดทีมงานของผู้บริหารระดับสูง เข้าเยี่ยมเยียนและสอบถามถึงผลกระทบอย่างต่อเนื่องพร้อมพัฒนากระบวนการภายในเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจมีต่อชุมชนรอบข้าง

การแบ่งปัน (Sharing)

หลักการสำคัญอีกข้อ ซึ่งมีหัวใจสำคัญมาจากคำสอนของทุกศาสนา นั่นคือ การให้ หรือ การแบ่งปัน ซึ่งบริษัทได้ยึดถือเป็นหลักสำคัญในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมมาโดยตลอด โดยเริ่มจากภายในองค์กรเองเป็นศูนย์กลาง แล้วจึงขยายต่อไปยังชุมชนและสังคมในระดับที่ใหญ่ขึ้นตามนโยบายสร้างความสมดุล ซึ่งไม่ได้มุ่งเพียงสร้างผลกำไรสูงสุดให้แก่ธุรกิจ แต่ยังนำผลกำไรบางส่วนที่ได้นั้นคืนกลับสู่ลูกค้าและสังคม อันได้แก่ ชุมชนโดยรอบโครงการที่บริษัทได้พัฒนาขึ้น และรวมไปถึงประชาชนกลุ่มอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของจุดเริ่มต้นที่ร่วมสร้างและผลักดันสังคมโดยรวมให้แข็งแกร่งขึ้น และร่วมสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์เพื่อผู้อื่นให้ขยายวงกว้างต่อไป โดยแบ่งประเภทกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วได้ดังนี้ คือ

- กิจกรรมเพื่อเยาวชน
- กิจกรรมด้านสาธารณสุขและการแพทย์
- กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม
- กิจกรรมรณรงค์และปลูกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน
- กิจกรรมด้านศาสนา
- การส่งเสริมการทำความดี
- การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีด้านการอยู่อาศัยในอาคารชุด

การสร้างเครือข่ายความมีส่วนร่วม (Social Network)

ในทุกๆ โครงการที่พัฒนาขึ้น L.P.N.จะเป็นผู้ประสานให้ชุมชนต่างๆ เกิดความรู้สึกร่วมถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชนดั้งเดิมและดำเนินแนวทางร่วมกันที่จะนำมาซึ่งความสุขของสังคมโดยรวม ทั้งยังเข้าไปมีส่วนร่วมในการจุดประกายความคิด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสังคมของชุมชนนั้นให้ดีขึ้น

ข้อคิด

บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) นับเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นกิจการตัวอย่างที่เป็นองค์กรที่เก่งและดี พร้อมกับการมีกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ตามหลัก CSR ที่สมบูรณ์แบบโดยที่นี่เรียกว่า CESR เพื่อย้ำให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม

ดูจากโครงสร้างคณะกรรมการซึ่งมีกรรมการอิสระถึง 7 คน ทั้งๆ ที่ตามกฎกติกามีไม่น้อยกว่า 3 และจากการที่ได้พูดคุยกับคุณพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันต์ กรรมการบริหาร ที่มีความเข้าใจต่อหลักและแนวปฏิบัติของการบริหารด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างมีจิตสำนึกที่ดีมาก

ความที่ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งมาจนปัจจุบันถือหุ้นส่วนน้อยราว 10% โดยมีกองทุนต่างชาติ ถือ 40% สถาบันในประเทศ ถือ 20% รายย่อย 20% โดย 80% เป็นหุ้นที่ซื้อขายในตลาด จึงกล่าวได้ว่าเป็นบริษัทมหาชนที่บริหารโดยมืออาชีพจริงๆ

การที่ผู้บริหารมีจิตอาสาที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยสามารถสร้างความสมดุลต่อการดำเนินธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้นได้อย่างมีผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องอย่างยั่งยืน เป็นการพิสูจน์ความเก่งและดีของกิจการที่น่าศึกษาเป็นตัวอย่าง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us