Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
วัฏจักรหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลไทย             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

The Leading Specialist Healthcare Hub
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ "World Class Service"
Specialized at Bangkok Hospital
ธนบุรี โรงพยาบาลเพื่อ "คนไทย"
"ปิยะเวท" โรงพยาบาลในแนวคิดใหม่
โรงพยาบาลเด็ก สมิติเวช ศรีนครินทร์
Exclusive

   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
Hospital




โดยธรรมชาติของตลาดหุ้นทั่วโลก หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะถูกจัดอยู่ในประเภท ของหุ้นที่เรียกว่า Defensive Stock ซึ่งหุ้นในกลุ่มนี้มักจะไม่ได้รับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น ขาขึ้นหรือขาลง

ในทางเดียวกัน หุ้นประเภทนี้ก็ไม่เหมาะสมที่จะเป็นหุ้นสำหรับการเก็งกำไร

แต่สำหรับธุรกิจโรงพยาบาลในประเทศไทย จะมีลักษณะที่ผิดเพี้ยนจากธรรมชาติดังกล่าวอยู่พอสมควร

หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในประเทศไทย เคยถูกเก็งกำไรอย่างหนักในช่วงปี 2534-2535 ด้วยเหตุผลที่นักลงทุนมองว่าเป็นช่วงของเศรษฐกิจขาขึ้น

"เมื่อคนมีรายได้ดีขึ้น ก็เริ่มคำนึงถึงเรื่องของสุขภาพ โอกาสที่คนจะเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่เคยเข้าใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ มาเป็นโรงพยาบาลเอกชนจึงมีสูง ดังนั้น รายได้ของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน จึงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น" เป็นเหตุผลที่นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ส่วนใหญ่ใช้ในการแนะนำ ให้นักลงทุนเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลในช่วงนั้น

หลังจากภาวะตลาดหุ้นได้ตกต่ำลงอย่างหนัก จากแรงขายของนักลงทุนต่างประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2537 หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจึงถูกผลกระทบไปด้วย ราคาหุ้นกลุ่มนี้ดิ่งลงอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง

เมื่อฟองสบู่เศรษฐกิจของไทย เริ่มโป่งพองในช่วงปี 2538-2539 โรงพยาบาลหลายแห่งมีแผนขยายงานขนาดใหญ่ และอีกหลายแห่งเริ่มปรับแนวทางธุรกิจไปในรูปที่เป็นการผสมผสานกัน ระหว่างธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจพัฒนอสังหาริมทรัพย์

การเข้ามาร่วมทุนในโรงพยาบาลศิครินทร์ของกลุ่มจุลดิศ ตลอดจนแผนการสร้างอาคารใหม่ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเดิม ถึง 3 เท่าของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ การขยายสาขาออกไปสร้างเชนในต่างจังหวัดของโรงพยาบาลรามคำแหง ฯลฯ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด

การขยายงานในลักษณะดังกล่าว ทำให้ทุกโรงพยาบาลมีการก่อหนี้จำนวนมหาศาล 80-90% ของหนี้ที่กลุ่มโรงพยาบาลสร้างขึ้นในช่วงนี้ เป็นหนี้เงินกู้จากต่างประเทศ

ดังนั้น เมื่อประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540 โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจึงต้องประสบกับปัญหาฐานะทางการเงิน จากตัวเลขหนี้สินที่เพิ่มขึ้นสูงลิ่ว

โรงพยาบาลที่มีผลประกอบการดีอย่างบำรุงราษฎร์ หรือโรงพยาบาลที่กำลังอยู่ในช่วงของการขยายงานอย่างศิครินทร์ และโรงพยาบาลพญาไท ต้องถูกย้ายเข้าไปอยู่ในหมวดหุ้นกลุ่มฟื้นฟูกิจการ หุ้นหลายตัวในกลุ่มนี้ถูกสั่งห้ามการซื้อขาย ส่วนตัวไหนที่ตลาดหลักทรัพย์ยังคงเปิดให้ซื้อขายต่อไปได้ ก็ซื้อขายกันด้วยบรรยากาศที่เงียบเหงาและราคาลดลงมาเหลือเพียงไม่ถึง 10% จากจุดที่เคยขึ้นไปสูงสุด

หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลเพิ่งเริ่มจะกลับมีความคึกคักกันอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้ ด้วยความมั่นใจของนักลงทุนที่มองเห็นสัญญาณชัดเจนในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มนี้กำลังอยู่ระหว่างการสร้างฐานการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรอบใหม่

รวมระยะเวลาที่หุ้นกลุ่มนี้ต้องอยู่ในภาวะตกต่ำถึง 9 ปีเต็ม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us