Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์28 กันยายน 2552
เซเว่นอีเลฟเว่นผ่าดีเอ็นเอเปลี่ยนร้านสะดวกซื้อเป็นร้านอิ่มสะดวก             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น

   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
Minimart




เซเว่นอีเลฟเว่นปรับคอนเซ็ปต์จากร้านสะดวกซื้อสู่ร้านอิ่มสะดวก โฟกัสสินค้าอาหาร ซึ่งมีมาร์จิ้นสูง หลังเผชิญศึกรอบด้าน ทั้งคอนวีเนียนสโตร์ มินิซูเปอร์มาร์เกตที่ย่อไซส์เข้าสู่ชุมชนทั้งท็อปส์ เดลี่ และโลตัส เอ็กซ์เพรส ที่กระแทกยอดขายสาขาของเซเว่นอีเลฟเว่นที่อยู่ใกล้เคียง อีกทั้งยังมี มินิ บิ๊กซี ที่ค่อยๆขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งหน้าใหม่ จิฟฟี่ ภายใต้การบริหารของ ปตท.ซึ่งจับมือกับท็อปส์ โดย จิฟฟี่ สาขาแรกนอกปั๊มเตรียมเปิดให้บริการในสิ้นปี

สมรภูมิร้านสะดวกซื้อ ถึงจุดเดือดมาหลายรอบ นับตั้งแต่ เซเว่นอีเลฟเว่นเปิดสาขาในเมืองไทย ก็มีคู่แข่งไม่ว่าจะเป็น am pm ซึ่งเคยเป็นคู่ต่อกรหมายเลข 1 ของเซเว่นอีเลฟเว่น หรือแม้แต่ เซ็นทรัลมินิมาร์ท ก็มิอาจต้านทานความแข็งแกร่งของเซเว่นอีเลฟเว่นได้ จนต้องถอนตัวออกไปจากตลาด ปัจจุบันเหลือคู่แข่งในตลาดคอนวีเนียนต์สโตร์เพียง แฟมิลี่มาร์ท และคู่แข่งหน้าใหม่ๆรายเล็กๆอย่าง วีชอป และเฟรชมาร์ท ซึ่งไม่ได้มีอิทธิพลในตลาดมากนัก เนื่องจากเซเว่นอีเลฟเว่นมีสาขาที่ทิ้งห่างคู่แข่งออกไปมาก โดยคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถขยายสาขาได้มากถึง 5,200 สาขา

ทว่าเซเว่นอีเลฟเว่นก็ถึงคราวสั่นสะเทือนเมื่อถูกคู่แข่งเข้ามาชิงพื้นที่ในชุมชนโดยเฉพาะเทสโก้ โลตัส ที่ย่อขนาดตัวเองลงมาโดยใช้ชื่อว่าโลตัส เอ็กซ์เพรส ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 400 สาขา กระจายไปทั่วทุกชุมชนหลังจากความสำเร็จในการทำโลตัส เอ็กซ์เพรสในปั๊มเอสโซ่ จึงกระจายสาขาออกนอกปั๊มเข้าสู่ชุมชนซึ่งมีเซเว่นอีเลฟเว่นยึดตลาดอยู่ก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากโลตัส เอ็กซ์เพรสมีสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากกว่า หลากหลายกว่า และมีราคาถูกกว่า อีกทั้งยังมีของสดให้ผู้บริโภคได้เลือกตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ยังมีท็อปส์ เดลี่ ที่เป็นมินิซูเปอร์มาร์เกตกระจายเข้าสู่ชุมชน ปัจจุบันมี 17 สาขา โดยเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง 11 สาขา ส่วนอีก 6 สาขาเปิดบริการถึงเที่ยงคืน โดยท็อปส์ตั้งเป้าว่าภายในสิ้นปีนี้จะมีสาขาท็อปส์ เดลี่ 26 สาขา และเพิ่มเป็น 40 สาขาในปีหน้า ส่วนปี 2555 จะมีสาขาที่เป็นท็อปส์ เดลี่ มากถึง 200 สาขา โดยท็อปส์ เดลี่ แต่ละสาขาใช้พื้นที่ประมาณ 200-300 ตารางเมตร ลงทุนเฉลี่ยสาขาละ 5 ล้านบาท ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 3 ปี มีสัดส่วนสินค้าโกรเซอรี่ 80% อาหารสด 20%

ตลอดจนการพัฒนาสาขารูปแบบใหม่ของบิ๊กซีภายใต้ชื่อ มินิ บิ๊กซี ที่วางคอนเซ็ปต์เป็นคอนวีเนียนสโตร์เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ล้วนทำให้มนต์ขลังของความเป็นเซเว่นอีเลฟเว่นเสื่อมถอยไป เนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกของความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้ามากขึ้น ซึ่งแต่เดิมผู้บริโภคจะมาซื้อสินค้าจากเซเว่นในเวลาที่จำเป็นต้องใช้ ซึ่งจะซื้อชิ้นเล็กให้พอใช้ได้ แล้วค่อยหาเวลาไปซื้อสินค้าไซส์ใหญ่ในห้างหรือซูเปอร์มาร์เกตในภายหลัง ทว่าหลังจากบรรดาห้างและซูเปอร์มาร์เกตย่อไซส์เข้าถึงชุมชน ผู้บริโภคก็สามารถหยิบหาสินค้าที่ตัวเองใช้อยู่ได้ทันทีโดยไม่ต้องไปซื้อสินค้าชิ้นเล็กจากเซเว่นอีเลฟเว่นมาใช้ชั่วคราวเหมือนในอดีต

ขณะที่เซเว่นอีเลฟเว่นร่วมกับซัปพลายเออร์ทำกลยุทธ์ FBO (First, Best, Only) ทำให้เซเว่นอีเลฟเว่นมีสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่ง นอกจากนี้ยังมีการต่อยอดความเป็นคอนวีเนียนสโตร์ไม่ว่าจะเป็นการทำร้านห้องที่ 2 คือ Book Smile ซึ่งมีสินค้าประเภทซีดี หนังสือ เครื่องเขียน สินค้าเพื่อความบันเทิงทั้งหลาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เซเว่นอีเลฟเว่นเชื่อว่าจะถูกใจคนหนุ่มสาว ทำให้เข้ามาเดินในร้านได้นานกว่าคู่แข่ง โดยเชื่อว่าหากลูกค้ายังอยู่ในร้านก็มีโอกาสที่จะหยิบหรือซื้อสินค้ามากขึ้น จากนั้นก็มีการต่อยอดไปสู่ร้านค้าห้องที่ 3 กับร้านคัดสรร ที่มีเบเกอรี่และกาแฟบริการให้กับลูกค้า นอกจากนี้เซเว่นอีเลฟเว่นยังมีการพัฒนาร้านเวชสำอางภายใต้ชื่อ X-TA ซึ่งมีสาขาต้นแบบอยู่ที่ถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งในอนาคตเซเว่นจะรวมทุกกลุ่มธุรกิจที่เป็นคอนวีเนียนให้เข้ามาอยู่ภายใต้ร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทั้งหมด

ล่าสุด เซเว่นอีเลฟเว่น มีการเปลี่ยนคอนเซ็ปต์จากร้านสะดวกซื้อไปสู่ร้านอิ่มสะดวก โดยมีการลดสินค้าประเภท Grocery หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปกว่าพันรายการ แล้วหันมาเพิ่มสินค้าประเภทอาหารพร้อมทาน หรืออิ่มสะดวกมากขึ้น เช่น ขนมจีบ ซาลาเปา ไส้กรอก ซึ่งมีเมนูใหม่ๆเพิ่มขึ้น รวมถึงสินค้าในกลุ่มเบเกอรี่ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงถึง 70-80% ตลอดจนอาหารแช่แข็ง และอาหารแช่เย็น อีซี่โก โดยเชื่อว่าจะสามารถดึงดูดทราฟฟิกได้มากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคต้องรับประทานอาหารหลัก 3 มื้อ และมื้อว่างอีก 2 มื้อในแต่ละวัน

'สินค้ากลุ่มอาหารมีมาร์จิ้น 30% เครื่องดื่มมาร์จิ้น 40-50% แต่โกรเซอรี่มีมาร์จิ้นเพียง 11% เพียงแต่ว่าอาหารต้องแบกรับภาระความเสี่ยงที่จะเน่าเสีย แต่หลังจากที่เรามาโฟกัสสินค้ากลุ่มอาหารทำให้เรามีกำไรขั้นต้นเพิ่มเป็น 20% จากเดิมที่มีกำไรขั้นต้นเพียง 10% เท่านั้น' ปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ ซีพี ออลล์ ผู้บริหารร้านเซเว่นอีเลฟเว่น กล่าว

ปัจจุบันเซเว่นอีเลฟเว่นมีสัดส่วนอาหารเทียบกับโกรเซอรี่อยู่ที่ 80:20 เพิ่มจากเดิมที่มีสัดส่วน 70:30 โดยในอีก 3 ปี บริษัทตั้งเป้าว่าสัดส่วนกลุ่มอาหารจะเพิ่มเป็น 85:15 เทียบกับโกรเซอรี่

ย้อนกลับไป 10 กว่าปีที่แล้ว เซเว่นอีเลฟเว่น ต้องเผชิญกับคู่แข่งที่เป็น Gasoline Store หรือเรียกสั้นๆว่า G Store ซึ่งเป็นร้านสะดวกซื้อตามปั๊มน้ำมัน ซึ่งแต่ละค่ายต่างหาจุดดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการในปั๊มน้ำมันของตัวเอง เช่น ร้านไทเกอร์มาร์ท ของเอสโซ่ ร้านซีเล็ค ของเชลล์ และสตาร์มาร์ทของคาลเท็กซ์ ส่วน ปตท.ในขณะนั้นใช้บริการของ am pm ซึ่งธุรกิจ G Store สร้างกระแสการตลาดอย่างมากในยุคนั้นจนเครือ ซี.พี.ต้องผุดปั๊มน้ำมันของตัวเองภายใต้ชื่อ ปิโตรเอเชีย เพื่อให้เซเว่นอีเลฟเว่นมีสาขา G Store ที่จะมารองรับไลฟ์สไตล์ของคนเดินทาง ทว่าภายหลังเซเว่นอีเลฟเว่นสามารถขยายสาขาเข้าไปสู่ปั๊ม ปตท.ได้จึงเลิกกิจการปิโตรเอเชียไป อย่างไรก็ดี แม้จะมีปั๊มเจ็ท ที่มีร้านจิฟฟี่ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากจากนักเดินทาง ทว่าก็ไม่สามารถยืนหยัดในตลาดเมืองไทยได้เนื่องจากมีต้นทุนสูงในการให้บริการลูกค้า ดังนั้นจึงขายกิจการให้ ปตท.เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ซึ่ง ปตท.ได้รีแบรนด์ปั๊มเจ็ทเป็น ปตท.ไปหมดแล้ว พร้อมกันนี้ยังได้ซื้อแบรนด์ ร้านจิฟฟี่ เข้ามาบริหารเอง ทำให้ ปตท.มีร้านสะดวกซื้อ 2 แบรนด์คือ เซเว่นอีเลฟเว่น และจิฟฟี่

การบริหารงานร้านจิฟฟี่ภายใต้การกุมบังเหียนของ ปตท. ได้มีการร่วมมือกับ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ผู้บริหารท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้จัดซื้อและกระจายสินค้าให้กับร้านจิฟฟี่ตั้งแต่มีนาคม 2551 ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานและทำให้จิฟฟี่มียอดขายต่อสาขาต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 2.01 ล้านบาท เพิ่มเป็น 2.269 ล้านบาท ทั้งนี้นอกจากความร่วมมือกับท็อปส์แล้วยังมีความร่วมมือกับ เซ็นทรัล มาร์เก็ตติ้ง กรุ๊ป ในการนำสินค้าประเภทเสื้อผ้าเข้าไปจำหน่ายในร้านจิฟฟี่ โดยเฉพาะสาขาที่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ปตท.ยังมีแผนที่จะพัฒนาปั๊มและร้านจิฟฟี่สาขาใหญ่ให้เป็นต้นแบบของสาขาแพลทินัมที่ตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้า โดยปีนี้จะมีการปรับปรุงสาขาแก่งคอย พระราม 2 และวังน้อย ส่วนปีหน้าจะปรับอีก 7 แห่ง ปัจจุบัน ปตท.มีร้านจิฟฟี่ 146 สาขา และมีร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในปั๊ม 700 สาขา จากจำนวนปั๊มที่มีทั้งหมด 1,200 ปั๊มทั่วประเทศ

ในขณะที่เซเว่นอีเลฟเว่นเองก็พยายามที่จะรักษาตำแหน่งของตัวเองในปั๊ม ปตท. รวมไปถึงความหวังที่จะเข้าไปแทนที่ปั๊มจิฟฟี่ ซึ่งดูจะเป็นเรื่องยาก เพราะ ปตท.ใช้เงินก้อนโตกว่า 100 ล้านบาท ในการซื้อแบรนด์ดังกล่าวมา โดย ปตท.ยังได้จดทะเบียนแบรนด์จิฟฟี่ในประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ล่าสุดก็มีการลงนามร่วมกับ เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ซึ่งเป็นผู้บริหารท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในการใช้บริการของท็อปส์ด้านการจัดซื้อและการกระจายสินค้าให้กับร้านจิฟฟี่ นอกจากนี้ ปตท.บริหารค้าปลีก ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท.ยังมีแผนที่จะพัฒนาร้านจิฟฟี่ออกมาสู่นอกปั๊มน้ำมัน โดยสาขาแรกตั้งอยู่ที่อาคาร Energy Complex ซึ่งเป็นอาคารสำนักงานแห่งใหม่ติดกับสำนักงานใหญ่ของ ปตท.บนถนนวิภาวดี ซึ่งจะเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปีนี้

การขยายสาขาจิฟฟี่นอกปั๊ม ปตท.น่าจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนเซเว่นอีเลฟเว่นให้ต้องสปีดหนีคู่แข่ง เพราะหากจิฟฟี่ขยายสาขาเข้าถึงชุมชน เซเว่นอีเลฟเว่นจะต้องเผชิญศึกหนัก ถึงแม้วันนี้เซเว่นอีเลฟเว่นจะปรับตัวไปสู่การเป็น ฟู้ด คอนวีเนียน ทว่าการร่วมมือระหว่างจิฟฟี่กับท็อปส์ ก็คือจุดมุ่งหมายเดียวกับเซเว่นอีเลฟเว่น คือการมุ่งไปสู่ธุรกิจฟู้ด คอนวีเนียน โดยอาศัยความแข็งแกร่งที่หน้าร้านของจิฟฟี่ บวกกับความแข็งแกร่งด้านการจัดซื้อและกระจายสินค้าของท็อปส์ที่มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งอาหารแห้ง อาหารสด สินค้าอุปโภคต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้จิฟฟี่กลายเป็นคู่แข่งโดยตรงที่มีความแข็งแกร่งในการชนกับเซเว่นอีเลฟเว่น

ขณะที่ท็อปส์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับจิฟฟี่มองว่าการขยายสาขาออกมานอกปั๊มของจิฟฟี่จะไม่ส่งผลกระทบต่อท็อปส์ เดลี่ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของคนเข้าร้านสะดวกซื้อและเข้าซูเปอร์มาร์เกต แตกต่างกัน โดยสินค้ากว่า 2,000 รายการที่ท็อปส์จัดหาให้จิฟฟี่ จะมี 600 รายการที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อจำหน่ายเฉพาะที่ร้านจิฟฟี่เท่านั้น ดังนั้นจึงอาจจะมีสินค้าบางส่วนที่ทับซ้อนกันบ้างซึ่งเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา

'ปัจจุบันธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ต่างมุ่งไปสู่เฟรชฟู้ด ซึ่งสามารถสร้างมาร์จิ้นสูง 30-50% โดยจิฟฟี่มีสัดส่วนสินค้าประเภทเฟรชฟู้ดอยู่ที่ 30% ซึ่งทางเรามีแผนที่จะพัฒนาตลาดในกลุ่มเฟรชฟู้ดให้มากขึ้น' ดร.กฤษณะพล โกมลบุณย์ กรรมการผู้จัดการ ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก กล่าว

อย่างไรก็ดี เซเว่นอีเลฟเว่นเองก็พยายามที่จะทิ้งห่างเพื่อมิให้คู่แข่งไล่ทันด้วยการเร่งขยายแฟรนไชส์ให้มากขึ้น เพื่อปล่อยภารกิจด้านงานปฏิบัติการหรืองานหน้าร้านให้เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ส่วนเซเว่นอีเลฟเว่นก็จะมีรายได้จากการวางระบบและบริหารงานหลังร้าน เช่น งานจัดซื้อและกระจายสินค้า ซึ่งเซเว่นอีเลฟเว่นเชื่อว่าจะช่วยให้ธุรกิจขยายสาขาได้เร็วมากขึ้นเพราะไม่ต้องแบกภาระการลงทุนทั้งหมดไว้กับตัวเอง

การให้บริการด้านการจัดซื้อและกระจายสินค้าจะกลายเป็นอีกรายได้หนึ่งของยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกเพราะนอกจากเซเว่นอีเลฟเว่นแล้วก็ยังมีท็อปส์ที่มีรายได้จากการรับงานบริหารการจัดซื้อและกระจายสินค้า ซึ่งนอกจาก จิฟฟี่ ท็อปส์ก็ยังให้บริการดังกล่าวแก่ร้านไทเกอร์มาร์ทในปั๊มเอสโซ่อีกเกือบ 100 สาขา โดยท็อปส์มีรายได้จากการรับบริหารงานหลังร้านมาไม่น้อยกว่า 6 ปีแล้ว นอกจากนี้ท็อปส์ยังเคยให้บริการดังกล่าวแก่ร้านจิฟฟี่ในยุคที่ปั๊มเจ็ทยังอยู่ภายใต้การบริหารของโคโนโค   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us