Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
ธนบุรี โรงพยาบาลเพื่อ "คนไทย"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

The Leading Specialist Healthcare Hub
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ "World Class Service"
Specialized at Bangkok Hospital
"ปิยะเวท" โรงพยาบาลในแนวคิดใหม่
โรงพยาบาลเด็ก สมิติเวช ศรีนครินทร์
วัฏจักรหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลไทย
Exclusive

   
www resources

โรงพยาบาลธนบุรี โฮมเพจ

   
search resources

โรงพยาบาลธนบุรี
บุญ วนาสิน
เฉลิมกุล อภิบุณโยภาส
Hospital




แม้มั่นใจในความเป็น "หนึ่งเดียว" ย่านฝั่งธนบุรี แต่ในปีนี้โรงพยาบาลธนบุรีต้องทำเกมรุกทางการตลาดมากขึ้นเช่นกัน โดยอาศัยจุดแข็งของความเป็นโรงพยาบาลของชุมชนและมีเครือข่ายมากที่สุด

ในปี 2545 โรงพยาบาลธนบุรีได้จัดงานใหญ่ครั้งแรกฉลองการครบรอบ 25 ปีขึ้น ความหมายของงานในครั้งนั้นมีมากกว่างานสังสรรค์ธรรมดา แต่เป็นเสมือน การเปิดตัวครั้งใหญ่ต่อสาธารณชน หลังจากเงียบมานาน

ตลอดระยะเวลา 27 ปีในการก่อตั้งโรงพยาบาลธนบุรี อาจจะโฟกัสตัวเองไว้แค่โรงพยาบาลเล็กๆ ย่านฝั่งธนฯ ที่ดำเนินธุรกิจแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยมีกลุ่มลูกค้าคนไทยรายได้ปานกลางถึงสูงในย่านนั้นเป็นเป้าหมายหลัก

วันเวลาที่ผ่านไปกลายเป็นประสบการณ์ที่ทำให้ธุรกิจของโรงพยาบาลแห่งนี้แข็งแรงขึ้น ข้อดีที่สามารถดึงระดับ "อาจารย์หมอ" จากโรงพยาบาลศิริราช เข้ามาร่วมทีมได้สร้างชื่อเสียงเพิ่มขึ้น

ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 อาจจะเป็นช่วง "ขาลง" ของโรงพยาบาล หลายแห่ง กลับเป็นช่วง "ขาขึ้น" ของโรงพยาบาลธนบุรี การให้ความสำคัญเรื่องการตลาดเริ่มขึ้นในยุคนั้นพร้อมกับการวางแผนขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

นายแพทย์บุญ วนาสิน และคณะผู้บริหาร ได้ดึงตัวเฉลิมกุล อภิบุณโยภาส ให้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลธนบุรีตั้งแต่ปี 2544 อีกตำแหน่งหนึ่ง หลังจากที่เขาได้แสดงฝีมือบริหารโรงพยาบาลธนบุรี 2 จนประสบความสำเร็จมาแล้ว

ก่อนหน้านี้หลังจากเฉลิมกุลเข้ามาบริหาร การวางแผนตอกย้ำแบรนด์ได้ เกิดขึ้นอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง

เริ่มจากการกระชับความสัมพันธ์กับชุมชนให้แน่นแฟ้นขึ้น ด้วยการออกหน่วยให้ความรู้ในเรื่องการแพทย์ทั่วไปร่วมกับศูนย์การค้าต่างๆ ในย่านธนบุรี บริการเจาะเลือดหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี บริการตรวจวัดไอคิวเด็ก รับบริจาคเลือด จัดสัมมนาเรื่องไขมันในเส้นเลือด สัมมนาเรื่องโรคอ้วน โรคปวดประจำเดือน จัดสัมมนาเรื่องการผ่าตัดด้วยวิธีทันสมัยทางนรีเวช การจัดสัมมนาเรื่องโรคติดต่อ ฯลฯ รวมทั้งออกหน่วยตรวจสุขภาพให้กับชุมชน ในพื้นที่อำเภอบางกอกน้อย ทุกเรื่องเป็นบริการฟรีทั้งสิ้น

จุดแข็งอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลธนบุรีก็คือ เป็นโรงพยาบาลที่มีการขยายเครือข่ายในต่างจังหวัดต่อเนื่องมาตลอดในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีทั้งหมด 22 แห่ง กระจายไปทั่วทุกภาค ยกเว้นภาค ตะวันตก

และหลังจากต่างคนต่างทำการตลาดมานาน แนวคิดในการทำโครงการ "เครือข่ายโรงพยาบาลธนบุรี" ก็เลยเกิดขึ้นมา โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลทุกแห่งเข้าร่วมเป็นกรรมการ เพื่อกำหนดยุทธวิธีในการวางแผนการตลาดร่วมกัน

ออฟฟิศของโรงพยาบาลในเครืออยู่ที่โรงพยาบาลภัทรธนบุรี มีทีมบริหารจัดการมาดูเรื่องในเครือโดยเฉพาะทั้งในเรื่องการตลาด การจัดซื้อยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ ด้าน คุณภาพ ไอที และในเรื่องลดต้นทุน

การออกบัตรสมาชิกบัตรเดียวใช้ได้ทั่วไทย เมื่อปลายปีที่แล้ว คือผลงานจากทีมงานนี้ในราคาค่าสมัครเพียง 900 บาทต่อปี โดยจะได้รับสิทธิพิเศษเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะสมัครที่โรงพยาบาลไหน ก็คือในเรื่องค่าห้องค่ายา การได้สิทธิเรียกรถพยาบาล ในการสมัครครั้งแรกมีโปรโมชั่นพิเศษ ตรวจสุขภาพฟรีในราคา 1,300 บาทอีกด้วย

แผนงานอีกอย่างคือ การเพิ่มรถพยาบาลของบริษัทในเครือทั้งหมดเป็น 100 คัน ทุกคัน จะเขียนไว้ชัดเจนว่า 1 ในโรงพยาบาลธนบุรี เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นถึงศักยภาพของโรงพยาบาล สร้างความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่า โรงพยาบาลอีกหลายแห่งในประเทศเป็นเครือข่าย เดียวกัน

และตอกย้ำภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลในเครือทุกแห่ง ด้วยการวางรูปแบบวิธีพูด ในการรับโทรศัพท์ การออกแบบยูนิฟอร์มของพนักงาน แม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ในห้องพยาบาล ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน ม่าน เป็นอย่างเดียวเหมือนกันหมด

ในขณะเดียวกันในโรงพยาบาลแม่ที่ธนบุรีมีการปรับปรุงในเรื่องสถานที่ การใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น เรื่องอุปกรณ์การแพทย์ และการสร้างที่จอดรถใหม่กำลังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

แผนกโอพีดีที่เปรียบเหมือนห้องรับแขก ถูกขยายและดีไซน์ใหม่ให้โล่งโปร่งและสวยงามขึ้น มีการสั่งซื้ออุปกรณ์ เครื่องตรวจเส้นเลือดด้วยระบบดิจิตอล สั่งซื้ออุปกรณ์อัลตราซาวน์ที่ดูได้ละเอียดและชัดเจนขึ้น และศูนย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะระบบก็จะเปิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศูนย์โรคหัวใจได้เปิดเป็นทางการไปแล้ว หลังจากนั้นศูนย์อื่นๆ ก็จะเปิดเพิ่มขึ้นตามมา เช่น ศูนย์โรคทางเดินอาหาร ศูนย์ตรวจโรคหอบหืด และมีคลินิกเด็กโดยเฉพาะ และในขณะเดียวกันเพื่อความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการให้บริการ ก็จะมีการปรับปรุงในเรื่องไอทีเรื่องซอฟต์แวร์ใหม่หมด

สิ่งแตกต่างอย่างหนึ่งของโรงพยาบาลธนบุรีที่ทำมานานกว่า 5 ปี คือในเรื่องของ คลินิก โฮมเฮลท์แคร์ ซึ่งเป็นคลินิกที่ให้บริการลูกค้าถึงบ้าน มีทีมแพทย์พยาบาลคอยให้คำปรึกษา โดยลูกค้าไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ช่วยในเรื่องประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย โดยต่อไปมีแผนร่วมมือกับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่อยู่ในฝั่งกรุงเทพฯ อีกด้วย

ในปี พ.ศ.2547 โรงพยาบาลธนบุรีก็พร้อมที่จะก้าวไปสู่รูปลักษณ์ใหม่ ทั้งด้านมาตรฐานของคุณภาพและการบริการอย่างเต็มตัว เพื่อคนไทย

ข้ อ มู ล จ ำ เ พ า ะ
เปิดบริการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2519 ในซอยอิสรภาพ ข้างตลาดพรานนก ฝั่งธนบุรี ก่อตั้งและถือหุ้นใหญ่โดยนายแพทย์บุญ วนาสิน ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 12 ไร่ จำนวนเตียง 453 เตียง สามารถบริการผู้ป่วยนอกวันละประมาณ 2,000 คน มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 1,474 คน และมีโรงพยาบาลเครือข่ายทั่วประเทศ 22 แห่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us