Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
Japan Medical             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

Specialized at Bangkok Hospital
พิเศษสุดกับบัตร Privilege

   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลกรุงเทพ

   
search resources

โรงพยาบาลกรุงเทพ
Hospital




คำทักทายเป็นภาษาญี่ปุ่นดังขึ้นอย่างนิ่มนวล จากพนักงานต้อนรับในคลินิกญี่ปุ่น ก่อนที่จะเดินนำคนไข้ไปลงทะเบียนในห้องนั้น

ใครที่ผ่านไปมาบนชั้น 2 ของโรงพยาบาลกรุงเทพอาจจะแปลกใจ เพราะเมื่อมองเข้าไปในห้องนั้นจะเห็นบรรยากาศที่แตกต่างออกไป เพราะนอกจากเจ้าหน้าที่แล้ว คนไข้ที่นั่งรออยู่ทั้งหญิงชายและเด็ก ล้วนแล้วแต่เป็นคนญี่ปุ่นทั้งสิ้น

เมื่อกวาดสายตาไปรอบๆ ห้อง จะพบว่าในที่วางหนังสือพิมพ์ก็จะเป็นหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ทีวีที่เปิดทิ้งค้างไว้ก็คือช่อง NHK ของญี่ปุ่น ข้อความตามบอร์ดติดผนัง แผ่นพับ ใบปลิว ทุกอย่างล้วนเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งสิ้น

เป็นที่รู้กันว่า คลินิกญี่ปุ่นในโรงพยาบาลกรงเทพ เป็นสถานที่รักษาคนไข้ที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นที่รู้จักกันอย่างดีของคนญี่ปุ่นในประเทศไทย

เมื่อ 20 กว่าปีก่อน คลินิกญี่ปุ่นในโรงพยาบาลแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะคณะแพทย์กลุ่มหนึ่ง ที่ไปเรียนแพทย์ใน ประเทศญี่ปุ่น ได้รวมตัวกันมาปรึกษากับฝ่ายบริหารของโรงพยาบาล เพื่อขอก่อตั้งเป็นคลินิกในโรงพยาบาลกรุงเทพขึ้น เพราะในเวลานั้นชาวญี่ปุ่นเริ่มทยอยเข้ามาลงทุนในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก และเมื่อมีปัญหาในการรักษาสุขภาพก็ไม่สามารถสื่อสารกันได้

จากแผนกเล็กๆ ในโรงพยาบาล กลายเป็นคลินิกเฉพาะในปัจจุบัน ในคลินิกแห่งนี้จะแบ่งการรักษาออกเป็น 3 ส่วนคือ อายุรกรรม ศัลยกรรม และทันตกรรม โดยจะมีห้องตรวจ 3 ห้องมีนายแพทย์ที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้หมุนเวียนเข้ามาตรวจ และมีพยาบาลที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้ อีก 5 ท่านประจำคลินิก

เพื่อความสะดวกเพิ่มขึ้นทางโรงพยาบาลได้จัดชัตเติล บัส 2 คัน คอยรับคนไข้ โดยจุดแรกจอดที่สถานีรถไฟฟ้า ทองหล่อ จุดที่ 2 จอดที่ซูเปอร์มาร์เก็ตฟูจิ โดยเน้นบริการรับกลุ่มแม่บ้านและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาด้วยรถไฟฟ้า

ยังมีการจัดสัมมนาหรือบรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องใกล้ตัว เช่นเรื่องโรคกระเพาะของนักธุรกิจ หรือการดูแลครรภ์ให้กับกลุ่มแม่บ้าน

นอกจากนั้นยังมีเว็บไซต์เป็นภาษาญี่ปุ่น คอยบริการให้ความรู้และข้อมูลทั่วไปที่คนญี่ปุ่นในประเทศไทยควรรู้ และยังมี JMS Call Center ที่มีพนักงานพูดภาษาญี่ปุ่นได้คอยรับสายตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยบริการตอบปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือการจัดรถพยาบาลไปบริการกรณีที่มีความเร่งด่วน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us