Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
Specialized at Bangkok Hospital             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

The Leading Specialist Healthcare Hub
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ "World Class Service"
พิเศษสุดกับบัตร Privilege
Japan Medical
ธนบุรี โรงพยาบาลเพื่อ "คนไทย"
"ปิยะเวท" โรงพยาบาลในแนวคิดใหม่
โรงพยาบาลเด็ก สมิติเวช ศรีนครินทร์
วัฏจักรหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลไทย
Exclusive

   
www resources

โฮมเพจ โรงพยาบาลกรุงเทพ

   
search resources

กรุงเทพดุสิตเวชการ, บมจ.
โรงพยาบาลกรุงเทพ
ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ
อัจจิมา เศรษฐบุตร
Hospital




ความเชี่ยวชาญในเรื่อง "ศูนย์โรคหัวใจ" และ "ศูนย์สมอง" เป็น "จุดขาย" ที่ชัดเจนที่สุดของโรงพยาบาลกรุงเทพ และเป็น "จุดแข็ง" ที่ถูกนำมาเสริมให้โดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยวิธีการทางด้าน "การตลาด" พร้อมๆ กับการปูพรมสร้าง Brand Management ด้วยการขยายเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์โรคหัวใจที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อปี 2528 นั้น เป็นวิธีคิดในการวาง Positioning ของโรงพยาบาลกรุงเทพ ให้แตกต่างชัดเจนไปจากโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ที่กำลังทยอยเกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้น

จุดแข็งที่มีอยู่ถูกตอกย้ำให้โดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยวิธีการทำการตลาด ความสำเร็จที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือ ศูนย์โรคหัวใจแห่งนี้จะเพิ่มศักยภาพกลายเป็น "โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ" ซึ่งขณะนี้กำลังสร้างตึกใหม่ 6 ชั้น มีเตียงสำหรับผู้ป่วย 75 เตียงในบริเวณเดียวกับโรงพยาบาลกรุงเทพเดิม และคาดว่าจะเปิดบริการได้ประมาณกลางปี พ.ศ.2547 โดยมีแพทย์โรคหัวใจและแพทย์เฉพาะทาง ครบทุกสาขา และผู้บริหารมีนโยบายในการพัฒนาให้เป็น "ศูนย์หัวใจที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ภายในปี พ.ศ.2550

การโฟกัสไปยังจุดแข็งทางด้านศูนย์แพทย์เฉพาะทาง ซึ่งโรงพยาบาลเชี่ยวชาญแล้ว ใช้วิธีการด้านการตลาดประชาสัมพันธ์ จึงเป็นแนวทางในการสร้าง อิมเมจแบรนด์มาโดยตลอด จนปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ศูนย์

การทำการตลาดในธุรกิจเกี่ยวกับโรงพยาบาลเมื่อ 17 ปีก่อนนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ผู้บริหารส่วนใหญ่ที่เป็นแพทย์อาจจะมองไม่เห็นความจำเป็นและคิดว่า การโฟกัสไปเฉพาะกลุ่มโรคหัวใจนั้น ทำให้กลุ่มเป้าหมายของโรงพยาบาลยิ่งแคบลง แต่สำหรับคนที่จะเข้ามาทำการตลาด กลับคิดว่าสินค้าที่มีจุดแข็งชัดเจน จะได้รับการยอมรับง่ายขึ้น

ในเวลานั้น รศ.อัจจิมา เศรษฐบุตร ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้รับผิดชอบหลักทางด้านการตลาดคนปัจจุบันเป็นเพียงอาจารย์คนหนึ่งในคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ถูกดึงตัวเข้ามาวางแผนในเรื่องการตลาดประชาสัมพันธ์

หมอโรคหัวใจจากโรงพยาบาลกรุงเทพ มีหน้าที่เพิ่มขึ้นอย่างหนึ่ง คือการเดินสายไปพูดตามหอการค้าจังหวัดต่างๆ ไม่ใช่การพูดในการประชุม หรือสัมมนา แต่เป็นการอธิบายและตอบคำถามในเรื่องทั่วไปที่คนอยากรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ด้านการแพทย์ หรือภาษาที่ฟังยาก ทำให้คนฟังรู้สึกว่าโรคหัวใจไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่มีวิธีป้องกันได้ ชื่อของโรงพยาบาลกรุงเทพเลยเป็นที่รู้จักมากขึ้นนับแต่นั้นมา

ผู้บริหารในยุคนั้นได้ปฏิวัติยกเลิกโลโกเก่า ซึ่งเป็นรูปงูพันคบเพลิง เปลี่ยนใหม่เป็นรูปตัวบีสีแดง น้ำเงิน มีเครื่องหมายกาชาดสีขาวอยู่ข้างใน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการตลาดที่ต้องการสร้างมิติใหม่ให้เกิดขึ้น

เมื่อประสบความสำเร็จจากศูนย์โรคหัวใจ ในปี 2535 ศูนย์สมองกรุงเทพได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2539 ศูนย์สมองกรุงเทพก็ได้เปิดให้บริการ "ศูนย์ศัลยกรรมแกมม่าสมองกรุงเทพ" เป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคสมอง ที่ไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยของเครื่องมือ Gamma Knife

เครื่องมือตัวนี้ไม่ต้องวางยาสลบ ผู้ป่วย ไม่เสียเลือด ไม่มีแผลเป็น และสามารถใช้ชีวิตแบบปกติหลังการรักษาภายใน 1-2 วัน เครื่อง Gamma Knife ตัวเดียวนี้ราคาประมาณ 200 ล้านบาท และปัจจุบันยังมีเครื่องเดียวในประเทศไทย

พร้อมๆ กับการสร้างศูนย์เฉพาะทาง สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในเรื่องการแพทย์ ตลอดระยะเวลา 9 ปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลกรุงเทพได้สร้างแบรนด์ให้แข็งแรงยิ่งขึ้นด้วยการขยายเครือข่ายออกไปถึง 12 แห่ง โดยยึดเอาภาคตะวันออกและภาคใต้ ในเมืองท่องเที่ยวเป็นทำเลสำคัญ

สาขาใหม่ถูกตอกย้ำด้วยคำว่ากรุงเทพนำหน้า สาขาที่เพิ่งเปิดไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา คือ รพ.กรุงเทพระยอง และขณะนี้กำลังสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่เกาะสมุย รวมทั้งกำลังศึกษารายละเอียดที่จะเข้าไปร่วมทุนกับโรงพยาบาลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ อีก 1 โรง

ในต่างประเทศเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ผู้บริหารเริ่มมองเห็นความสำคัญ เริ่มจากประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย โดยมี Bangkok Hospital Office ที่พนมเปญ ลอนดอน โฮจิมินห์ และมัลดีฟ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นคอยให้รายละเอียดในข้อมูลต่างๆ รวมทั้งมีคลินิกที่เมืองเสียมเรียบ เพื่อให้การรักษาพยาบาลก่อนส่งมายังเมืองไทย

ส่วนชาวญี่ปุ่นในเมืองไทยนั้น ทางโรงพยาบาลกรุงเทพได้ทำการตลาดชัดเจนมานาน มาก โดยมี Japan Medical Service หรือคลินิกที่รักษาผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นโดยเฉพาะบนชั้น 2 ของโรงพยาบาล (อ่านรายละเอียดในล้อมกรอบ) และชื่อเสียงในเรื่องนี้ ทำให้นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ญี่ปุ่น ตระกูล "Sacred Treasure" ลำดับชั้นที่ 3 ซึ่งหมายถึงบุคคลสัญชาติไทยผู้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย กับประเทศญี่ปุ่น

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตยังใช้จุดแข็งความเป็นเครือข่ายสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ต่อยอดธุรกิจครบวงจรเดินเครื่องโครงการ Tourist Health Hub of Asia เพื่อผลักดันให้ชาวต่างชาติหันมาใช้บริการด้านการแพทย์ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น ดำเนินงานโดยบริษัทภูเก็ต เฮลท์ แอนด์ ทราเวล จำกัด

บริษัทนี้จะจัดทัวร์ด้านการแพทย์และสุขภาพ โดยมีตลาด เป้าหมายมุ่งไปที่นักท่องเที่ยวระดับสูงที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือ มีโรคประจำตัว ต้องตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ รวมทั้งเป้าหมาย ของการเข้าไปตรวจและฟื้นฟูสุขภาพสำหรับนักธุรกิจ นอกจากจะจัดโปรแกรมสำหรับการท่องเที่ยวไว้ให้แล้ว ยังได้มีการนัดหมาย กับโรงพยาบาล เพื่อดูแลเรื่องสุขภาพในเวลาเดียวกันด้วย

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทางโรงพยาบาลยังมีแผนส่งเสริม การขายด้วยโครงการบัตรชีววัฒนะ ซึ่งเป็นแพ็กเกจพิเศษสำหรับ ใช้บริการรักษาพยาบาล แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ บัตรแพลตทินัมชีววัฒนะ ดูแลตลอด 3 ปี เสียค่าสมัครเพียง 9,000 บาท บัตรทองชีววัฒนะ ราคาค่าสมัคร 4,500 บาทต่อปี และบัตรเงินชีววัฒนะ ในราคาค่าสมัครเพียง 1,500 บาทต่อปี และล่าสุดทางโรงพยาบาลกรุงเทพได้ออกบัตรชีววัฒนะจูเนียร์ ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กเล็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 15 ปีเพิ่มขึ้นอีกด้วย

สิทธิพิเศษต่างๆ ที่ลูกค้าจะได้รับจากการสมัครสมาชิกบัตรนี้เป็นแรงจูงใจสำคัญที่ทำให้ยอดสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

บัตรสมาชิกอีกประเภทหนึ่งที่ทำ การตลาดอย่างเงียบๆ มาตลอดระยะเวลา 2 ปีคือ บัตร Privilege ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มผู้มีฐานะในสังคม เจ้าหน้าที่จะติดต่อโดยตรง ค่าสมาชิก 1.2 ล้านต่อปี โดยได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพตลอดทั้งปี หากป่วยไข้ไม่สบายก็จะเสียเงินเพียงแค่ 100 บาทเท่านั้น (รายละเอียดในล้อมกรอบ)

ดูเหมือนว่าเกมรุกด้านการตลาดของโรงพยาบาลกรุงเทพ กำลังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในเรื่องของการดีไซน์สถานที่ของตึกใหม่ให้ดูโอ่โถง หรูหรา มีไม้ดอกไม้ประดับสร้างความสดชื่น การจัดรายการทีวีเพื่อเปิดตลาดกับลูกค้าทางบ้าน หรือการจัดสัมมนาในโปรแกรมต่างๆ หรือแม้แต่การให้ความสำคัญในเรื่องการดีไซน์แผ่นพับเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าหยิบอ่าน ก็ละเลยไม่ได้อีกแล้วเช่นกัน


ข้ อ มู ล จ ำ เ พ า ะ
โรงพยาบาลกรุงเทพดำเนินการโดยบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2515 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2534 เป็นโรงพยาบาลเอกชนขนาด 550 เตียง สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้ถึงวันละ 2,500 คน

ผู้ถือหุ้นใหญ่คือนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด นายสาธิต และนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร

ปัจจุบันมีสาขาทั้งหมดในต่างจังหวัด 12 สาขา รายได้รวมเมื่อปี 2545 เท่ากับ 2,578 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 3.79 บาท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us