Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
ชัย โสภณพนิช             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ "World Class Service"
จิตวิทยาการตลาดใน "หมู่บ้านเด็ก"
Bumrungrad Hospital International

   
search resources

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ชัย โสภณพนิช
ชิน โสภณพนิช




จากธุรกิจการเงิน เปรียบเสมือนการเป็นรากแก้วของตระกูลโสภณพนิช ที่หยั่งรากลึกมานาน การตัดสินใจขยายไลน์มาทำธุรกิจโรงพยาบาลเมื่อ 23 ปีที่แล้ว มีสาเหตุจากอะไร

ชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ประธานกรรมการและผู้อำนวยการบริหารของบริษัทกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงความเป็นมาของโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า

เมื่อปี 2518 ก่อนการเปิดโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ในปี 2523 มีนักธุรกิจและนายแพทย์กลุ่มหนึ่งมาพบชิน โสภณพนิช เพื่อปรึกษาเรื่องการทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในเมืองไทยที่มีเตียงไม่เพียงพอรองรับคนไข้ ซึ่งชินก็เห็นด้วยและยินดีเข้าร่วมทุน โดยมอบหมายให้ชัย บุตรคนที่ 5 ซึ่งรับผิดชอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันภัย อยู่แล้วมาเป็นผู้รับผิดชอบ และเข้าร่วมเป็นกรรมการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในช่วงเวลานั้นโรงพยาบาลเอกชนดังๆ ที่เปิดบริการอยู่ก่อนแล้วคือโรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลพร้อมมิตรโรงพยาบาลเปาโล และยังมีโรงพยาบาลเอกชนที่เกิดจากการบริจาคจากพวกที่ศรัทธาในเรื่องศาสนา เช่น โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์ โรงพยาบาลมิชชั่น

สมัยก่อนเมื่อเกิดเจ็บป่วย คนในตระกูลโสภณพนิช จะเข้าไปบริการรักษาในโรงพยาบาลพร้อมมิตร แล้วเปลี่ยนมาเป็นโรงพยาบาลกรุงเทพในเวลาต่อมา

เริ่มแรกทีเดียว ชินเองก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะต้องเป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน จึงได้หาซื้ออพาร์ตเมนต์ หรือโรงแรมมาปรับปรุง เพื่อจะได้เร็วขึ้น แต่เมื่อหาซื้อไม่ได้ก็เลยตัดสินใจซื้อที่ดินเมื่อปี 2520 และแปลงแรกที่ได้คือแปลงที่กำลังก่อสร้างเป็นที่จอดรถ 3 ไร่ และเปิดดำเนินการในปี 2523

"กลุ่มของเรา โสภณพนิช และบริษัทในเครือเริ่มต้นถือหุ้นไว้ 25 เปอร์เซ็นต์ เราตั้งงบไว้ประมาณ 80 เตียง และงบประมาณการก่อสร้างรวมที่ดินด้วย 80 ล้านบาท ไม่ได้ตั้งใจเลยว่าจะทำเป็นโรงพยาบาลใหญ่แบบอินเตอร์ ต่อมาหมอเขาก็ติงว่า ถ้าเล็กไปไม่คุ้มกับค่าเครื่องมือที่สั่งเข้ามา เลยขยายเพิ่มขึ้นเป็น 150 เตียงก็คิดว่า 120 ล้านคงพอ ปรากฏว่าพอสร้างเสร็จงบก็บานปลายเป็น 180 ล้าน และมีการเพิ่มทุนจาก 40 ล้านเป็น 100 ล้าน เราถือหุ้นเพิ่มเป็น 35 เปอร์เซ็นต์"

เมื่อแนวโน้มของธุรกิจนี้ไปได้ดี การกว้านซื้อที่ดินแปลงต่อมาเลยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันโรงพยาบาลแห่งนี้มีที่ดินรวมอยู่ประมาณ 12 ไร่ แปลงแรกที่ซื้อตารางวาละ 7,500 บาท เมื่อปี 2520 ล่าสุดซื้อมาในตารางวาละ 1.2 แสนบาท ในปี 2536 โดยไปเช่าที่ดินอีกประมาณ 21 ไร่ สร้างเป็นอพาร์ตเมนต์ให้นางพยาบาลเช่า

ที่ดินแปลงหนึ่งที่ผู้บริหารต้องการได้อย่างมากคือ ที่ดินของสถานทูตปากีสถาน ปัจจุบันเสนอขายในราคาตารางวาละ 2 แสนบาท เลยต้องชะลอไว้ก่อน

จากโรงพยาบาลขนาดกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ช่ำชองทางด้านการทำธุรกิจ ทำให้วันนี้บำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลระดับแนวหน้าในเมืองไทย และยังมีเป้าหมายสำคัญของการก้าวไปเป็นโรงพยาบาลอันดับต้นๆ ในเอเชีย

ดังนั้น วิธีการต่างๆ ในการทำตลาดของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องทวีความเข้มข้นตลอดเวลา ภายใต้ความดูแลของชัย และทีมงานบริหารมืออาชีพ ทั้งฝ่ายตลาดและการแพทย์

การเป็นผู้รับผิดชอบธุรกิจเกี่ยวกับความเป็นความตาย และความยากลำบากของคน ทำให้ชัย โสภณพนิช เป็นคนหนึ่งที่สนใจศึกษาในเรื่องของชีวิต ศาสนา และธรรมะ

ในขณะเดียวกันยังให้ความสนใจในเรื่องงานศิลปะ เช่น การสะสมของเก่า สะสมภาพเขียน หากย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา เขาคนนี้คือผู้ที่ซื้อรูปของถวัลย์ ดัชนีมากกว่าใคร ก่อนที่มายอมแพ้ให้กับเจ้าบุญทุ่ม อย่างบุญชัย เบญจรงคกุล เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา รูปของถวัลย์ ชัยจะติดประดับไว้ที่บ้าน ส่วนที่ทำงานจะมีรูปของศิลปินท่านอื่น เช่น ประเทือง เอมเจริญ

ของทั้งหมดที่สะสมมานานกว่า 30 ปีนี้ กำลังรวบรวม และนำไปตกแต่งในพิพิธภัณฑ์รูปโดมชั้นบนสุดของบริษัทกรุงเทพประกันภัย บนถนนสาทร คาดว่าน่าจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ชมในเร็วๆ นี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us