Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2546








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2546
เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นแน่หรือ             
 


   
search resources

Junichiro Koizumi




การล้มละลายติดต่อกันราวใบไม้ร่วงของแบรนด์เก่าแก่ ของญี่ปุ่นสะท้อนความกลวงในของการฟื้นตัวของญี่ปุ่น

โลกกำลังดีใจที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นส่งสัญญาณฟื้นตัวเสียทีหลังจากที่รอกันมานาน แต่เรายังอาจจะดีใจเร็วเกินไป จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลกเมื่อไตรมาสที่แล้ว และเติบโตติดต่อกันมาถึง 6 ไตรมาสแล้ว แต่นั่นอาจไม่ได้หมายความว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว

ผู้ที่บอกว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ดูเพียงแค่ยอดส่งออกที่แข็งแกร่งและตลาดหุ้นซึ่งตกต่ำมานานที่โตขึ้น 30% เท่านั้น แต่ละเลยภาวะเงินฝืด (ดัชนีราคาผู้บริโภคตกลง 0.4% ในเดือนมิถุนายน) การบริโภคในประเทศตกต่ำ (ยอดขายในซูเปอร์มาร์เก็ตหดตัวลง 5% ในเดือนกรกฎาคม) และภาวะกำลังการผลิตล้นเกินในแทบทุกอุตสาหกรรม

การล้มละลายติดต่อกันราวใบไม้ร่วงของแบรนด์เก่าแก่ของญี่ปุ่น น่าจะเป็นตัวสะท้อนถึงความกลวงในของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ต้นปี 2002 เป็นต้นมา บริษัทเก่าแก่ของญี่ปุ่นพาเหรดกันยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์กันเป็นทิวแถว เริ่มจาก Secaicho ผู้ผลิตรองเท้าวิ่งยี่ห้อ Panther ที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในโอลิมปิกปี 64 ที่กรุงโตเกียว Tsukuda ผู้ผลิตของเล่นที่เคยทำให้ตุ๊กตา Dakko-chan และลูกบิดรูบิกโด่งดังไปทั่วประเทศ Tohato ผู้ผลิตขนมที่มีชื่อเสียงอย่างข้าวโพดเคลือบคาราเมลและทาร์ตลูกเกด Toh Toh Shu Honpo โรงกลั่นสุราที่เก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1690 และล่าสุด Fukusuka ผู้ผลิตถุงเท้าขาวสำหรับใส่กับชุดกิโมโนที่มีอายุถึง 121 ปี ข้อมูลจาก Teikoku Data Bank ระบุว่า หนึ่งในสี่ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมดของญี่ปุ่นเป็นบริษัทที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วกว่าที่เคยมีสัดส่วนเพียง 5% ของบริษัทที่ล้มละลายทั้งหมดในช่วงปลายทศวรรษ 1980

มีหลายสาเหตุที่ทำให้บริษัทเก่าแก่ของญี่ปุ่นต้องล้มหายตายจากไปในอัตราที่รวดเร็ว ความไม่สามารถในการก้าวตามแนวโน้ม ใหม่ๆ ภาระหนี้สินที่ค้างมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 การแข่งขันจากจีนและตลาดเกิดใหม่อื่นๆ และที่สำคัญที่สุดคือ บริษัทเก่าแก่เหล่านี้มุ่งเน้นแต่การรับใช้ตลาดในประเทศ ซึ่งอยู่ในสภาพตกต่ำเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ดำเนินมายาวนาน นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ยังไม่ใหญ่พอเข้าข่ายบริษัทประเภทที่ "ใหญ่เกินกว่าที่จะล้ม" ซึ่งทำให้เจ้าหนี้หรือรัฐบาลไม่อาจปล่อยให้ล้มไปได้

บริษัทเก่าแก่ของญี่ปุ่นดูจะไม่มีทางออกอื่นใด นอกจากการล้มละลาย สังคมญี่ปุ่นไม่ใคร่นิยมการควบรวมกิจการเหมือนสหรัฐฯ หรือยุโรป จึงไม่มีเครือข่ายอุตสาหกรรมการซื้อกิจการ อันประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญเรื่องการซื้อกิจการ นักกฎหมายด้านการควบรวมกิจการธนาคารที่จะเป็นตัวเชื่อมการตกลงซื้อกิจการและบุคลากรที่เชี่ยวชาญเรื่องการซื้อกิจการในแง่มุมอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทหนึ่งสามารถกลืนกิจการของคู่แข่งได้โดยที่ยังคงความแข็งแกร่งเอาไว้ได้

ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีอัตราการตายและการเกิดใหม่ของธุรกิจในระดับต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่ายในการเริ่มธุรกิจใหม่ที่สูงลิ่ว กฎหมายภาษีที่ไม่เอื้อต่อการริเริ่มธุรกิจใหม่ และกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดต่างๆ ทำให้การริเริ่มธุรกิจใหม่ในญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากกว่าที่ใดในโลกในหมู่ประเทศพัฒนาแล้ว นักเศรษฐกรบางคนชี้ว่า การมีอัตราการเกิดใหม่ของธุรกิจที่ต่ำเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของญี่ปุ่น

ขณะนี้เศรษฐกรหลายคนในญี่ปุ่นยังเตือนด้วยว่า ให้ระวังการคืบคลานเข้ามาของ "สังคมนิยมระบบการเงิน" ซึ่งหมายถึงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นเข้าควบคุมกิจการธนาคารที่สำคัญทุกแห่ง อย่างเช่นการเข้ากอบกู้ธนาคาร Resona Bank ธนาคารใหญ่อันดับ 5 ของญี่ปุ่น ด้วยเงินมหาศาล 2 ล้านล้านเยนเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่า รัฐบาลพร้อมจะผลักภาระไปให้ประชาชนผู้เสียภาษี ขณะที่ยังคงปล่อยให้ Resona ปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ธนาคารส่วนใหญ่เมินอยู่ต่อไป และดูเหมือนว่า รัฐบาลกำลังจะทำแบบเดียวกันนี้อีกกับธนาคาร Mitsui Mining ซึ่งกำลังจะเป็นธนาคารแรกที่จะต้องขอเข้ารับความคุ้มครองจาก Industrial Revitalization Corp ที่รัฐบาลญี่ปุ่นก่อตั้งในเดือนพฤษภาคมปีนี้ เพื่อฟื้นฟูกิจการที่มีหนี้สินรุงรังโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี Junichiro Koizumi ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ และพยายามปฏิรูประบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้พ้นจากการเป็นระบบที่ปล่อยให้แบรนด์เก่าแก่ของประเทศต้องตาย ไม่เอื้อต่อการเกิดแบรนด์ใหม่ๆ และพยายามจะถ่ายโอนอำนาจทางเศรษฐกิจมาอยู่ในมือของรัฐบาล แต่จนถึงวันนี้เขายังไม่ประสบความสำเร็จแม้แต่เพียงนิดเดียว กระนั้นก็ตาม เชื่อกันว่า Koizumi จะชนะเลือกตั้งอย่างง่ายดายทั้งในระดับพรรคและระดับประเทศที่กำลังจะเกิดขึ้น ในอีกไม่นานนี้ ซึ่งจะทำให้เขามีโอกาสสานต่อความพยายามปฏิรูประบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นต่อไป ดังนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะฟื้นจริงหรือไม่ก็ตาม แต่การที่ใครๆ ต่างก็เชื่อว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นแล้ว ทำให้ Koizumi มีโอกาสที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปและดำเนินการปฏิรูป ระบบเศรษฐกิจที่มีปัญหาของญี่ปุ่นให้ดีขึ้น เพื่อที่จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแท้จริงต่อไป

แปลและเรียบเรียงโดย เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
linpeishan@excite.com Newsweek September 8, 2003

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us