Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์21 กันยายน 2552
โซนี่เติมเกมรุก CRM ผุด โซนี่ สไตล์ การ์ด บล็อกตลาดพรีเมียม             
 


   
www resources

โฮมเพจ โซนี่ ประเทศไทย

   
search resources

โซนี่ ไทย, บจก.
Electric




โซนี่ ปรับโครงสร้างองค์กร โอนงานร้านโซนี่สไตล์จากฝ่ายขายสู่แผนก CRM พร้อมเติมเกมรุก ผุดลอยัลตี้การ์ดเจาะตลาดพรีเมียม ตีกันคู่แข่ง สร้างสัมพันธ์ลูกค้ากลุ่มครีม ต่อยอดฐานใหม่จากครอบครัวของสาวกโซนี่ เพื่อเพิ่มเฮาส์โฮลด์แชร์

การประกาศก้าวสู่ความเป็นผู้นำตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าจากค่ายเกาหลีทั้งซัมซุงและแอลจีที่เข้ามาเขย่าวงการด้วยสงครามราคาจากนั้นยกระดับตัวเองไปสู่การเป็นพรีเมียมแบรนด์โดยมีการพัฒนาทั้งดีไซน์และเทคโนโลยี ตลอดจนการพัฒนาแคมเปญการตลาดรูปแบบใหม่ๆเพื่อเพิ่มเฮาส์โฮลด์แชร์ หรือ การเพิ่มปริมาณการใช้สินค้าแบรนด์นั้นๆในแต่ละครัวเรือนให้มากขึ้น

ที่ผ่านมาซัมซุงมีการทำแคมเปญ 11 Days Special โดยมีโปรโมชั่น Mix and Match จูงใจให้ลูกค้าซื้อสินค้าหลากหลายหมวดผลิตภัณฑ์ เช่น หมวดภาพและเสียง หมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน หมวดไอที และหมวดโทรศัพท์มือถือ โดยลูกค้าจะได้รับส่วนลดในรูปแบบการคืนเงิน 30% ผ่านบัญชีในภายหลัง เพื่อลดปัญหาบัญชีของคู่ค้า เพราะหากหักลดให้ลูกค้าทันทีที่ซื้อนอกจากจะเป็นการผลักภาระไปสู่ร้านค้าแล้วยังทำให้บัญชียอดขายร้านค้าลดลงด้วย ดังนั้นซัมซุงจึงใช้รูปแบบส่วนลดในการคืนเงินให้ลูกค้าในภายหลัง นอกจากนี้ 11 Days Special ยังมีการทำพรีเมียมแพกเกจ จับคู่สินค้าไฮเอนด์ในราคาพิเศษ และโปรโมชั่น Thank you Offer มอบส่วนลดให้กับผู้บริโภคทันทีที่ซื้อสินค้าตามที่กำหนด

ความหลากหลายของ 11 Days Special ทำให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ระดับแมสไปถึงระดับพรีเมียม และได้รับการตอบรับมาต่อเนื่องตลอด 4 ปี โดยมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าไฮเอนด์มากขึ้น ในขณะที่โซนี่ชูคอนเซ็ปต์ HD World เพื่อสร้างโลกแห่งความบันเทิงที่สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยความละเอียดระดับ Full HD ซึ่งเป็นตลาดพรีเมียม นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์รุ่นไฟติ้งโมเดลออกมาเป็นระยะเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคในตลาดแมสได้สัมผัสประสบการณ์การใช้สินค้าของโซนี่ โดยเชื่อว่าลูกค้าจะมีการสินค้ารีเพลสเมนต์ หรือสินค้าตัวอื่นๆของโซนี่ในอนาคต

ส่วนแอลจีซึ่งประกาศยุทธศาสตร์ในการก้าวไปสู่การเป็นพีเมียมแบรนด์โดยมีการทำ STP หรือ Segment Target and Positioning โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะผู้บริโภคในกลุ่ม Uncompromise Seeker หรือกลุ่มผู้บริโภคระดับไฮเอนด์ที่ไม่สนใจเรื่องราคาสินค้า พร้อมที่จะจ่ายแพงแต่สินค้านั้นต้องตอบสนองได้ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีการใช้งานและการมีดีไซน์ที่ทันสมัย สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค ขณะที่กลุ่มตลาดแมสซึ่งจะคำนึงเรื่องราคาถูก เพื่อให้ได้มาซึ่งฟังก์ชั่นการใช้งานพื้นฐานเท่านั้น ส่วนอีกกลุ่มเป็นตลาดกลางที่เริ่มสนใจเรื่องของดีไซน์ของสินค้า และเน้นรุ่นที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากฟังก์ชั่นเบสิก โดยจะต้องมีราคาที่สมเหตุสมผลด้วย

แม้ฐานลูกค้าระดับพรีเมียมจะมีเพียง 25% ทว่าสินค้าในกลุ่มพรีเมียมสามารถสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 35% จากยอดขายทั้งหมดของแอลจี ทั้งนี้หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วสัดส่วนยอดขายในกลุ่มพรีเมียมจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 40% ส่วนประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนรายได้จากสินค้าในกลุ่มพรีเมียมประมาณ 30% ปัจจุบัน แอลจีมีฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มพรีเมียมอยู่ 25-30% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 20% โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะขยายฐานลูกค้าพรีเมียมภายใน 3 ปีให้มีสัดส่วนสูงขึ้นเป็น 40% ส่วนอีก 60% เป็นตลาดแมส

ในการก้าวไปสู่การเป็นพรีเมียมแบรนด์ แอลจีต้องสร้างการยอมรับเพื่อขยายฐานลูกค้าในตลาดระดับบน ซึ่งก่อนหน้านี้แอลจีพยายามโคแบรนด์ร่วมกับแบรนด์ดังต่างๆไม่ว่าจะเป็นการลอนช์ตู้เย็นไซด์บายไซด์ที่ประดับด้วยคริสตัลจากชวารอฟสกี้ด้วยราคาหลักแสนบาท การโคแบรนด์ร่วมกับปราด้าพัฒนาโทรศัพท์มือถือให้มีดีไซน์ที่ลงตัวกับกลุ่มลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของปราด้า เช่นเดียวกับซัมซุง ที่พยายามยกระดับแบรนด์ให้เป็นเบอร์ 1 ของโลก โดยมีการโคแบรนด์ร่วมกับอาร์มานี่

แอลจี เคยตั้งเป้าว่าในปี 2010 จะก้าวสู่การเป็น TOP 3 ของโลก ทว่าปัจจุบันถือว่าบรรลุเป้าหมายดังกล่าวแล้ว ดังนั้นแอลจีจึงมองไกลไปสู่การเป็นแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าหมายเลข 1 ของโลก โดยความเป็นผู้นำของแอลจี หมายรวมถึงยอดขาย ส่วนแบ่งการตลาด การสร้างกำไรให้กับผู้ถือหุ้น ภาพลักษณ์แบรนด์ และการมีสุดยอดพนักงานหรือ Talent ในองค์กร

ความเคลื่อนไหวของยักษ์ใหญ่จากเกาหลี พุ่งตรงไปสู่กลุ่มเป้าหมายของโซนี่ ดังนั้นเพื่อรักษาฐานลูกค้าที่เป็นกลุ่มครีมหรือกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง โซนี่จึงมีการปรับเปลี่ยนภายในองค์กรโดยโอนธุรกรรมร้านโซนี่สไตล์จากฝ่ายขายไปสู่แผนก CRM โดยโซนี่สไตล์ถือเป็นอิมเมจชอปมีอยู่ 6 แห่ง ใช้เป็นสมรภูมิในการเติมเกมรุกด้าน CRM ไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าระดับบน เพื่อรักษาลอยัลตี้ของลูกค้ากลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง

โดยมี โซนี่ สไตล์ การ์ด เป็นเครื่องมือในการทำ CRM กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ที่มาซื้อสินค้าที่โซนี่สไตล์ ซึ่งมีราคาแพงกว่าช่องทางร้านค้าทั่วไป 5% เพื่อป้องกันความขัดแย้งกับช่องทางจำหน่าย ทว่าลูกค้าที่ซื้อสินค้าที่โซนี่สไตล์จะได้รับการบริการที่มากกว่าร้านค้าทั่วไป ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายว่าไม่เกี่ยงเรื่องราคา แต่เน้นคุณภาพสินค้าและบริการเป็นหลัก โดยลูกค้าที่จะเป็นสมาชิกโซนี่สไตล์การ์ดได้จะต้องซื้อสินค้าโซนี่ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทจึงจะสมัครโซนี่สไตล์การ์ดได้ และจะต้องมีการสั่งซื้อสินค้าต่อเนื่องทุกๆปีที่ร้านโซนี่สไตล์ชอปเท่านั้น ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่จะดึงดูดให้สมาชิกกลับมาซื้อซ้ำ โดยสมาชิกจะได้รับสิทธิพิเศษเช่น โปรโมชั่น ส่วนลด พิเศษต่างๆ การสะสมแต้มเพื่อแลกซื้อสินค้าพิเศษ การขยายเวลารับประกันสินค้า การอัปเดตข้อมูลต่างๆ พร้อมด้วยคอลเซ็นเตอร์และเว็บสำหรับสมาชิก www.sony.co.th/sonystyle

นอกจากนี้ บัตรสมาชิกดังกล่าวยังสามารถให้บุคคลในครอบครัวใช้ได้ 3 ชื่อ เท่ากับว่าสมาชิกโซนี่สไตล์แต่ละคนจะมีส่วนในการสร้างประสบการณ์ไปสู่สมาชิกในบ้านและจะช่วยเพิ่มฐานลูกค้าโซนี่ได้อีก 3 เท่า ปัจจุบันโซนี่สไตล์การ์ดมียอดสมาชิกกว่า 8,000 ราย เป็นสมาชิกที่แอกทีฟกว่า 60% โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมากกว่าหญิง มีอายุประมาณ 26-35 ปี เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับ B+ ขึ้นไป

ส่วนลูกค้าที่ซื้อโซนี่ผ่านช่องทางอื่นๆสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิก My SONY ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องกลับมาซื้อซ้ำในทุกรอบ 1 ปี โดยจะได้สิทธิพิเศษในการเข้าคอร์สเพื่อเรียนรู้การใช้งานสินค้าที่ซื้อไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ปัจจุบันสมาชิก My SONY มีกว่า 750,000 ราย

ก่อนหน้านี้ตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องสั่นสะเทือนจากการทำสงครามราคา ส่งผลให้บรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์เนมต่างให้ความสำคัญกับการทำ Loyalty Program หรือการสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ โดยมีการสร้างประสบการณ์ ณ จุดขาย และต่อยอดไปถึงการสร้าง Image Shop เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสร้างประสบการณ์และทำกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

โซนี่ถือเป็นผู้นำรายแรกๆในการสร้างอิมเมจชอปโดยเริ่มต้นจากร้านโซนี่ยูนิเวิร์ส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลและบริการ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า และเมื่อลูกค้าต้องการซื้อก็จะเป็นบทบาทของดีลเลอร์ที่มีกว่า 700 ราย อย่างไรก็ดีรูปแบบของร้าน โซนี่ ยูนิเวิร์ส ยังไม่สามารถสร้างบริการได้ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้า ดังนั้นเพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการโซนี่จึงมีการเปิดร้าน โซนี่ สไตล์ ที่สยามพารากอนซึ่งเป็นรูปแบบโชว์รูมมาตรฐานของโซนี่ระดับโลก และเป็นสาขาที่ 44 โดยก่อนหน้านี้ โซนี่ สไตล์ มีการเปิดตัวที่อเมริกามีมากถึง 30 สาขา ส่วนญี่ปุ่นมี 2 สาขา และกระจายในประเทศอื่นๆ ทั้งในยุโรปและเอเชีย เช่น เกาหลี ฮ่องกง หรือแม้แต่มาเลเซียก็มีมาก่อนประเทศไทย

แม้ว่า โซนี่ สไตล์ จะเน้นความเป็นโชว์รูมเพื่อแสดงนวัตกรรมใหม่ๆที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยไม่เน้นการสร้างยอดขาย แต่ถ้าผู้บริโภคสนใจก็สามารถซื้อได้แต่จะมีราคาแพงกว่าท้องตลาดทั่วไป 5% เพื่อป้องกันความขัดแย้งกับดีลเลอร์ที่จะมองว่าโซนี่เปิดร้านแย่งลูกค้าแข่งกับดีลเลอร์ ต่อมาก็มีอิมเมจชอปต่างๆเกิดขึ้นมากมายไม่ว่าจะเป็น โตชิบาอินเทลิเจนซ์ ซัมซุงเอ็กซ์พีเรียนซ์ ทว่าการแข่งขันที่รุนแรงทำให้ไม่สามารถรอลูกค้าเข้ามาหาได้ จึงต้องหากลยุทธ์ในการดึงดูดให้ลูกค้ากลับมาที่ร้านก่อนที่จะถูกคู่แข่งชิงฐานลูกค้าไป โซนี่สไตล์การ์ดจึงเป็นการเปิดเกมรุกบนสังเวียน CRM เพื่อสร้างลอยัลตี้ โดยหวังว่าจะเป็นเกราะป้องกันมิให้ลูกค้าไหวเอนไปกับการทำโปรโมชั่นของคู่แข่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us