|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสิกรไทยฟันธงค่าเงินบาทสิ้นเดือนก.ย.นี้แตะ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐตามค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค และสิ้นปีได้เห็น 33 บาทต่อดอลาร์สหรัฐฯ เหตุนักลงทุนโยกเงินจากสหรัฐฯเข้าลงทุนทั้งตลาดหุ้นและตลาดเงิน
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามการแข็งค่าของค่าเงินในภูมิภาค โดยสิ้นเดือนกันยายนนี้ คาดว่าค่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และสิ้นปี 2552นี้จะแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
“ค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค โดยค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1.1 % ค่าเงินของสิงคโปร์แข็งค่าขึ้น 1.4 % ค่าเงินของมาเลเซีย 1.2 % ค่าเงินของฟิลิปปินส์ 2 % ค่าเงินของเกาหลีใต้ 2.4 % และค่าเงินของอินโด 4.2 %” นายธิติ กล่าว
ทั้งนี้ การแข็งค่าขึ้นของค่าเงินในภูมิภาค มีสาเหตุมาจากนักลงทุนเกิดความมั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมีสัญญาณเริ่มปรับตัวขึ้น จึงได้โยกเงินลงทุนที่เคยเข้าไปซื้อดอลลาร์สหรัฐในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ กลับมาลงทุนในตลาดหุ้น และลงทุนในค่าเงินสกุลต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า จึงทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
“ในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีปัญหา นักลงทุนจะโยกเงินลงทุนไปซื้อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากมั่นใจว่าเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูง แม้ว่าการลงทุนดังกล่าวจะได้รับผลตอบแทนเป็น 0 % ก็ตาม และเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว นักลงทุนก็จะหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง เห็นได้จากการโยกเงินที่เข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ กลับเข้ามาลงทุนในสกุลเงินต่างๆ และลงทุนในตลาดหุ้นทำให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้น” นายธิติ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่่านมา ค่าเงินบาทของไทยได้แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจนทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี ที่ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) พยายามเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า เงินบาทในประเทศสัปดาห์นี้อาจเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบประมาณ 33.60-33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตา ได้แก่ ปัจจัยการเมืองในประเทศ ทิศทางของสกุลเงิน/ตลาดหุ้นในภูมิภาค ตลอดจนสัญญาณการเข้าดูแลเสถียรภาพค่าเงินของธปท. ขณะที่ทิศทางของเงินดอลลาร์สหรัฐ อาจขึ้นอยู่กับการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของ Conference Board ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านมือสอง-บ้านใหม่เดือนสิงหาคม และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนกันยายน(ขั้นสุดท้าย) รวมทั้ง นักลงทุนยังจับตาผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่วงวันที่ 22-23 กันยายน ตลอดจนการประชุมของกลุ่ม G-20 ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 24-25 กันยายนนี้ด้วย
|
|
|
|
|