|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ศึกแชมพูหมื่นล้านร้อนฉ่า คาโอเดินเกมบุกเต็มสูบ ล่าสุดปัดฝุ่น 'เอสเซนเชียล แดเมจ แคร์' ยกอิมเมจปะทะ 'โดฟ' ในเซกเมนต์ผมแห้งเสียระดับพรีเมียม ด้วยจุดขาย 'ฟื้นฟูบำรุงผมเสีย โดยเฉพาะปลายผม 15 ซม.' หลังจากปีก่อนส่ง 'เอเชียนซ์' ชน 'แพนทีน' ในเซกเมนต์บิวตี้ และนี่คือการเปิดฉากรุกครั้งใหญ่ในหมวดแฮร์แคร์อีกครั้งของคาโอ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์ตามนโยบาย 'pan-Asia Brands' จากบริษัทแม่ที่ต้องการเข็นแบรนด์ในเครือสู่ตลาดเอเชีย
การส่งแบรนด์ 'เอเชียนซ์' เข้าชิงชัยในตลาดแชมพูเซกเมนต์บิวตี้ระดับพรีเมียมเมื่อปลายปีก่อน ถือเป็นศึกยกแรกที่คาโอประกาศรุกเข้มในตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมอีกครั้ง ล่าสุดกับศึกยกสอง ด้วยการรีแบรนด์ 'เอสเซนเชียล แดเมจ แคร์' ครั้งใหญ่ โดยปูแบรนด์เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูบำรุงผมเสียโดยเฉพาะ ที่ครั้งนี้วางเกมให้ชนกับ 'โดฟ' ของยูนิลีเวอร์อย่างเต็มตัว
ทั้งนี้ หากพลิกไปดูตัวเลขส่วนแบ่งของแต่ละค่ายที่ถือครองอยู่ จะเห็นว่า ยูนิลีเวอร์ อยู่ในฐานะผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่งมากกว่า 40% จากตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมมูลค่า 11,800 ล้านบาท ตามมาด้วยเครือพีแอนด์จีกว่า 30% ขณะที่คาโอมีอยู่เพียง 4.3% แบ่งเป็นผลงานของแบรนด์แฟซ่า เนเจอร์พลัส 2.7% และแบรนด์เอเชียนซ์ 1.6%
ด้วยตัวเลขที่คาโอมีอยู่เพียง 4.3% หากเทียบกับ 2 ยักษ์ผู้นำในตลาด กล่าวได้ว่า คาโอเป็นคู่แข่งที่ถูกทิ้งห่างแบบไม่เห็นฝุ่น ทว่า ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ค่ายนี้กลับสามารถเรียกความสนใจจาก 2 ผู้นำได้ดีทีเดียว เพราะนอกจากจะเป็นการประกาศรุกตลาดแชมพูครั้งใหญ่ในรอบหลายปีแล้ว การขยับของคาโอตั้งแต่ปีที่ผ่านมาคือ การรุกเข้มในแต่ละเซกเมนต์ที่มีการวางหมากชนกับคู่แข่งแบบตัวต่อตัว
ล่าสุด การทุ่มงบก้อนโต 150 ล้านบาท สำหรับการรีลอนช์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายให้กับแบรนด์ 'เอสเซนเชียล แดเมจ แคร์' แม้จะน้อยกว่างบที่ใช้เมื่อครั้งเปิดตัวแบรนด์ 'เอเชียนซ์' เมื่อปีก่อนที่อัดงบสูงถึง 200 ล้านบาท แต่เมื่อดูระยะเวลาที่คาโอกำหนดไว้ใช้เพียงแค่ 4 เดือนของการเปิดตัวแบรนด์เอสเซนเชียล ขณะที่ของเอเชียนซ์คืองบสำหรับการทำตลาดในเวลา 1 ปี แน่นอนว่า นี่คือการทุ่มครั้งใหญ่ที่ชี้ให้เห็นถึงความมั่นใจของคาโออย่างชัดเจน
สำหรับการรีลอนช์แบรนด์เอสเซนเชียลของคาโอ แม้ว่าไทยจะเปิดตัวช้ากว่าญี่ปุ่นประมาณ 2 ปี และยังตามหลังประเทศไต้หวันกับฮ่องกงที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ก็ตาม แต่ความน่าสนใจในการเข้าสู่ตลาดบ้านเราครั้งนี้ก็ยังมีให้ติดตาม เพราะนี่ไม่ใช่การสร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่การรีลอนช์แบรนด์เอสเซนเชียลครั้งนี้ คือ การประกาศชนกับยูนิลีเวอร์ โดยโฟกัสคู่ชกไปที่แบรนด์ 'โดฟ' เพื่อชิงชัยในเซกเมนต์ผมแห้งเสียระดับพรีเมียมที่ตอนนี้มีมูลค่าราว 1,800 ล้านบาท หรือคิดเป็น 22% จากตลาดแชมพูโดยรวม
เล่าย้อนกลับไปที่ตัวแบรนด์เอสเซนเชียล เดิมโพซิชันนิ่งของแบรนด์นี้ดูไม่แตกต่างจากแฟซ่ามากนัก โดยเป็นแบรนด์แมสที่เน้นจับตลาดต่างจังหวัดมากกว่าในเมือง ซึ่งจากโพซิชันนิ่งของแบรนด์ที่ไม่มีความชัดเจน กอปรกับการถูกโจมตีจากโดฟและแพนทีนอย่างหนักและต่อเนื่องเมื่อราว 10 ปีก่อน ทำให้แบรนด์เอสเซนเชียลที่เคยมีผลตอบรับที่ดีและมีส่วนแบ่งอยู่หลาย เปอร์เซ็นต์ กลับลดลงเหลือไม่ถึง 1% จนมีข่าวแว่วมาว่าคาโอจะถอดแบรนด์ดังกล่าวออกจากตลาด แม้จะไม่มีการแถลงอย่างเป็นทางการ แต่จากการหยุดความเคลื่อนไหวทางการตลาดทุกด้านของแบรนด์เอสเซนเชียล โดยเหลือเพียงสินค้าที่จำหน่ายอยู่อย่างเงียบๆ ก็ไม่ต่างจากการโดนถอดออกจากตลาดมากนัก
ฉะนั้น การกลับมาประกาศศักดาของเอสเซนเชียลในครั้งนี้ คาโอจึงกำหนดโพซิชันนิ่งแบรนด์เพื่อวางตำแหน่งและเลือกชนคู่แข่งหน้าเก่า อย่าง 'โดฟ' อีกครั้ง โดยรีเฟรชแบรนด์ตนเองใหม่ทั้งแพกเกจจิ้งและสูตรใหม่ที่มีให้เลือก 2 สูตร คือ เอสเซนเชียล แดเมจ แคร์ นูแอนซ์ แอรี่ และเอสเซนเชียล แดเมจ แคร์ ริช พรีเมียร์
พร้อมวางบทบาทตนเองเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลและฟื้นฟูผมแห้งเสียเพื่อสาวเอเชียโดย เฉพาะ เช่นเดียวกับแบรนด์โดฟของค่ายยูนิลีเวอร์ที่ทำการปรับจุดขายตนเองเช่นกัน เมื่อปี 2548 จากแชมพูบิวตี้ที่เลือกชนกับ 'แพนทีน' ของพีแอนด์จี กลายมาเป็นแชมพูที่ชูภาพผู้เชี่ยวชาญด้านผมเสีย เพื่อรับเทรนด์ของผู้หญิงเอเชียที่นิยมทำสีผม ดัด ยืด และมักเจอปัญหาผมแห้งเสียในภายหลัง
แม้ว่าเอสเซนเชียลจะโดดเข้าเซกเมนต์นี้ช้ากว่าโดฟหลายก้าว แต่จากการลงลึกไปถึงการดูแล 'ปลายผม 15 ซม.' ซึ่งเป็นจุดขายที่คาโอได้มาจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ โดยพบว่า ปี 2550 ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป มีการใช้เครื่องรีดผม 8% และเพิ่มเป็น 50% ในปี 2551 ซึ่งทำให้ปลายผม 15 ซม.จะเป็นส่วนที่อ่อนแอและถูกทำร้ายจากการดัด ย้อม หรือไดร์ผมมากที่สุด จากผลสำรวจดังกล่าวก็ทำให้ผู้บริหารฝั่งคาโอมั่นใจว่าเอสเซนเชียลจะสามารถ ขึ้นสังเวียนชกทำคะแนนได้เป็นอย่างดี
'การรีลอนช์เอสเซนเชียลในครั้งนี้ เราจะเน้นเจาะกลุ่มผู้หญิงอายุ 18-20 ปีขึ้นไป เพราะเป็นกลุ่มที่มีความสนใจดูแลเรื่องผมเสียมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับตัวโปรดักส์ของบริษัท ทั้งนี้เรามั่นใจว่าภายในสิ้นปีนี้เอสเซนเชียลจะคว้าส่วนแบ่งได้ถึง 4% เช่นเดียวกับการลอนช์ที่ไต้หวันก็พบว่าแบรนด์เอสเซนเชียลสามารถคว้าอันดับ 2 ของตลาดแชมพูมาครองได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว หรือในญี่ปุ่นก็พบว่ามีส่วนแบ่งเพิ่มเป็น 7% จากตลาดแชมพูในญี่ปุ่น แม้จะเป็นอันดับ 4 ของตลาดแต่ก็ห่างกับเบอร์ 1 ที่มีส่วนแบ่งประมาณ 10% อยู่ไม่กี่ก้าวเท่านั้น' เป็นคำกล่าวของ มิโนรุ โตคิตะ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาโอ คอมเมอร์เชียล (ประเทศไทย) จำกัด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การลอนช์หนังโฆษณาของเอสเซนเชียลในรอบนี้ คาโอเลือกใช้หนังชุดเดียวกันเหมือนที่ญี่ปุ่น เพื่อสะท้อนภาพความเป็นแบรนด์เอเชียของเอสเซนเชียลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยเป็นไปตามนโยบายของคาโอในประเทศญี่ปุ่นที่ต้องการเข็นสินค้าในเครือทั้ง 4 กลุ่มหลักบุกตลาดเอเชีย ภายใต้นโยบายที่เรียกว่า pan-Asia Brand หรือการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อพัฒนาสินค้าและวางสินค้าพร้อมๆ กันทั่วเอเชีย ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น บิโอเร กลุ่มเฮาส์โฮลด์ เช่น แอทแทค, ไฮเตอร์ กลุ่มผ้าอนามัย เช่น ลอรีเอะ และกลุ่มแฮร์แคร์ เช่น แฟซ่า เอเชียนซ์ ก็ถือเป็นกลุ่มล่าสุดที่คาโอกำลังผลักดันอย่างเต็มที่ จากที่ก่อนหน้านี้ดำเนินนโยบายดังกล่าวไปแล้วกับแบรนด์แอทแทค, บิโอเร, ลอรีเอะ โดยปัจจุบันแบรนด์ที่เป็น pan-Asia ในไทยคิดเป็นสัดส่วนรายได้ราว 80% จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แต่หากแยกเฉพาะสินค้ากลุ่มแฮร์แคร์จะมีสัดส่วนเพียง 10% จากรายได้ทั้งหมด แต่จากการเข้ามาของเอเซนเชียลในครั้งนี้ค่ายคาโอก็หวังว่าจะขยับสัดส่วน สินค้ากลุ่มนี้เพิ่มเป็น 20% ในสิ้นปี 2552
ทั้งนี้ ในอนาคตคาโอจะเพิ่มความแข็งแกร่งของสินค้าหมวดแฮร์แคร์อย่างต่อเนื่อง โดยเตรียมเปิดตัวแบรนด์ Liese (ลีเซ่) ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการจัดแต่งทรงผม ซึ่งเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งในกลุ่ม pan-Asia Brand เช่นเดียวกัน
กลับมาที่ตัวหนังโฆษณาของเอสเซนเชียลที่ครั้งนี้เลือกใช้ฉบับเดียวกับของ ญี่ปุ่น แต่เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดกับสาวไทยมากขึ้น คาโอจึงเลือก 3 สาวมาเป็นแอมบาสซาเดอร์ผมสวยในแบบ 'สไตลิช คาวาอิ' ประกอบด้วย แตงโม-ภัทรธิดา พัชรวีรพงษ์, แหวนแหวน-ปวริศา เพ็ญชาติ และวีเจพิตต้า ณ พัทลุง เพื่อทำหน้าที่พากย์เสียงนักแสดงญี่ปุ่นในหนังโฆษณาชุดดังกล่าว นอกจากนี้คาโอยังเพิ่มช่องทางการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอัปเท รนด์จากญี่ปุ่นโดยตรง ผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.stylishkawaii.com ด้วย และเพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาสทดลองใช้สินค้า คาโอเตรียมแจกสินค้าตัวอย่างกว่า 2 แสนชุด พร้อมเปิดบริการวิเคราะห์สไตลิชคาวาอิในตัวคุณจากปลายผม 15 ซม. ซึ่งถือเป็นเทรนด์จากประเทศญี่ปุ่นที่สาวเอเชียกำลังนิยมอยู่ในตอนนี้
แม้จะเป็นแบรนด์ที่เคยอยู่นอกสายตาของยูนิลีเวอร์ แต่การกลับมาของเอสเซนเชียลในครั้งนี้ เชื่อได้ว่าจะสามารถสร้างสีสันและเรียกความสนใจจากโดฟ หรือแม้แต่แพนทีน ที่แม้ว่าจะดูไม่ใช่คู่ชกตรงตัวนัก แต่หากมองถึงความเป็นแชมพูพรีเมียม แน่นอนว่าย่อมเป็นคู่แข่งที่เลี่ยงกันได้ยาก เพราะผลงานจากเอเชียนซ์ที่ลอนช์ออกมาชนกับแพนทีนเมื่อปลายปีก่อน จนตอนนี้คว้าส่วนแบ่งได้ 1.6% แม้จะไม่ใช่ส่วนแบ่งที่สูงมากนัก แต่หากลงลึกไปเฉพาะตลาดในกรุงเทพฯ ที่ล้วนเป็นลูกค้าหลักของแชมพูพรีเมียมอย่างแพนทีน จะพบว่า เอเชียนซ์มีตัวเลขอยู่ที่ 2.6% และแม้จะยังห่างจากแพนทีนอยู่มาก แต่การออกตัวด้วยผลงานเท่านี้ก็ถือว่าไม่ขี้เหร่มากนัก ดังนั้น การกลับมาของเอสเซนเชียลในครั้งนี้ คงสร้างสีสันให้กับตลาดไม่น้อย เพราะเชื่อว่าโดฟคงไม่ยอมปล่อยให้คู่แข่งหน้าเดิมเข้ามาตอดแชร์ไปอย่างง่าย ดาย งานนี้โดฟจะโต้กลับอย่างไร ต้องติดตาม
|
|
|
|
|