|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
คดีค่าโง่ทรู 9 พันล้าน ส่อพลิก ทีโอทีเตรียมยื่นหลักฐานใหม่ให้ศาลปกครองกลาง มัด ‘ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล’ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามในบริษัท อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิตในช่วงเดียวกับที่นายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานบริษัททรู เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น ถือมีส่วนได้เสียไม่เหมาะสมเป็นประธานอนุญาโตตุลาการ แถม ‘ประสิทธิ์’ยังปกปิดข้อเท็จจริง ด้านบอร์ดทีโอทีทำหนังสือด่วนแจ้งอัยการให้ยื่นหลักฐานเพิ่ม หลังพบพิรุธอัยการไม่สนหลักฐานใหม่ ไม่ยื่นเอกสารเพิ่ม ก่อนเส้นตาย 15 ก.ย.ชี้ทีโอทีแพ้รัฐสูญหลายหมื่นล้าน
แหล่งข่าวจากบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่าในการประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมาบอร์ดได้มีมติให้ยื่นเอกสารเพิ่มเพื่อให้อัยการใช้ต่อสู้ในคดี ค่าโง่ทรู 9 พันล้านบาทในชั้นศาลปกครองกลาง ก่อนเส้นตายที่อัยการกำหนดไว้ในวันที่ 15 ก.ย.ที่จะถึงนี้ โดยนายธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานบอร์ดทีโอทีได้แนบหนังสือปะหน้าระบุว่าเนื่องจากภารกิจหนึ่งของสำนัก งานอัยการสูงสุดมีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติและโดยที่บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของประเทศที่กระทรวงการคลังถือหุ้น 100% ซึ่งรายได้จากผลประกอบการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จะต้องส่งให้กระทรวงการคลังทุกปีเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จึงขอความกรุณาจากท่านได้โปรดส่งข้อมูลสำคัญใหม่เพิ่มเติม เพื่อความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ของรัฐไปยังศาลปกครองกลางได้พิจารณา บรรจุไว้ในสำนวนคดีความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติไม่ให้เกิดความเสียหายในการต่อสู้คดี ความกับบริษัท เอกชนในครั้งนี้ต่อไป
‘การที่ประธานบอร์ดต้องทำหนังสือย้ำดังกล่าว เพราะอัยการที่ทำคดีคือนางสาววิรมณ ยืนนาน มีทีท่าจะไม่รับหลักฐานใหม่ และไม่ยื่นให้ศาลปกครองกลางประกอบการพิจารณา’
สำหรับคดีค่าโง่ทรู 9 พันล้านนั้น เกิดจากข้อพิพาทที่บริษัท เทเลคอมเอเชีย ฯ(ชื่อในขณะนั้น) ฟ้องร้องทีโอทีไม่ยอมจ่ายส่วนแบ่งค่าเชื่อมโยงหรือค่าแอ็คเซ็สชาร์จ จนเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการโดยมีนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล เป็นประธานอนุญาโตฯ ในปี 2546 และอนุญาโตฯได้ตัดสินให้ทีโอทีแพ้ต้องจ่ายส่วนแบ่งค่าแอ็คเซ็สชาร์จให้ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น เป็นเงินกว่า 9 พันล้านบาท โดยที่นายประสิทธิ์ได้แถลงเปิดเผยข้อเท็จจริงว่าเคยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ อิสระของบริษัท อลิอันซ์ ซี.พี.ประกันภัยซึ่งมีคนตระกูลเจียรวนนท์เป็นกรรมการอยู่ด้วย โดยเป็นผู้แทนของฝ่ายอลิอันซ์ประเทศเยอรมัน โดยหลังจากการตัดสินของอนุญาโตฯ ทีโอทีได้ยื่นเรื่องเข้าสู่กระบวนการศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตฯ โดยต่อสู้ในประเด็นความไม่เป็นกลางของประธานอนุญาโตฯ
แหล่งข่าวกล่าวว่าหลักฐานใหม่ที่ทีโอทีต้องการให้ยื่นเป็นเอกสารเพิ่มไปยัง ศาลปกครองกลางชี้ได้เห็นได้ชัดเจนว่านายประสิทธิ์ปกปิดข้อเท็จจริงบางประการ ที่มีผลต่อความเป็นกลางของประธานอนุญาโตฯ กล่าวคือนายประสิทธิ์ยังเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต (เปลี่ยนชื่อมาจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ประกันชีวิต และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โดมิดี้) ในช่วงเดียวกับนายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการบริษัททรู เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น พร้อมทั้งเครือญาติเจียรวนนท์อีกหลายคนอย่างนายขจร เจียรวนนท์ (มือประสานงานภาครัฐ) นายนุกูล เจียรวนนท์ รวมทั้งมีบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือว่ามี conflict of interest อย่างชัดเจน
ดังนั้นการที่นายประสิทธิ์ไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเข้าข่ายเป็นเหตุที่ควรสงสัยถึงความเป็นกลางและความเป็นอิสระของนาย ประสิทธิ์ในขณะได้รับแต่งตั้งและตลอดเวลาที่ดำเนินการทางอนุญาโตฯ เป็นการขัดกับมาตรา 19 ของพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ประกอบกับเป็นการไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงทั้งส่วนที่เป็นอดีตและปัจจุบันในขณะ เป็นอนุญาโตฯซึ่งน่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลาง รวมทั้งขัดต่อข้อ 12 ของประมวลจริยธรรมของอนุญาโตฯซึ่งกำหนดโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม
โดยที่นายประสิทธิ์ เป็นกรรมการ บริษัท บริษัท อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต ตั้งแต่ 7 ก.ค. 2543 ถึง 29 ม.ค. 2547 และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทดังกล่าวตั้งแต่ 7 ก.ค. 2543 ถึง 11 เม.ย. 2544 ซึ่งนายประสิทธิ์ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการบริษัทอยู่ก่อนที่จะได้รับการแต่ง ตั้งให้ทำหน้าที่ประธานคณะอนุญาโตฯและยังคงเป็นกรรมการอยู่ต่อมาแม้ว่าจะได้ รับแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุญาโตฯแล้วก็ตาม
แหล่งข่าวกล่าวว่าสำหรับเหตุผลที่อัยการจะไม่ยอมยื่นหลักฐานใหม่ของทีโอที เนื่องจากอ้างว่าการเป็นกรรมการในบริษัท อลิอันซ์ ซีพี ประกันชีวิต หรือ อลิอันซ์ ซีพี ประกันภัยที่นายประสิทธิ์แถลงเปิดเผยข้อเท็จจริง ก็เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นกี่นิติบุคคลก็ตาม รวมทั้งเห็นว่าไม่เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมตามสัญญาพิพาทแต่อย่างใด ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นสาระสำคัญที่มีผลเปลี่ยนแปลงทางคดีแต่อย่างใด
‘คนกำลังจมน้ำ ขอแค่มีกิ่งไม้หรือขอนไม้ลอยมา ก็คงตะเกียกตะกายสุดชีวิตเพื่อคว้ามันไว้ ไม่มมีใครอยากตาย ก็เหมือนทีโอที ให้มีทางพอสู้คดีความได้ เราก็ต้องสู้สุดชีวิต ยิ่งหลักฐานใหม่ชี้ให้เห็นถึงข้อสงสัยของความไม่เป็นกลางของประธานอนุญาโตฯ ทีโอทีก็มีความหวัง ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมอัยการถึงมีท่าทีไม่อยากรับหลักฐานใหม่ ทำไมไม่ส่งหลักฐานไปให้มากที่สุด เพราะถ้าแพ้คดี รัฐต้องเสียหายเป็นหมื่นล้านบาท’
แหล่งข่าวกล่าวว่าความน่าสงสารของทีโอทีคือปัญหาสนิมที่เกิดจากเนื้อในตน เพราะหลักฐานดังกล่าวฝ่ายกม.ได้ทำเรื่องชี้แจงไปยังรักษาการกรรมการผู้ จัดการใหญ่ในปี 2550 เพื่อให้ดำเนินการทางคดีความแล้ว แต่ปรากฏว่ากรรมการชุดบอร์ดท้อปบู๊ตในอดีตบางคน ได้สั่งการด้วยวาจาให้ลืมมันเสีย ไม่ต้องส่งเอกสารไปยังศาลปกครอง พร้อมทั้งสั่งแขวนผู้บริหารด้านกม.ที่รับผิดชอบ เรื่องจึงได้หายเงียบไปจนกระทั่งถึงบอร์ดของนายธีรวุฒิ บุณยโสภณ จึงได้รีบดำเนินการในเรื่องนี้
|
|
|
|
|