Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2544
โรงแรมไทยที่ดีที่สุด             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 

   
related stories

เคิร์ท ว๊าซไฟท์ ร่วมสร้างตำนานโรงแรมโอเรียนเต็ล
125 ปี โรงแรมโอเรียนเต็ล

   
search resources

โรงแรมโอเรียนเต็ล, บมจ.
Hotels & Lodgings




ผมยิงคำถามที่เคิร์ท ว๊าชไฟท์ กรรมการผู้จัดการโรงแรมโอเรียนเต็ล โรงแรมที่ได้ชื่อว่าเป็นโรงแรมที่ดีที่สุดในโลก แห่งหนึ่งว่า โรงแรมแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับสังคมไทยอย่างไร

เขาตอบทันทีว่า

"นี่คือ สิ่งที่สำคัญมาก ทุกครั้งที่แขกของเราตื่นนอนขึ้นมา เขาจะต้องรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน เมื่อเขามองออกไปนอก หน้าต่าง เขาจะต้องรู้ว่าเขาอยู่ที่ไหน เช่นเดียวกัน เมื่อสต๊าฟของเราให้บริการลูกค้าของเรา ก็จะต้องรับรู้ได้ว่า ขณะนี้เขาอยู่ที่ไหน

ไม่ว่าคุณจะไปพักที่ไหน จะเป็นบาหลี ฮ่องกง กรุงเทพฯ สหรัฐอเมริกา หรือแอฟริกา โรงแรมที่ดีจะต้องแทรก ให้เห็นวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ เพราะเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการ แขกจากสหรัฐอเมริกา จะไม่เดินทางมาที่นี่ หากที่นี่เหมือนกับชิคาโก หรือซานดิเอโก เพราะพวกเขาต้องการประสบการณ์ใหม่ๆ"

ในประวัติศาสตร์กว่า 100 ปีของโรงแรมโอเรียนเต็ล มีความสัมพันธ์กับชาวตะวันตกที่เดินทางเข้ามาหากินในประเทศไทยโดยตรง ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของประวัติศาสตร์ทั้งหมดนั้น มีการเปลี่ยนเจ้าของจากฝรั่งคนนั้นมาสู่คนนี้ หลายครั้งหลายหน พร้อมกับเปลี่ยนผู้จัดการโรงแรมจากฝรั่งคนนั้นมาคนนี้ด้วยเช่นกัน

ภาพสะท้อนเป็นวิวัฒนาการของสังคมไทย ตั้งแต่ยุคอาณานิคม หลังจากสนธิสัญญาบาวริ่ง ต่อเนื่องมาจนถึงสงครามเย็น และยุค Globalization

ลูกค้าของโรงแรมแห่งนี้ มีคนไทยไม่มากนักในช่วงแรกๆ และค่อยๆ เพิ่มมาบ้างในช่วงหลัง แต่ก็ยังถือว่าเป็น สัดส่วนที่ยังน้อยอยู่

และเมื่อ 30 กว่าปีมานี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ มีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้องครั้งแรก มีผู้จัดการฝรั่งชาวเยอรมันที่ไม่มีประวัติและประสบการณ์สำคัญใดๆ ในการทำงานบริหารโรงแรม มาก่อนที่จะมาเป็นผู้จัดการโรงแรมนี้

ส่วนผสมนี้ คงมีมาตราบเท่าทุกวันนี้ พร้อมกับความสำเร็จของโรงแรมที่ดีขึ้น ยิ่งใหญ่ขึ้นและกลายเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาด หุ้นไทยไม่ถึง 10 ปีมานี้ ไม่ว่าสังคมไทยจะมีปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างไร โรงแรม แห่งนี้ ก็ดำเนินไปอย่างคงเส้นคงวาต่อเนื่อง

โรงแรมเป็นบริการมาตรฐานทั่วไป มิใช่ "ไหมไทย" ที่มีลักษณะเฉพาะประเทศไทย พัฒนาการและความสำเร็จในการดำเนินกิจการโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงเป็นบทเรียนที่มีค่าไม่น้อย สำคัญสำหรับสังคมไทยในยุคนี้

ผมเชื่อมั่นว่า ปุจฉาและวิสัชนาที่ลงลึกมากกว่านี้ มีอยู่อย่างครบถ้วนใน "เรื่องจากปก" ฉบับที่ท่านกำลังพลิกอ่านต่อจากนี้ไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us