|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสิกรไทยเข็นแคมเปญใหญ่กระตุ้นสินเชื่อเอสเอ็มอีส่งท้ายปี “เอสเอ็มอีมีเฮ”ลดดอกเบี้ยจ่าย 10% นาน 10 เดือน หวังสิ้นปีมีผู้สมัครใช้บริการ 30,000 ราย ยอดปล่อยกู้ 25,000 ล้านบาท ดันสินเชื่อทั้งปีโตตามเป้า 7-9 % ชี้สัญญาณเอ็นพีแอลเริ่มลดลง หลังเน้นกลยุทธ์ตามติดพฤติกรรมลูกค้า มั่นใจคุมได้ไม่ให้เกิน 4%
นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)(KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารได้จัดแคมเปญใหญ่ประจำปี 2552 ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ด้วยการออกแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮ ลดดอกเบี้ยที่จ่าย 10% นาน 10 เดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 1 หมื่นบาท โดยตั้งเป้ามีผู้สมัครเข้าใช้บริการสินเชื่อประมาณ 3 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งแคมเปญนี้เปิดระหว่างวันที่ 10 ก.ย.-30 พ.ย.นี้
โดยผู้สมัครขอใช้บริการจะต้องเป็นลูกค้านิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจมียอดขายไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี โดยต้องขอวงเงินสินเชื่อระยะยาว (Loan) วงเงินอนุมัติขั้นต่ำ 3 แสนบาทสูงสุดไม่เกิน 12 ล้านบาท มีการผ่อนชำระเงินกู้โดยการตัดบัญชีแบบอัตโนมัติผ่านบัญชีออมทรัพย์ หรือกระแสรายวัน ที่ลูกค้าเปิดบัญชีไว้กับธนาคารกสิกรไทยเท่านั้น และจะต้องมีประวัติการชำระหนี้เงินกู้ที่ดีในเดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 10 นับตั้งแต่เดือนที่ลูกค้าได้เบิกรับเงินกู้ไปจากธนาคาร ซึ่งเมื่อลูกค้าปฏิบัติตามเงื่อนไขธนาคารจะคืนเงิน 10% ของดอกเบี้ยที่ชำระรายเดือน ยอดเงินคืนสูงสุด 15,000 บาท โดยเข้าบัญชีเงินฝากที่ลูกค้าเปิดไว้เพื่อหักชำระเงินกู้ 2 ครั้ง ภายใน 60 วัน หลังจากลูกค้าชำระเงินกู้งวดที่ 5 และงวดที่ 10
นายปกรณ์ ยังกล่าวอีกว่า หากธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อแคมเปญเอสเอ็มอีมีเฮได้เพียง 50% ของเป้าหมายที่วางไว้ก็ถือว่าอยู่เกณฑ์ที่ดี และจะช่วยผลักดันให้ยอดการปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีของธนาคารทั้งปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ 7-9% หรือคิดเป็นวงเงินปล่อยกู้สุทธิ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะทำให้ฐานสินเชื่อเอสเอ็มอีคงค้างสิ้นปีนี้เพิ่มเป็น 3.8 แสนล้านบาท จากปัจจุบันฐานสินเชื่ออยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท รวมทั้งธนาคารก็ยังมีลูกค้ารีไฟแนนซ์กว่า 30% ที่เข้ามาใช้บริการสินเชื่อกับธนาคาร เนื่องจากธนาคารสามารถตอบสนองความรวดเร็วแก่ผู้ประกอบการได้
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ธนาคารมองว่ายอดสินเชื่อเอสเอ็มอีจะกลับมาเป็นบวกได้ รับกับภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการรับเหมา และค้าวัสดุก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอี จะได้รับผลประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ประกอบกับในช่วงปลายปีของทุกๆปี จะเป็นไปตามวัฎจักร ที่อุตสาหกรรมการเกษตร จะใช้สินเชื่อมากขึ้น เพื่อนำไปซื้อพืชผลทางการเกษตรเพื่อเก็บเข้าสต็อกสินค้า โดยธนาคารมีกลุ่มลุกค้าอุตสาหกรรมก่อสร้าง การเกษตร และท่องเที่ยวคิดเป็น 40-50% ของฐานสินเชื่อเอสเอ็มอี ดังนั้นธนาคารจึงมั่นใจว่า
ตั้งเป้ารายได้ดบ.-ค่าฟีโต20%
อย่างไรก็ตาม ธนาคารได้ตั้งเป้าเติบโตรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและค่าธรรมเนียมจากลูกค้าเอสเอ็มอีปีนี้ 1.8 หมื่นล้านบาท หรือเป็นการเติบโต 20% จากปี 2551 ที่มีรายได้ 1.5 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะเน้นการเติบโตจากค่าธรรมเนียมเป็นหลัก ในขณะเดียวกันปีนี้ธนาคารได้เพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเป็น 25% จากปีก่อนที่ 20% ขณะที่รายได้จากอัตราดอกเบี้ยปีนี้อยู่ที่ 75% จากปีก่อนที่ 80% ซึ่งที่ผ่านมาลูกค้าเอสเอ็มอีจะมีการจัดการในด้านการขอสินเชื่อเป็นหลัก จึงส่งผลให้รายได้จากอัตราดอกเบี้ยอยู่สูงกว่ารายได้จากค่าธรรมเนียม แต่ขณะนี้แนวโน้มรายได้จากค่าธรรมเนียมมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้อีกจากการออกแคมเปญต่างๆ ของธนาคาร
ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ในปีนี้ตั้งเป้าควบคุมไม่ให้เกิน 4% จากปัจจุบันที่อยู่ประมาณ 2% เนื่องจากธนาคารมีหน่วยงานที่ติดตามพฤติกรรมการใช้วงเงินของลูกค้า โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อาทิ วงเงินเต็มหรือวงเงินไม่หมุน จากนั้นจะรีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขอย่างรวดเร็วหากพบปัญหา ซึ่งธนาคารอาจให้ขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้
|
|
|
|
|