Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายวัน8 กันยายน 2552
หุ้นแรงทุบสถิติ5วันเกือบ30จุด             
 


   
search resources

Stock Exchange




ดัชนีตลาดหุ้นพุ่งแรงทำสถิติใหม่รอบ 1 ปี ปิดที่ 682.57 จุด เพิ่มขึ้น 14.16 จุด 5วันบวกเพิ่มเกือบ 30 จุด ภาพรวมต่างชาติซื้อสุทธิแล้ว 3.2 หมื่นล้าน โบรกฯชี้โตตามตลาดหุ้นภูมิภาคหลังเม็ดเงินไหลเข้าเอเชีย ส่วนวันนี้(8ก.ย.)มีลุ้นปรับตัวขึ้นต่อ ด้านก.ล.ต.ยืนกรานค่าคอมมิชชั่นขั้นบันใดคิดอัตราเดิม บล.ทำใจรับสภาพ โอดรายได้ลด ต้นทุนพุ่งแน่ ยอมรับการหั่นนักวิเคราะห์ทิ้งคือหนึ่งในทางออก เช่นเดียวกับหารายได้อื่นเสริม

ความเคลื่อนไหวตลาดหุ้นไทย วานนี้(7ก.ย.) ดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี โดยปิดที่ 682.57 จุด เพิ่มขึ้น 14.16 จุด หรือ 2.12% จากเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 ที่ดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ระดับ 675.22 จุด โดยถือเป็นการเปลี่ยนแปลง 11.40% ของดัชนีหลักทรัพย์ในรอบ 3 เดือนล่าสุด และ 60.25% ในรอบ 6เดือนล่าสุด

โดยระหว่างวัน ดัชนีปรับตัวสูงสุดที่ 682.57 จุด และต่ำสุดที่ 673.15 จุด มูลค่าการซื้อขาย 28,183 ล้านบาท และเมื่อย้อนดูมูลค่าการซื้อขาย 5 วันทำการล่าสุด (1-7 ก.ย.) พบว่ามีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 28.45 จุด จากวันที่ 1 ก.ย.ซึ่งอยู่ที่ 654.12 จุด

นอกจากนี้ เมื่อแยกเป็นประเภทนักลงทุน พบว่า นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,199.63 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศที่ซื้อสุทธิ 1,127.96 ล้านบาท ขณะที่นักลงทุนทั่วไปขายสุทธิ 2,327.58 ล้านบาท และตั้งแต่ต้นปี (1ม.ค.) พบว่า นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิรวมแล้ว 32,449.33 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ประเมินว่า การปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อนแรงของดัชนีหุ้นวานนี้เป็นไปตามเป็นไปตามภูมิภาค ซึ่งมาจากเม็ดเงินลงทุนที่ไหลเข้ามาประเทศแถบเอเชียรวมถึงไทยด้วย

น.ส.มยุรี โชวิกรานต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย)กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับขึ้นมาค่อนข้างร้อนแรงเป็นไปตามในภูมิภาค ประเด็นหลักมาจากเรื่องของตลาดหุ้นจีนหลังจากที่รัฐบาลจีนมีการขยายวงเงินในการลงทุนตลาดหุ้นจากเดิม 800 ล้านเหรียญฯ/กองทุน มาเป็น 1,000 ล้านเหรียญฯ/กองทุน คาดว่าเงินทุนต่างชาติคงจะไหลเข้ามาในเอเชียทั่วภูมิภาครวมถึงตลาดหุ้นไทย

สำหรับทิศทางวันนี้(8ก.ย.) น่าจะยังไปต่อเพราะคืนวานนี้ดาวโจนส์ปิดทำการคงไม่มีประเด็นอะไร และวันนี้ถ้า นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิอีก ก็อาจจะเรียกความน่าสนใจหรือเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนภายในประเทศกลับขึ้นมาได้อีกรอบ และวานนี้Break 680 จุดได้ก็คงจะเป็น sentiment เชิงบวก

ก.ล.ต.ยืนกรานแบบค่าคอมฯเดิม

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวภายหลังการประชุมรายไตรมาสระหว่างสำนักงาน ก.ล.ต. และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์(สมาคมบล.) ว่า การหารือระหว่าง ก.ล.ต. กับสมาคมบล.ก่อให้เกิดความเข้าใจและความร่วมมือในการพัฒนาตลาดทุนหลายประการ โดยในการประชุมครั้งนี้ มีข้อสรุปที่สำคัญและมีความคืบหน้าในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตลาดทุน คือ 1. การกำหนดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันได สมาคมได้เสนอขอแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขายแบบขั้นบันไดที่จะเริ่มใช้ต้นปี 2553 ซึ่ง ก.ล.ต. เห็นว่าได้มีการประกาศล่วงหน้าเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทราบแนวทางและอัตราค่าธรรมเนียมที่ชัดเจนแล้ว และบล.ได้เริ่มปรับตัวทางธุรกิจไปแล้ว ก.ล.ต. จึงได้แจ้งสมาคมว่า ยังไม่มีเหตุที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว

2. การเตรียมตัวสำหรับ ASEAN Capital Market Implementation Plan แผนปฏิบัติการด้านตลาดทุนสู่การเชื่อมโยงตลาดของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนอาเซียนจะทำให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างกันและการทำธุรกิจข้ามชาติได้ในปี 2558 เรื่องดังกล่าวจะมีผลต่อผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ในปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก.ล.ต. จึงได้แจ้งให้สมาคมตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเพื่อทำการวิเคราะห์ผลกระทบและหามาตรการหรือช่องทางที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับตลาดทุนไทย

3. การเปิดเผยผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) พบว่าบล.ทุกแห่งได้เห็นถึงความสำคัญและได้นำผลการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบจ.ใส่ไว้ในบทวิเคราะห์หลักทรัพย์เพื่อให้ผู้ลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนแล้ว จึงถือว่าประสบความสำเร็จลุล่วง 4. การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ในประเด็นนี้ ก.ล.ต. หวังว่า สมาคมจะกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้ชัดเจนได้มากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ที่เหมาะสม และแนวทางการขายหุ้นที่เหลือจากการจัดจำหน่าย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ทั้งผู้ใช้บริการ ผู้ลงทุน และชื่อเสียงของบริษัท รวมถึงความเชื่อมั่นต่อตลาดทุน

5. การพัฒนาสินค้าใหม่ ก.ล.ต. ได้รับทราบความต้องการของภาคเอกชนเกี่ยวกับสินค้าใหม่ในตลาดทุน ซึ่งสมาคมขอให้ ก.ล.ต. ช่วยผลักดันให้เกิดอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX futures) เนื่องจากเป็นสินค้าที่คาดว่าจะมีผู้ใช้ประโยชน์ได้เป็นจำนวนมาก

**บล.ทำใจรับผลกระทบ

ด้าน นายกัมปนาท โลหเจริญวนิช นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ กล่าวว่า เรื่องการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์เป็นมาตรการหนึ่งที่ส่งผลให้บล.ต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับการแข่งขัน จากการหารือ ก.ล.ต. ในครั้งนี้ได้รับทราบว่า ก.ล.ต. ยังไม่มีนโยบายที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์แบบขั้นบันไดที่ประกาศไว้เดิม ดังนั้น บล.จึงควรเตรียมจัดทำระบบให้พร้อมรองรับในเรื่องดังกล่าว

โดยเกณฑ์ค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันใดเดิมนั้น กำหนดว่าหากวอลุ่มการซื้อขายไม่เกิน 1 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น 0.25% หากวอลุ่มเทรดมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น 0.22% และหากวอลุ่มเทรดมากกว่า 10 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท คิดค่าคอมมิชชั่น 0.18% และ วอลุ่มมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไปให้สามารถต่อรองเสรีได้

นางณัฐรินทร์ ตาลทอง กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กสิกรไทย กล่าวว่า จากการที่ก.ล.ต.ให้ใช้เกณฑ์ค่าคอมมิชชั่นขั้นบันไดเดิมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้รายได้ของโบรกเกอร์ลดลง ซึ่งอยู่กับฐานลูกค้าของโบรกเกอร์แต่ละราย โดยหากโบรกเกอร์ที่มีลูกค้ารายใหญ่จำนวนมาก จะทำให้รายได้ลดลงจำนวนมาก เพราะ ค่าคอมมิชชั่นต่ำ แต่โบรกเกอร์ที่มีฐานลูกค้ารายย่อยมากเกินไปก็จะทำให้โบรกเกอร์มีต้นทุนในเรื่องเจ้าหน้าที่การตลาดและระบบการซื้อขายที่มากขึ้นเพื่อดูแลและให้บริการลูกค้าได้จำนวนมาก

ทั้งนี้ โบรกเกอร์จะต้องมีจัดสัดส่วนลูกค้าให้เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งต้องมีการปรับตัวเพื่อให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้ และจะต้องมีการหารายได้อื่นข้ามามากขึ้น รวมถึงจะต้องมีการควบคุมต้นทุนในการดำเนินงานให้น้อยที่สุดเพื่อที่จะสร้างรายได้และกำไร ซึ่งจากการที่โบรกเกอร์จำเป็นต้องลดต้นทุนอาจมีผลกระทบทำให้มีการลดจำนวนนักวิเคราะห์ลงไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us