Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์7 กันยายน 2552
แบรนด์เกาหลี ยังล้มเหลว ผสมผสานอารยธรรมกับไฮเทค             
 


   
search resources

Branding




ในอดีตความยิ่งใหญ่ของแบรนด์ญี่ปุ่น ต่างสร้างความยอมรับและเกรงขามในระดับนานาชาติทั่วโลก เพราะสามารถบุกไปรุกตลาดในประเทศต่างๆ ทั่วโลก แทบจะไม่เว้นแม้แต่ประเทศเดียว

แต่มาถึงวันนี้ ได้มีนักการตลาดส่วนหนึ่งออกมากล่าวว่า แบรนด์ของเกาหลีใต้อย่างน้อย 2 แบรนด์ คือ ซัมซุงและแอลจี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีความพร้อมและมีศักยภาพอย่างเต็มเปี่ยมที่จะสร้างยอดการจำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แซงหน้าแบรนด์ชั้นนำอันดับ 1 ของญี่ปุ่นอย่างโซนี่ แล้ว

ด้วยเหตุนี้เอง นักการตลาดทั่วโลก จึงเริ่มหันมาจับตาดูว่าแนวโน้มการวางกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อโปรโมตแบรนด์ของเกาหลีใต้จะใช้วิทยายุทธ์แบบใดกันแน่ และยังมีอุปสรรคปัญหาใดที่นักการตลาดยังจะต้องให้ความสำคัญและปรับปรุงในระยะต่อไป

ปัญหาหนึ่งที่นักการตลาดบางคนออกมาชี้ให้เห็นก็คือ ผลการสำรวจทางการตลาดออกมาน่าตกใจมาก เพราะว่าการรับรู้ของลูกค้าในระดับตลาดโลกสำหรับแบรนด์ของเกาหลีใต้โดยรวมยังสู้ญี่ปุ่นไม่ได้ เรียกว่ายังห่างไกลกันมาก


เชื่อหรือไม่ว่า จากผลการสำรวจลูกค้าในตลาดต่างประเทศ หลายประเทศให้คำตอบว่า ตนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าซัมซุงและแอลจีเป็นแบรนด์ของเกาหลีใต้

การวิเคราะห์ในเรื่องนี้ชี้ว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความรับรู้แบรนด์เกาหลีใต้ออกมาแย่เช่นนี้ ก็เพราะว่าบรรดาผู้ประกอบการของเกาหลีใต้เจ้าของแบรนด์แต่ละแบรนด์ ทำกิจกรรมการโปรโมตสินค้าเอง ไม่ได้มีการสนับสนุนจากภาครัฐหรือในระดับประเทศอย่างได้ผล และขาดการเชื่อมโยงระหว่างตัวผลิตภัณฑ์กับความเป็นเกาหลีใต้อย่างเพียงพอ

ประเด็นนี้แตกต่างจากแนวทางการโปรโมตตลาดของญี่ปุ่นมาก แถมยังกล่าวได้ด้วยว่าญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของแบรนด์ที่สามารถสร้างความสำเร็จจากกิจกรรมการโปรโมตแบรนด์ตนเอง และแบรนด์ของประเทศไปพร้อมๆ กันได้อย่างต่อเนื่อง

ต้นแบบของการโปรโมตแบรนด์ดังกล่าว สามารถสร้างความยอมรับ การยกระดับภาพลักษณ์ของแบรนด์และของประเทศญี่ปุ่น ในด้านความเป็นประเทศที่มีนวัตกรรมทางเทคโนโลยี และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และได้รับการโหวตจากลูกค้าในหลายประเทศให้เป็นแบรนด์สุดยอดในอันดับต้นๆ ของโลกติดต่อกันมานานหลายปี และทำให้ทั้งแบรนด์ของญี่ปุ่นและประเทศญี่ปุ่นเองเป็น 'ดินแดนมหัศจรรย์' ประเทศหนึ่งในโลก

ผลจากการโปรโมชั่นที่ทำอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการต่อเนื่องกันของญี่ปุ่น ทำให้ไม่ยากที่จะเกิดภาพลักษณ์ของแบรนด์คุณภาพสูง แม้ว่าในความเป็นจริง ลูกค้าจำนวนไม่น้อยจะพบในภายหลังเมื่อได้ใช้สินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นแล้วว่า ไม่ได้เลิศเลอและแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ มากนัก

ที่ผ่านมา โอกาสในการแย่งชิงความเป็นผู้นำทางธุรกิจของแบรนด์เกาหลีใต้มาจากญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ผู้ประกอบการญี่ปุ่นและความมุ่งเน้นของญี่ปุ่นเองเปลี่ยนแปลงไป จากการเป็นผู้นำทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่ความเป็นผู้นำในการสร้างหุ่นยนต์ในเชิงพาณิชย์แทน ทำให้แบรนด์เกาหลีใต้สามารถเบียดตลาดในส่วนนี้ได้จากการคิดค้นนวัตกรรมมากกว่าและเร็วกว่าญี่ปุ่น

กล่าวกันตามความเป็นจริง แบรนด์ของเกาหลีใต้อย่างซัมซุงก็สามารถสร้างความจดจำในตลาดโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะประเทศทางตะวันตก และแม้แต่ลูกค้าในตลาดของญี่ปุ่นเอง เช่นเดียวกับกรณีของแอลจี ที่กำลังเล็งจะรุกขยายปีกทางการตลาดในญี่ปุ่นในฐานะของเจ้าแห่งแบรนด์สมาร์ทโฟนระดับไฮเทค

เพียงแต่ว่าแบรนด์เกาหลีใต้ยังไม่สามารถแย่งสมญานาม 'ดินแดนมหัศจรรย์' ไปจากญี่ปุ่นได้

นั่นหมายความว่า โจทย์หลักของเกาหลีใต้ในอนาคตคือ การสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์และของประเทศ รวมทั้งความเป็นเกาหลีใต้ในระดับโลกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ เป็นอีกความพยายามที่จะชูความเป็นเกาหลี เพื่อที่จะโปรโมตแบรนด์ในระดับโลก และพบว่า ประการแรก โอกาสทางธุรกิจยังคงอยู่ที่สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ต่อเนื่องมาจากที่ผ่านมา

ประการที่สอง โอกาสทางธุรกิจที่รองลงมาในอันดับสองคือ กิจการอาหารเกาหลี และอันดับสามคือ ธุรกิจภาพยนตร์ซีรีส์ ที่ฉายตามโทรทัศน์


ประการที่สาม การทำแคมเปญโปรโมชั่นของแบรนด์เกาหลีใต้ ที่ทำภายนอกประเทศ มักนิยมใช้โอกาสที่มีกิจกรรม การประชุม งานเทรดแฟร์ที่สำคัญๆ เป็นช่องทางสร้างความจดจำในแบรนด์ ซึ่งใช้ได้ในระดับหนึ่งในกรณีของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

แต่แนวทางดังกล่าว ไม่ค่อยได้ผลในกรณีของธุรกิจท่องเที่ยวของเกาหลี ซึ่งที่ผ่านมามีการวางสโลแกนว่า 'Korea Sparking' ซึ่งเท่าที่มีการประเมินทางการตลาดพบว่าไม่เห็นชัดเจนว่ามีผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งที่เริ่มออกสโลแกนนี้มาตั้งแต่ปี 2007

จนมีกระแสหลุดออกมาเมื่อไม่นานมานี้ว่า ทางการเกาหลีอาจจะมีการปรับเปลี่ยนสโลแกนดังกล่าวใหม่

ประการที่สี่ แนวทางการจัดทำกิจกรรมโปรโมชั่นโดยเอเยนซีของเกาหลี มีข้อจำกัดมาก ทั้งด้านภาษา ด้านความชำนาญ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าในต่างประเทศ

ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มใหม่ของการจัดโปรโมตแบรนด์ระดับกิจการและระดับประเทศในระยะต่อไป น่าจะเปลี่ยนไปใช้เอเยนซีและมืออาชีพที่มีความชำนาญการจากระดับโลกแทน และเป็นบริษัทเอเยนซีทางตะวันตกมากกว่า เพราะเชื่อว่าจะเข้าถึงลูกค้าในตลาดโลกได้ดีกว่า

ทั้งนี้ แนวทางในการโปรโตน่าจะออกมา 2 ลักษณะ คือ แนวทางแรก เน้นภาพเกาหลีใต้ในฐานะประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ยาวนานของเอเชีย ไม่น้อยหน้าญี่ปุ่น แนวทางที่สอง คือ ภาพของเกาหลีใต้ในฐานะนักคิดนักนวัตกรรม และเต็มไปด้วยสินค้าไฮเทค

แต่เท่าที่ผ่านมา การดำเนินงานการโปรโมตแบบนี้ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะภาพลักษณ์ของความมีวัฒนธรรมที่ยาวนานของประเทศ ทำให้ลูกค้าในต่างประเทศเกิดความสับสนอีกว่า ตกลงเกาหลีเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาหรือว่าพัฒนาแล้วกันแน่

นั่นหมายถึง การจัดแคมเปญที่ผ่านแนวทางนี้ อาจจะมีผลต่อความไม่แน่ชัดของภาพลักษณ์แบรนด์ของเกาหลีใต้

สิ่งที่น่าสังเกตจากกิจกรรมการโปรโมตก็คือ เหตุใดความเป็นแบรนด์ของเกาหลีใต้จึงใช้ส่วนผสมระหว่างความเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่และความเป็นประเทศที่ทันสมัย ไฮเทคไม่ได้ เพราะหากโมเดลนี้ไม่ได้ผลในกรณีของแบรนด์เกาหลีใต้ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าโมเดลโปรโมตแบบนี้ อาจใช้ไม่ได้ในกรณีของแบรนด์ระดับประเทศอื่นๆ ด้วย และอาจหมายความว่าเราอาจจะไม่สามารถนำเอาแคมเปญธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวปะปนกับการโปรโมตสินค้าไฮเทคอย่างสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้

ผู้ประกอบการที่กำลังเตรียมการโปรโมตสินค้าของตนคงต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น การโปรโมตเพียงอย่างเดียว ในความยิ่งใหญ่ของเมืองหลวงอย่างกรุงโซล ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกาหลีใต้ทั้งประเทศเป็นประเทศที่น่าเดินทางไปท่องเที่ยวได้

และแน่นอนแคมเปญที่ผ่านมายังไม่ทำให้เกาหลีใต้หรือกรุงโซลทัดเทียมเป้าหมายด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ อย่าง สิงคโปร์ โตเกียว นิวยอร์ก หรือลอนดอนได้

ด้วยเหตุนี้ ความเป็นแบรนด์ที่น่าภาคภูมิใจในฐานะ Korea brand คงจะต้องรอต่อไปอีกพักใหญ่   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us