Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
สะกดจิตและการเปลี่ยนแปลงตนเอง             
โดย ธีรภาพ วัฒนวิจารณ์
 





ไหนๆ ก็เข้าสู่วาระปีใหม่ กลับมาถึงเรื่อง ที่ ผมคิดว่าน่าจะเกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์กับ ผู้อ่านทุกๆ ท่าน นั่นคือ เรื่องการปรับหรือเปลี่ยน แปลงตนเอง และหากคุณผู้อ่าน ที่ค่อนข้างจะติดรายการละครทีวี คงจะมีบางท่าน ที่ได้ชมละครเรื่องเจ้ากรรมนายเวร ที่ผู้กำกับละครชุดนี้พยายาม เอาแนวคิดทางพุทธศาสนา เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด และกรรม มาโยงเข้ากับกรรมวิธีการอธิบายด้วยแนวคิดทางจิตวิทยา และจิตเวชศาสตร์ โดยผ่านกระบวนการสะกดจิต

ในละครเรื่องนี้ใช้การสะกดจิต เป็นเครื่อง มือในการเปิดเผยถึงรากฐานความเป็นมาของปัญหาในปัจจุบันของตัวละคร โดยพยายามแสดง ให้เห็นว่าในภาวะภวังค์ (trance state) สิ่งที่ถูกกดไว้ในส่วนลึกของจิตใจ ที่เราเองไม่สามารถ ระลึกได้ หรือ ที่เรียกกันว่าจิตไร้สำนึก จะปรากฏตัวขึ้นมาในรูปของเหตุการณ์ในอดีต และการกระทำหรือปัญหาในอดีตอันนั้น ก่อให้เกิดผลในปัจจุบัน และผลที่เกิดขึ้น (จนกลายเป็นปัญหา นั้น ) เจ้าตัวก็ไม่ทราบมาก่อนเพราะจิตใจไม่อยาก จะจำ

ในละคร นั้น เหตุการณ์ในอดีตถูกโยงเข้าหาแนวคิดเรื่องกรรมเก่า ซึ่งมักจะเป็นเรื่อง ที่บุคคลนั้น กระทำไม่ดี แต่ในทางทฤษฎีจิตวิเคราะห์แล้ว เหตุการณ์ในอดีต ที่ถูกกดเก็บไว้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องไม่ดี อาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้ เพียงแต่เป็นเรื่อง ที่บุคคลนั้น รู้สึกถึงความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น และไม่สามารถยอมรับได้ การกลัว แมลงสาบในทางจิตวิเคราะห์แล้วจึงไม่ใช่เรื่องของการบังคับให้คนอื่นกินแมลงสาบในอดีตชาติ แต่อาจจะเป็นประสบการณ์อะไรก็ได้เกี่ยวกับแมลงสาบ ที่ทำให้อารมณ์ ที่ไม่น่ายินดี เช่น ความกลัว หรือความขยะแขยง

ส่วนคำอธิบายในแง่ของทฤษฎีการเรียนรู้นั้น อธิบายได้อย่างง่ายๆ ว่า พฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมเกิดจากการเรียนรู้ ที่ผิดในอดีตเช่น ในกรณีนี้คือ พฤติกรรมการออกห่างจากแมลงสาบทำให้ความกลัวหรือความเครียดน้อยลง ย่อมจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ ที่เราเรียกกันว่า กลัว และการหลบหลีกปัญหา

เมื่อ ที่มาของปัญหา หรือความกลัวเกิดจาก การจับคู่ของอารมณ์ ที่ไม่น่ายินดีกับตัวแมลงสาบ และอารมณ์ ที่ปกติหรือไม่หวาดกลัวเข้ากับการไม่เห็นแมลงสาบ พฤติกรรมการกลัวแล้วหนีจึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก การแก้ไขภาวะนี้จึงต้องเปลี่ยนการจับคู่ของการเห็นแมลงสาบเข้ากับอารมณ์ ที่ไม่กลัว การหลีกหนีจึงหายไป

นั่นคือ มุมมองของนักพฤติกรรมบำบัดในการเปลี่ยนแปลงปัญหาเชิงพฤติกรรม หรืออาจเรียกว่า พฤติกรรม ที่เป็นปัญหา

การสะกด เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือเรียนรู้ความลับภายในจิตใจนั้น เป็นเรื่อง ที่เคยเชื่อถือกันมานาน และจนปัจจุบันนี้ก็ยังมีคนบางกลุ่มบางเหล่าเชื่อถืออยู่ ดังเช่น ที่สะท้อนมาในละครเรื่องดังกล่าว แต่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้นั้น ค่อนข้างน้อย เหตุก็เพราะว่า เวลาเราดึงข้อมูลที่ซ่อนอยู่ในจิตไร้สำนึก หรือจิตใต้ สำนึกออกมานั้น เราไม่ได้เฉพาะเพียงแต่สิ่งที่คน คนนั้น อยากลืม (นั่นคือ ปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต) แต่เรามักจะได้ความเพ้อฝันหรือความอยาก ที่บุคคลนั้น เก็บกดไว้ (คือ เหตุการณ์ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ) ซึ่งเราไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรเป็นเรื่องจริง และอะไรเป็นความใฝ่ฝัน

มีอยู่ช่วงหนึ่งในต่างประเทศ ที่เคยมีการสรุปว่า หญิง ที่มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ เกิดจากการถูกทำร้ายทางเพศในวัยเด็ก และบุคคล ที่ทำก็มักจะเป็นบิดา หรือญาติผู้ใหญ่ในครอบครัว ข้อสรุปนี้ได้มาจากข้อมูลที่ได้จากการสะกดจิต แต่ในภายหลังก็พิสูจน์พบว่า มีหลายปัจจัย การถูกทำร้ายทางเพศในวัยเด็กเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

ส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการแก้ปัญหาโดยการสะกดจิตนั้น ก็เช่นกัน ไม่มีรายงานผลการศึกษาอย่างเป็นทางการว่า การสะกดจิตนั้น สามารถใช้ได้ผลในการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร อาจจะเป็นไปได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ดังนั้น คนที่ดูละครดังกล่าวแล้วพยายามจะไปพบนักสะกดจิตจึงเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์

หากเป็นเช่นนั้น แล้ว เราจะแก้ไขพฤติ-กรรม หรือความเคยชิน ที่เป็นปัญหาได้อย่างไร

ในเรื่องนี้ก็ต้องกลับมา ที่สุภาษิต ที่เราเคยได้ยินได้ฟังมา คือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงตนเองก็ต้องหวังพึ่งตนเองเป็นหลัก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไปเรื่อยโดยไม่มีหลักการ หรือวิธีการอะไร เพราะเรามักจะพบว่านิสัย หรือพฤติกรรมหลายๆ อย่างที่เราอยากจะเปลี่ยน มักจะทำไม่สำเร็จ

หลักในการปรับหรือเปลี่ยนแปลงนิสัยให้ประสบความสำเร็จตาม ที่นักจิตวิทยาได้เสนอไว้มีดังนี้

1. ตัดสินใจว่าเรื่องใดหรือปัญหาใด ที่ตัวเราต้องการเปลี่ยนแปลง ความล้มเหลวหลายๆครั้งเกิดจากการที่เราไม่แน่ใจว่า เราต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองในเรื่องนั้น จริงๆ หรือไม่ สิ่งที่ตามมาคือ ความอดทนในการเปลี่ยนแปลงจึงไม่ค่อยมี และมักจะล้มเลิกความตั้งใจเอาง่ายๆ เมื่อเผชิญกับอุปสรรคหรือผลไม่เป็นตาม ที่คาดไว้

2. มีสติ และรับรู้ในสิ่งที่ตนกระทำ ทั้งนี้เนื่องจากนิสัยหลายๆ อย่างเป็นสิ่งที่เราทำไปโดยอัตโนมัติ เรามักจะทำไปโดยความเคยชินมากกว่าการตระหนักด้วยเหตุ และผลว่า ทำไมเราจึงทำเช่นนั้น การมีสติจึงช่วยให้เราสามารถควบคุมพฤติกรรมได้ แต่การจะมีสติรับรู้ได้จะต้องประกอบด้วยวิธีการ 2 ประการคือ เข้าใจถึงเหตุการณ์ และสถานการณ์ ที่พฤติกรรมนั้น เกิดขึ้น และการบันทึกถึงความถี่บ่อยของพฤติกรรม

3. คิดค้นกลยุทธ์ ที่ใช้ในการลดหรือควบคุมพฤติกรรม โดยเริ่มจากการศึกษาว่า ก่อนเกิดพฤติกรรมดังกล่าว มีเหตุการณ์หรือกระบวนการอะไรนำมาก่อน จากนั้น คิดว่าวิธีการ ในการหยุดไม่ให้กระบวนการเหล่านั้น ดำเนินไปจนเกิดพฤติกรรมขึ้น เช่น หากคุณรู้ว่าเวลาเครียดแล้วอยู่คนเดียวคุณจะสูบบุหรี่ การหยุดพฤติกรรมการสูบบุหรี่อาจทำโดยหลีกเลี่ยง การอยู่คนเดียวเวลาเครียด จากนั้น บันทึกการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม ที่เกิดขึ้น

4. ทดแทนพฤติกรรมดังกล่าวด้วยพฤติกรรมอื่น ที่เหมาะสมกว่า จุดนี้เป็นเรื่อง ที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า หากเราไม่มีวิธีการอื่นมาทดแทนพฤติกรรมหรือนิสัยนั้น เรามักจะพบว่าเรากลับไปทำพฤติกรรมเก่า ที่เราอยากจะเลิก เช่น หากจะเลิกสูบบุหรี่เวลาเครียด ก็ต้องคิดว่าหากเวลาเครียดแล้วจะทำอะไรแทนการสูบบุหรี่

5. มีความสม่ำเสมอในการทำพฤติกรรมใหม่ และประเมินความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นความ ที่พฤติกรรม ที่เป็นปัญหานั้น เป็นนิสัย ซึ่งหมายความว่าเราทำเป็นอัตโนมัติ การพยายามกระทำพฤติกรรมใหม่มาทดแทนจึงไม่ง่ายนักการพยายามบันทึกความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจะช่วยยืนยันถึงความสม่ำเสมอในการสร้างพฤติกรรมใหม่ ซึ่งหากทำไปได้เรื่อยๆ ก็จะเกิดนิสัยใหม่ขึ้นมาแทน

6. ยอมรับความจริงว่าในบางครั้งพฤติกรรมเก่าอาจกลับมาได้ นั่นไม่ได้หมาย ความว่าเป็นความล้มเหลว และในช่วงของการเปลี่ยนแปลงปัญหาอาจรุนแรงมากขึ้น ซึ่งนี่เป็นเรื่องปกติของการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อพฤติกรรม ใหม่ดำเนินไปได้ระยะหนึ่ง เราจะพบว่าปัญหานั้น น้อยลง

ทั้งหมดนี่เป็นหลักการอย่างง่ายๆ (แต่ทำได้ไม่ง่ายนัก) ที่ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านคงพอจะนำไปทบทวนหรือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในปัญหา หรือนิสัย ที่อยากจะแก้ไข และหวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับการเริ่มต้นพุทธศักราชหน้า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us