Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กันยายน 2552
นิทรรศการทวาราวดีที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Museum
พิพิธภัณฑ์กีเมต์




ก่อนเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อต้นปี 2009 เห็นข่าวการจัดนิทรรศการ Dvaravati, aux sources bouddhiques en Thailande ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ (Musee Guimet) นึกในใจว่าเป็นหนแรกกระมังที่มีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับประเทศไทย ด้วยว่าชาวฝรั่งเศสให้ความสำคัญแก่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียมากกว่า นิทรรศการเอเชียที่เห็นบ่อยจะเกี่ยวกับจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เขมร เป็นหลัก

ขณะอยู่ที่กรุงเทพฯ ชักชวนกันไปชมพิพิธภัณฑ์สุวรรณภูมิที่อำเภออู่ทอง ในจังหวัดสุพรรณบุรี พิพิธภัณฑ์เล็กนิดเดียวและโบราณวัตถุมีไม่มาก ประกอบกับส่วนหนึ่งส่งไปกรุงปารีสสำหรับแสดงในนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ แต่ติดรูปถ่ายไว้ให้ชมแทน เมื่อกลับไปยังกรุงปารีสมัวแต่ผัดวันประกันพรุ่งจนใกล้กำหนดปิดนิทรรศการ โชคดีที่มีการยืดเวลาออกไปอีก 1 เดือน และแล้วก็ได้ฤกษ์ไปชมพร้อมกับเพื่อนอีกคู่หนึ่ง

นิทรรศการ Dvaravati, aux sources bouddhiques en Thailande ทวาราวดี รากเหง้าพุทธศาสนาในประเทศไทย จัดระหว่าง 11 กุมภาพันธ์- 25 พฤษภาคม 2009 และขยายเวลาต่อจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน พนักงานของพิพิธภัณฑ์บอกว่าก่อนหน้านี้มีผู้สนใจชมมาก ต่างจากช่วงยืดเวลา อาจเป็นเพราะไม่มีใครทราบก็ได้

ไปชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์หลายครั้ง แผนกประเทศไทยเล็กนิดเดียว แรกทีเดียวคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ชาวฝรั่งเศสไม่รู้จักศิลปะไทย หากก็ดีใจเป็น อย่างยิ่งที่โบราณวัตถุไทยไม่ตกเป็นเหยื่อ การล่าของฝรั่งเศส โบราณวัตถุในนิทรรศการทวาราวดีมี 138 ชิ้น มาจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ในประเทศไทย 20 แห่ง มีสมบัติของพิพิธภัณฑ์กีเมต์เพียง 20 ชิ้น นิทรรศการทำให้ทราบว่าอาณาจักรทวาราวดีมีขอบเขตกว้างมาก มีอู่ทอง นครปฐม และคูบัวเป็นหลัก อีกทั้งกินแดนไปถึงอีสานและหริภุญไชย ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีการค้นคว้าที่จะกำหนดได้ว่าเมืองหลวงของทวาราวดีอยู่ที่ไหน ที่แปลกคือไม่มีการบ่งชื่อกษัตริย์ของอาณาจักรทวาราวดี

นัยว่านักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส จอร์จส์ เซอเดส (Georges Coedes) เป็นผู้ค้นคว้าและพบศิลปะทวาราวดีในไทย อาณาจักรทวาราวดีก่อตั้งโดยชาวมอญที่อพยพมาจากอินเดีย เจริญแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน ศิลปะทวาราวดีจึงสะท้อนอิทธิพลศิลปะอินเดีย

ศิลปะทวาราวดีเกี่ยวกับพุทธศาสนาเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมจักรหลายชิ้นงามมาก ไหนจะพระพุทธรูป รูปแกะสลักเกี่ยวกับชาดก ใบเสมา ฐานสถูปต่างๆ เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์จัดสมุดลงนามไว้ตรงประตูทางออกจากห้องแสดงนิทรรศการมีผู้ชมที่เป็นคนไทยหลายคนเขียนแสดงความคิดเห็นไว้ ล้วนแต่ดีใจที่ได้เห็นศิลปะไทยในดินแดนไกลโพ้น

เมื่อเสร็จจากการชมนิทรรศการแล้ว ถึงเวลาชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไปมาหลายครั้งแล้ว จึงไม่ตื่นตาตื่นใจเหมือนเมื่อแรก ถึงกระนั้น ก็ยังอดทึ่งคอลเลกชั่นศิลปะขอมของพิพิธภัณฑ์กีเมต์ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พญานาคที่ตั้งตระหง่าน ขนาดใหญ่มาก นึกชมอย่างรังเกียจว่านักเขียนดังอย่างอองเดร มัลโรซ์ (Andre Malraux) ที่เป็นรัฐมนตรีวัฒนธรรมของฝรั่งเศสช่างทำได้ ด้วยว่าเมื่อไปเยือนเขมร ได้แอบขนโบราณวัตถุของเขมรขึ้นเครื่องไปด้วย เป็นที่มาของการ "นำเข้า" สู่ฝรั่งเศสอย่างเป็นระบบ

ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์กีเมต์คือ เอมิล กีเมต์ (Emile Guimet) นักธุรกิจชาวเมืองลิอง (Lyon) ที่ชอบท่องเที่ยวไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอียิปต์ กรีซ จีน ญี่ปุ่นและอินเดีย โดยซื้องานศิลป์กลับบ้าน เขาสนใจประวัติศาสนาต่างๆ แรก ทีเดียวก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ที่เมืองลิองในปี 1879 ภายหลังสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ที่กรุงปารีส และย้ายงานศิลป์ทั้งปวงไปไว้ที่นั่น

หลุยส์ เดอลาปอร์ต (Louis Delaporte) เดินทางไปเยือนสยามและเขมร และซื้องานศิลป์เขมรกลับมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์อินโดจีนแห่งโทรกาเดโร (Musee indochinois du Trocadero) ซึ่งก่อตั้งในปี 1882 ปลายศตวรรษที่ 19 พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ (Louvre) ตั้งแผนกเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะของจีนและญี่ปุ่น ให้กับพิพิธภัณฑ์กีเมต์ ในขณะเดียวกันเอมิล กีเมต์ลดพื้นที่งานศิลปะอียิปต์ในพิพิธภัณฑ์กีเมต์เพื่อแสดงงานศิลป์เกาหลี ซึ่งชาร์ส์ วาราต์ (Charles Varat) ซื้อกลับมา ต่อมาในปี 1912 ได้รับศิลปะทิเบต

ในปี 1927 พิพิธภัณฑ์กีเมต์ขึ้นกับสำนักงานพิพิธภัณฑ์แห่งฝรั่งเศส (Direction des musees de France) เป็นศูนย์รวมศิลปะจากเอเชียกลางและจีน ซึ่งปอล เปลลีโอต์ (Paul Pelliot) และเอดธอารด์ ชาวานส์ (Edouard Chavannes) มอบให้ อีกทั้งงานศิลป์ที่พิพิธภัณฑ์อินโดจีนโอนมาให้ นอกจากนั้นยังได้รับโบราณวัตถุที่คณะโบราณคดีฝรั่งเศส ขุดพบในอัฟกานิสถาน ต่อมาในปี 1945 พิพิธภัณฑ์กีเมต์จึงมอบแผนกอียิปต์แก่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยที่ลูฟวร์โอนแผนกเอเชียมาให้ ทำให้กีเมต์เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะเอเชียขนาดใหญ่แห่งแรกในโลก

ศิลปะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น แผนกเขมรใหญ่ที่สุด ชิ้นที่งามที่สุดและใหญ่ที่สุดคือพญานาคที่ตั้งตรงทางเข้านั่นแหละ ใครเห็น ใครก็ทึ่ง ห้องเล็กห้อง น้อยที่ชั้นล่างนั้นแสดงศิลปะจากพม่า เวียดนาม จัมปา อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย และลาว ชั้นสองเป็นศิลปะจีนและญี่ปุ่นเป็นหลัก อีกทั้งเกาหลี เดินไปเรื่อยๆ จะพบแผนกทิเบต เนปาล อัฟกานิสถาน อินเดีย ชั้นสามเป็นเครื่องกระเบื้องของจีนและญี่ปุ่น

แผนกที่ชอบมากคือแกลอรีฌองและกฤษณา ริบูด์ (Galerie Jean et Krishna Riboud) ซึ่งอยู่ชั้นสอง จะมีเครื่องประดับ ผ้าและเครื่องแต่งกายของอินเดีย อันที่จริงพิพิธภัณฑ์กีเมต์มีคอลเลกชั่นผ้าด้วย เป็นของสะสมซึ่งกฤษณา ริบูด์มอบให้ ชุดแรกมี 150 ชิ้นมอบให้ในปี 1990 และต่อมาในปี 2003 จึงยกให้ทั้งหมดอีก 3,800 ชิ้น กฤษณา ริบูด์สนใจผ้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงก่อตั้ง Association pour l'etude et le documentation des textiles d'Asie เพื่อศึกษาผ้าของเอเชีย เธอจึงสะสมผ้าจากจีน ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย แผนก ผ้าของพิพิธภัณฑ์กีเมต์มีผ้าจากมาเลเซีย สุมาตรา ชวา ฟิลิปปินส์ ล่าสุดมีผ้าไทยด้วย

ใต้โดมเป็นห้องสมุดเกี่ยวกับศาสนาในอียิปต์และศิลปะในเอเชียเป็นห้องสมุดที่ไม่ได้เปิดให้ค้นคว้า หากมีส่วนที่เปิดให้เข้าอ่านได้ มีหนังสือประมาณ 100,000 เล่ม

นอกจากนั้นยังมีชั้นสี่ ชั้นห้า การชมพิพิธภัณฑ์กีเมต์จึงต้องใช้เวลามาก ครึ่งวันได้เห็นเพียงครึ่งเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us