แผนการยกระดับการท่องเที่ยวนครด่าหนัง ให้เป็นอีก 1 หัวหอกในการพัฒนาเศรษฐกิจเวียดนาม ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ไม่อาจมองข้ามได้ เพราะนครเก่าแก่แห่งนี้ถือเป็นต้นทางของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกที่มีประเทศไทยเป็นทางผ่าน
เว็บไซต์ปิตุภูมิของเวียดนาม รายงานถึงการสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวทางบกเวียดนาม ซึ่งจัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และท่องเที่ยวเวียดนามที่นครด่าหนัง เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีผู้แทนที่เป็น ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในเวียดนามและประเทศต่างๆ ประกอบด้วยไทย ลาว และกัมพูชา เข้าร่วมกว่า 200 คน
ในที่ประชุม ส่วนมากเห็นพ้องกันว่าศักยภาพการท่องเที่ยวทางบกเวียดนาม มีขนาดใหญ่มาก แต่จุดเด่นนี้ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ เนื่องจากหลายสาเหตุ
หวู เท้ บิ่ญ ตัวแทนกิจการทัศนาจร (กรมใหญ่ท่องเที่ยว) กล่าวว่า การท่องเที่ยว ทางบกกำลังคึกคัก ดึงดูดความสนใจหลาย ชาติในภูมิภาค
บิ่ญอ้างว่าเมื่อปลายปี 2547 ขบวน รถยนต์ 63 คัน กับสมาชิก 250 คนจาก 11 ชาติเดินทาง 10,000 กม. ผ่าน 9 ประเทศ เป็นการเปิดฉากรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยการขับรถด้วยตนเอง (Caravan) เมื่อปลายปี 2548 ด้วยความริเริ่มของนายกรัฐมนตรีเวียดนามและไทย ได้เปิดรูปแบบการท่องเที่ยวทางบกขึ้น ตั้งแต่
ปี 2549-2551 บรรดาบริษัทนำเที่ยวระหว่างประเทศได้จัดคณะ Caravan เกือบ 200 คณะ ด้วยรถชนิดต่างๆ 3,500 คัน กับนักท่องเที่ยวประมาณ 11,000 คน ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวทางบกต่างๆ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวปีละ 60,000-90,000 คนผ่านช่องทางภาคกลางเวียดนาม
นับจากนั้น ปริมาณนักท่องเที่ยวทางบกไปยังเวียดนามได้เพิ่มขึ้นพอสมควร ยืนยันความถูกต้องทันเวลาของนโยบายเปิดการท่องเที่ยวทางบก การยืนยันนี้จะเป็นศักยภาพของการท่องเที่ยวเวียดนาม
ดร.ฝ่าม ตรุง เลือง นักวิจัยด้านพัฒนาการท่องเที่ยวกล่าวว่า สัดส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเวียดนามด้วยทางบกมีเป็นจำนวนมาก หากเทียบกับยอดรวมนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาด้วยทางอื่น (ประมาณ 30%)
นักท่องเที่ยวมาจากจีนมีสัดส่วนสูงมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุน เช่น กฎข้อบังคับที่ 229, 849 และข้อตกลง ทวิภาคี-พหุภาคีอีกจำนวนหนึ่ง
แสดงให้เห็นว่าเมื่อการนำร่องการท่องเที่ยวแบบ Caravan ผ่านมา 3 ปี เวียดนามได้กำหนดว่านี่เป็นศักยภาพเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมาจากไทย มาเลเซีย สิงคโปร์และประเทศอื่นๆ นักท่องเที่ยวตามรูปแบบนี้ปกติเป็นคนมีรายได้ค่อนข้าง สูงและใช้ผลิตภัณฑ์ระดับสูง
เหงียน วัน เตวิ๊น หัวหน้ากรมใหญ่ การท่องเที่ยวกล่าวว่าเวียดนามสนใจพัฒนา การท่องเที่ยวทางบกมานานแล้ว เมื่อหลาย ปีมานี้โครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมได้รับ การยกระดับพัฒนาช่องทางผ่านแดน เพื่อสร้างความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว
นอกจากตลาดนักท่องเที่ยวด้วยบัตรผ่านแดนในภาคเหนือ รูปแบบ Caravan ผ่านช่องทางภาคกลางและภาคใต้ ได้มีส่วนสร้างเครื่องหมายการค้าให้การท่องเที่ยวเวียดนามกับเพื่อนมิตรในประเทศอาเซียน
อย่างไรก็ดี การท่องเที่ยวทางบกยังไม่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว เนื่องจากยังมีระเบียบการมาก เช่น การขออนุญาตให้บรรดาขบวน Caravan เข้าเวียดนาม กระบวนการเข้า-ออกเมืองผ่านด่านต่างๆ ยังคงใช้เวลามาก
วัน เจี๊ยน หืว รองประธานคณะกรรมการประชาชน นครด่าหนัง กล่าวว่าบริษัทนำเที่ยวต่างๆ ยังมีการแข่งขันกันสูง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวบนเส้นทางหลวงสายเอเชียยังขาดความพร้อม ขาดสถานีหยุดพักให้บริการนักท่องเที่ยว
ฝ่าม ถิ คู ตัวแทนกรมขนส่งทางบก เวียดนาม กล่าวว่าตั้งแต่ปี 2545 กระทรวงคมนาคม-ขนส่ง มอบหมายให้กรมขนส่ง ทางบกตั้งโครงการสร้างจุดพักจำนวนหนึ่ง บนทางหลวงที่สำคัญ ปี 2549 องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ได้ช่วยเวียดนามวางผังสถานีหยุดพักทางบกทั้งหมด ก่อสร้างสถานีนำร่อง 3 แห่งที่ จ.บั๊กยาง จ.บั๊กนิญ และ จ.หว่าบิ่ญ
ปัจจุบันตามถนนสายหลักของเวียดนามมีสถานีหยุดพัก ร้านอาหาร ร้านค้าที่สถานีบริการน้ำมันบางแห่ง สถานที่เหล่านี้ได้จัดหาการบริการที่จำเป็นจำนวนหนึ่งให้แก่ยานพาหนะและนักท่องเที่ยว เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ห้องสุขา
อย่างไรก็ดี ที่สำคัญสถานที่เหล่านี้โดยเอกชนลงทุน ดังนั้นคุณภาพการบริการจึงยังไม่สูง ยังไม่เป็นมืออาชีพ ราคาอาหาร แพง ซึ่งมีผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว
ด่าหนัง หรือดานัง เป็นนครช่องทาง เข้าภาคกลางของเวียดนาม เป็นช่องทางนานาชาติช่องทางที่ 3 มีจุดเด่นด้านที่ตั้งภูมิศาสตร์ การติดต่อคมนาคม ที่สำคัญ เป็นต้นทางด้านตะวันออกของโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC)
ในอนาคตอันไม่ไกล รัฐบาลเวียดนามมีแผนพัฒนาด่าหนังให้เป็นศูนย์เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองของภาคกลางเวียดนาม
ปัจจุบันสนามบินด่าหนังสามารถเชื่อมต่อกับสนามบินภูมิภาค 4 แห่ง โดยมีเส้นทางบินฮานอย-ด่าหนัง เส้นทางนครโฮจิมินห์-ด่าหนัง วันละ 4-5 เที่ยว โดยเครื่องบินขนาดใหญ่ A320 และ Boeing 737 โดย Vietnam Airlines และ Pacific Airlines นอกจากนี้ยังมีเส้นทางบินตรง 3 เที่ยว/สัปดาห์/เส้นทาง ไปถึงฮ่องกง กรุงเทพฯ และนครวัด (เสียมราฐ กัมพูชา) รวมทั้งยังมีแผนขยายเส้นทางบินนานาชาติ ไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน จีน
ท่าเรือด่าหนัง (ประกอบด้วยท่าเรือ เตียนซา ท่าเรือซงห่าน และท่าเรือเลียนเจี๋ยว) เป็นท่าเรือพาณิชย์ใหญ่อันดับ 3 ของเวียดนามต่อจากท่าเรือไซ่ง่อน และท่าเรือไฮฟอง ท่าเรือเตียนซาสามารถรองรับเรือสินค้ามีระวางขับน้ำ 33,000 DWT เรือใช้งานเฉพาะต่างๆ จะกลายเป็นสถานีต้อน รับนักท่องเที่ยวทางทะเล ที่มาจากทั่วทุกภูมิภาค
นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่ประกอบด้วยแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ชายฝั่งทะเลยาว ผืนทรายขาว สิ่งแวดล้อมดี ทัศนียภาพทางธรรมชาติงดงาม เป็นศูนย์ของถนนมรดกวัฒนธรรมโลก เป็นเขตดินแดนที่มีการสะสมทางประวัติ ศาสตร์ วัฒนธรรม ซึ่งได้สร้างให้ด่าหนังกลายเป็นจุดดึงดูดของนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของนครด่าหนัง อาทิ หงูห่าญเซิน หมู่บ้านอาชีพ หมู่บ้านหินหว่าหาย หมู่บ้านทอเสื่อเอี๊ยนเน ฟองนาม และฟุเถื่อง รวมถึงแหล่งท่องเที่ยว นิเวศวิทยาบ่าหน่า เซินตร่า หายเวิน มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ เช่น ถ่าญเดี่ยน หาย เหงียตรุ๋งเควตรุง เขตร่องรอย K20 และพิพิธภัณฑ์ เช่น พิพิธภัณฑ์จาม พิพิธภัณฑ์กองทัพภาคที่ 5 พิพิธภัณฑ์ทั่วไป ด่าหนัง
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของด่าหนัง คือร่องรอยวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณ เช่น อุปรากรเวียดนาม ดนตรีร้องรำชนเผ่า วัฒนธรรมชนเผ่าจาม และชนเผ่าเกอตู รวมทั้งเมืองมรดกโลก 3 แห่งคือ เมืองเก่าหมีเซิน เมืองเก่าโห่ยอาน และเมืองหลวงเก่าเว้
ผู้บริหารนครด่าหนังมีนโยบายพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นหัวหอกในการยกระดับเศรษฐกิจของเมือง ประกอบด้วยการพัฒนาจุดท่องเที่ยว สถานบันเทิง จุดบริการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวทางนิเวศวิทยา เขตท่องเที่ยวพักฟื้นบริเวณภูเขา และให้ความสำคัญการท่องเที่ยวทาง ทะเล เนื่องจากชายทะเลด่าหนังตั้งอยู่ใกล้ใจกลางนคร ชายหาดกว้างใหญ่ยาวถึง 60 กม. เงียบสงบ หาดทรายขาวละเอียด และสะอาด ที่ผ่านมามีเรือท่องเที่ยวเข้ามา ยังชายหาดด่าหนังปีละ 50 ลำ จำนวนนักท่องเที่ยวทางเรือ 30,000 คน/ปี
ปัจจุบันแขนงงานท่องเที่ยวด่าหนัง กำลังมีการก่อสร้างหลายโครงการเลียบชายฝั่งทะเล รวมทั้งสร้างกิจกรรมกีฬาทันสมัยแบบเวียดนามและแบบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
|