Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2531
ก่อนมาอยู่ใต้ร่มเงากรุงไทย             
 

   
related stories

ไอเอฟซีซีเลี้ยงไม่โต แต่ก็ตายไม่ได้ อะไรกันนักหนา?
วิเคราะห์งบการเงินใหม่ แผ่นแว่นขยายของผู้สอบัญชี "อาการขั้นโคม่า?"
รายงานของผู้สอบัญชีประจำปี 2529 และ 2528

   
search resources

เงินทุนสากล ,บงล
Consultants and Professional Services
ซี.อี. คอนเซาล์แทนส์




บริษัทนี้เดิมชื่อ "บริษัท ซี.อี. คอนเซาล์แทนส์" เป็นคอนเซาล์ติ้งคอมปานี ซึ่งผู้ที่ริเริ่มความคิดตั้งบริษัทคือ วัย วรรธนะกุล อดีตกรรมการผู้จัดการคนแรกและผู้ก่อตั้งบริษัทอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งบริหารอาคเนย์จนเป็นสถาบันที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป

เมื่อวัยซึ่งออกจากผู้จัดการอาคเนย์ แต่ยังเป็นกรรมการอยู่ (อายุประมาณ 57 ปี) เล็งเห็นว่าเมืองไทยยังไม่ค่อยมีบริษัทที่ปรึกษาด้านต่าง ๆ เขาจึงก่อตั้งบริษัทนี้เป็นบริษัทที่ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย การลงทุน การบริหาร การออกแบบอาคารบ้านเรือนและโรงงาน การวิศวกรรม และการประกันภัย

บริษัทถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2512 ด้วยทุนเริ่มต้น 1 ล้านบาท โดยมีอดีต ร.ม.ต. นาม พูนวัตถุสมัยที่เพิ่งเกษียณจากตำแห่งอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเป็นประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วยปกรณ์ อังศุสิงห์, อุเทน เตชะไพบูลย์, ไกรศรี นิมมานเหมินท์, บุญเกื้อ เหล่าวิณิชย์ แจ็ค เบลหลี่, เมธี ดุลยจินดา, ปราณี เอื้อชูเกียรติ และชัย วรรธนะกุล

ผู้ถือหุ้นใหญ่ได้แก่ธนาคารศรีนครและธนาคารเอเชีย

2 มีนาคม 2515 บริษัทได้เพิ่มทุนเป็น 20 ล้าน และหลังจากประกาศกระทรวงการคลัง โดยอาศัยตามความในประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 บริษัทมีฐานะเป็นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และนายหน้าตามกฎหมาย

กรรมการผู้จัดการคนแรกคือ ดร. เมธี ดุลยจินดา อดีตผู้อำนวยการฝ่าย ธปท. อดีตผู้จัดการทั่วไปธนาคารมณฑล และธนาคารไทยพัฒนา จำกัด

การดำเนินธุรกิจในช่วง 10 ปีแรกบริษัทเติบโตขึ้นตลอดและมีกำไรเสมอมาจากรายงาน การประชุมใหญ่สามัญประจำปีครั้งที่ 8/2519 ซึ่งปกรณ์ อังศุสิงห์เป็นประธานกรมการ รายงาน ผลการดำเนินการซึ่งเป็นตัวกำไรหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วเท่ากับ 1.4 ล้านบาท และ 1.47 ล้านบาท (2518 และ 2517) ซึ่งประธานกล่าวว่าสาเหตุที่กำไรน้อยลงเพราะ

"ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานเพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงฐานะเจ้าหน้าที่ภายในของบริษัท ทั้งธุรกิจนายหน้าประกันภัย ซึ่งเคยเป็นส่วนทำกำไรให้กับริษัทฝ่ายหนึ่ง จำต้องแยกออกไปเป็นอีกบริษัทหนึ่งตามกฎหมาย บริษัทนี้มีชื่อว่าบริษัทที่ปรึกษาสากลธุรกิจ (IFCC ADVISER LIMITED) และกลุ่มบริษัทเซควิคฟอร์บส์ ซึ่งเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัยที่ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักรบริเทนใหญ่ได้ให้เกียรติมาร่วมถือหุ้นด้วย ซึ่งจะทำให้บริษัทในเครือของเรานี้ได้รับจัดธุรกิจประกันให้แก่บริษัทการค้าและอุตสาหกรรมชาวต่างประเทศมากขึ้น ซึ่งในอนาคตคงจะทำกำไรให้บริษัทในเครือของเราได้ดีพอสมควร และก็จะเป็นผลดีต่อไอเอฟซีซีด้วย"

นั่นเป็นแนวทางที่ผู้บริหารเดิมมองไว้

กรรมการผู้จัดการคนที่สองคือ บุญเสริม คุ้มพวงเพชร อดีตผู้จัดการใหญ่ฝ่ายการเงินบริษัทอาคเนย์ประกันภัย เข้ารับช่วงต่อ ซึ่งก็เป็นเวลาไม่นานนักก่อนบริษัทจะเข้าสู่วิกฤติการณ์

เมื่อบริษัทราชาเงินทุนล้ม แม้บริษัทจะไม่มีหุ้นราชาอยู่โดยที่ซื้อขายหุ้นราชาให้ลูกค้ามาก และกรรมการผู้จัดการก็แสดงความสนิทสนมกับทางราชาเงินทุน บริษัททั้งหลายจึงเข้าใจว่าบริษัทเองคงมีหุ้นราชาอยู่มาก บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และธนาคารทั้งในและสาขาต่างประเทศ 10 กว่าแห่ง ได้เรียกเงินคืนพร้อม ๆ กัน แต่บริษัทก็ยังอยู่ในสภาพที่จัดการกับหนี้สินและทรัพย์สิน เปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดคืนไปได้ทั้งหมด นอกจากส่วนของธนาคารศรีนครและธนาคารเอเชีย

คณะกรรมการบริษัทคิดว่าจะรักษาบริษัทไว้ได้ต้องมีการเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยในเวลานั้น จึงเกิดความคิดว่าถ้ายกให้ทางการเสียบริษัทน่าจะอยู่รอดได้ดีกว่า

เวลาผ่านมาเกือบ 10 ปี ความเชื่อของผู้ถือหุ้นเดิมดูเหมือนจะสั่นคลอนลงไปมาก เพราะบริษัทที่พวกเขาสร้างกันมา กลับมีปัญหาใหม่ที่นับวันจะสะสมทับทวี คงจะทั้งสงสัย และเสียดายว่าถ้าหากพวกเขากัดฟันบริหารกันต่อมาบริษัทอาจจะอยู่ในสภาพที่ดีกว่าปัจจุบันก็เป็นได้!?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us