|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ขยะ" หากมองว่าเป็นสิ่งเน่าเหม็นมันก็เป็นสิ่งที่ไร้คุณค่า แต่ถ้ามองว่ามันเป็นโอกาส ขยะก็สามารถกลายเป็นทองคำได้เช่นกัน
ในภาพรวมการบริหารจัดการขยะในประเทศไทย ยังพบว่ามีปัญหาอยู่ไม่น้อยและเป็นปัญหาที่หมักหมมมายาวนานเกิดขึ้นทุกที่ทุกแห่งในประเทศไทย
ประเทศไทยมีขยะครัวเรือนเกิดขึ้นกว่า 14 ล้านตันต่อปีและวัสดุที่ใช้ในอุตสาหกรรม กว่า 10 ล้านตันต่อปี
สำหรับกรุงเทพมหานครในฐานะเมืองหลวงของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่อย่าง หนาแน่นร่วมกว่า 10 ล้านคนก็ยังไม่สามารถบริหารจัดการกำจัดขยะได้อย่างเบ็ดเสร็จ
แม้ว่าจะมีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกโดยนำกลยุทธ์ที่เรียกว่า 3R เพื่อใช้ทรัพยากร ให้น้อยลง
Reduce ลดการใช้
Reuse นำกลับมาใช้ใหม่
Recycle นำของเก่าไปผลิตเป็นสินค้าใหม่
แต่ดูเหมือนว่าการรณรงค์ที่ขาดความต่อเนื่องทำให้ขยะยังคงท่วมเมือง โดยเฉพาะ เมืองหลวงและเมืองใหญ่ ในขณะที่ภาครัฐยังขบคิดไม่ตก แต่ผู้ประกอบการธุรกิจฝั่งเอกชน กลับไม่ได้มองว่าขยะคือปัญหา
เอกชนได้แปลงขยะให้กลายเป็นเงิน จนสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับธุรกิจเหมือน ดั่งเช่น สมไทย วงษ์เจริญ ประธานกรรมการโรงงานคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลวงษ์พาณิชย์ บริษัทวงษ์พาณิชย์ กรุ๊ป หรือแม้แต่บริษัทค้าสากลซิเมนต์ไทยในเครือซิเมนต์ไทย กำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจรีไซเคิลให้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ในอนาคต
แม้แต่ขยะมูลฝอยที่ถูกมองว่าไร้ค่าก็สามารถแปลงไปเป็นพลังงาน ปุ๋ยชีวภาพ ซึ่ง สามารถทำเงินได้เช่นกัน
ดังนั้น ปัญหาขยะที่เกิดขึ้นสามารถบริหารจัดการได้ หากเปลี่ยนความคิด เพราะตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับภาคเอกชนบ่งบอกให้เห็นว่าสามารถสร้างวิกฤติขยะให้เป็นโอกาสได้
โดยเฉพาะขยะรีไซเคิลไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในต่างประเทศ ก็ตระหนักนำขยะรีไซเคิลกลับมาผลิตใหม่เพราะแนวโน้มวัตถุดิบจากธรรมชาติที่นำมาผลิต เป็นสินค้าเริ่มมีปริมาณที่ลดลงอย่างรวดเร็วและไม่สามารถทดแทนได้ในระยะเวลาอันสั้น
บางประเทศเริ่มผ่อนปรนกฎหมายเก็บภาษีขยะรีไซเคิล เช่น จีนยกเว้นภาษีนำเข้า ให้กับพลาสติกรีไซเคิลศูนย์เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มอียูได้กำหนดให้พลาสติกใหม่มีส่วนผสมพลาสติกรีไซเคิล 30 เปอร์เซ็นต์ เงื่อนไขและกฎระเบียบที่เกิดขึ้นในหลายแห่งของโลกกำลัง กดดันให้ประเทศไทยต้องเร่งปรับตัว
อย่างไรก็ดี ประเทศไทยมีแนวคิดจะลดภาษีให้กับธุรกิจที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม หรือเรียกว่า Green Tax
สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคย กล่าวไว้ว่าเขามีนโยบายที่จะผลักดัน Green Tax เพื่อช่วยสนับสนุนกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการผ่านกระบวนการ 3R
แต่ภาคเอกชนมองกระบวนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับขยะไปไกลกว่าคำว่า 3R ซึ่งมองไปถึงการนำทรัพยากรกลับคืนมาใหม่ หรือเรียกว่า Waste Recovery เพื่อเติมเต็มให้กระบวนการจัดการขยะครบวงจร
เป็น R ตัวที่ 4 ที่ไม่เพียงสร้างมูลค่าเพิ่ม หากเปิดให้เห็นโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจพิจารณา ดูเหมือนว่าวิสัยทัศน์ของภาคเอกชนและภาครัฐมีช่องว่างมากเหลือเกิน
|
|
|
|
|