|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"เพื่อให้ได้ความเจริญที่เป็นจริง มั่นคง และรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวมตัวกันเป็นภูมิภาค"
ราจัท เอ็ม นาค (Rajat M. Nag) ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank-ADB) กล่าวขณะบรรยายในหัวข้อเรื่อง "ความเป็นผู้นำในเอเชียยุคใหม่" หรือ "Leadership in new Asia" ภายในงานเสวนา Asia Leadership Dialogues 2009 เมื่อไม่นานมานี้
ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจก็คือ เอเชียเป็นภูมิภาคที่รวมความแตกต่างในด้านต่างๆ เอาไว้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นภูมิประเทศ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้ได้ทำให้เกิดห่วงโซ่กลไกพิเศษที่จะช่วยขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทั้งในด้านเศรษฐกิจและการค้า
"ขณะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกำลังดำเนินไป แต่ความไม่เท่าเทียมกันในสังคมกลับทวีเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ผลที่ตามมาคือการปรากฏขึ้นของสองโฉมหน้าของภูมิภาคเอเชีย หรือ "Two Faces of Asia" เช่น ความเจริญรุ่งเรืองของกรุงปักกิ่ง และเมืองมุมไบ ซึ่งฉายภาพที่ขัดกันกับสลัมและเขตชนบทที่กว้าง ใหญ่ไพศาลและเสื่อมโทรมที่สุดในโลก เป็นที่ซึ่งชาวนาผู้ที่อาศัยอยู่ในป่า และชาวประมงหลายล้านคนแทบจะไม่สามารถเลี้ยงชีพ ตัวเองได้"
สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมและสภาพอากาศที่เปลี่ยน แปลงไป ทำให้สถานการณ์ความยากจนเลวร้ายลง ซึ่งการทำให้ทวีปเอเชียสามารถเจริญเติบโตบนรากฐานที่เท่าเทียมกันและมั่นคงได้นั้น กลไกความช่วยเหลือจึงจำเป็นต้องมาจากทั้งระดับประเทศ ภูมิภาค หรือแม้กระทั่งระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวิกฤติการณ์ทางการเงินของโลกที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้
ปัจจุบันทวีปเอเชียมีประชากรที่ยากจนอยู่ประมาณ 900 ล้านคน และมีเกณฑ์รายได้เฉลี่ย 1.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน มีชาวเอเชียถึง 700 ล้านคนที่ไม่มีน้ำดื่มที่สะอาดเพียงพอ และประมาณ 1.9 พันล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสุขอนามัยที่เหมาะสม ประชากรเด็กในเอเชีย 100 ล้านคน ไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเด็กที่อายุต่ำกว่าห้าปีในเอเชียจำนวน 107 ล้านคนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ความไม่เสมอภาคกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้าง ความเสียหายในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคม
"โฉมหน้าทั้งสองของเอเชียกำลังถูกแยกขาดออกจากกันแทนที่จะหันมาเจอกัน นี่คือความท้าทายสำคัญของเอเชียในวันนี้" Rajat M. Nag ระบุ
Rajat M. Nag เชื่อว่าการเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ได้ ภูมิภาคเอเชียจำเป็นต้องให้ประชาชนของตนมั่นใจได้ว่าจะได้รับประโยชน์จากการเจริญเติบโต โดยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา อาชีพ และปัจจัยขั้นพื้นฐาน สิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดในการพัฒนา ให้ไปถึงจุดหมาย
ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียเสนอว่า ทวีปเอเชียต้องการงบประมาณเพื่อการลงทุนราว 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตั้งแต่ปี ค.ศ.2010 ถึงปี ค.ศ.2020 ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระดับชาติและระดับภูมิภาค
นอกจากนี้ การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและ ครอบคลุมไปทั่วภูมิภาคในทศวรรษที่ผ่านมา ได้สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย ที่ไม่ได้มีแค่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เพิ่มขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นต้องมีการจัดรูปแบบใหม่ในการพัฒนาเมือง การผลิตและ การบริโภคพลังงาน รวมถึงการจัดการการใช้ที่ดินและกำจัดขยะ มูลฝอยอย่างถูกต้องและมีสมรรถภาพมากขึ้น
ก่อนที่ภูมิภาคนี้จะตกเป็นเหยื่อของการพัฒนาเสียเอง
|
|
|
|
|