|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

การลงทุนในด้านการก่อสร้างในช่วงที่ผ่านมาของปี 2552 ลดลงทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน โดยในส่วนของการก่อสร้างภาครัฐในไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 9.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นการหดตัวลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 4 แต่มีอัตราที่ชะลอลง
การหดตัวลงดังกล่าวเป็นผลมาจากหน่วยงานภาครัฐชะลอโครงการลงทุนออกไป ประกอบกับยังไม่มีแผนการลงทุนโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างได้รับผลกระทบและมีรายได้ลดลง
อย่างไรก็ดี ในไตรมาส 2 การก่อสร้างภาครัฐน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยการลงทุนของรัฐบาลเริ่มปรับตัวดีขึ้นถึงร้อยละ 244.4 เนื่องจากการจัดสรรงบลงทุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และงบในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 (SP1)
สำหรับการก่อสร้างภาคเอกชน ในด้านการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ในไตรมาส 2 น่าจะหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสแรก โดยในไตรมาสแรกของปี 2552 หดตัวร้อยละ 10.4 ซึ่งได้รับผลกระทบ จากอุปทานคงค้างที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก แม้ว่าจะมีปัจจัยบวก เช่น ราคาวัสดุก่อสร้าง และราคาน้ำมันที่ลดลงจากปีก่อน อัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำและมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์จากภาครัฐก็ตาม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การลงทุนก่อสร้างในไตรมาส 2 ปี 2552 โดยรวมจะมีการหดตัวร้อยละ 5.5 ซึ่งมาจากการหดตัวในการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนร้อยละ 8.6 ขณะที่ภาครัฐมีการหดตัวร้อยละ 2.1
การลงทุนภาครัฐอาจกลับมาเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับธุรกิจก่อสร้าง เนื่องจากรัฐบาลได้ออกแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 (Stimulus Package 2: SP2) หรือที่รู้จักอีกชื่อหนึ่งคือ แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งปี 2555 ซึ่งมีวงเงินรวม 1,431,330 ล้านบาท โดยบางโครงการน่าจะสามารถเริ่มต้นได้ในช่วงปลายไตรมาส 3 ของปีนี้
แผนลงทุนในสาขาต่างๆ รวม 13 สาขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ผู้รับเหมาจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในสาขาการขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนมากที่สุดคือร้อยละ 39.9 โครงการที่สำคัญประกอบไปด้วยระบบรถไฟฟ้า ระบบราง ถนนไร้ฝุ่น
ขณะที่สาขาบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร มีสัดส่วนร้อยละ 16.7 โดยมีโครงการบำรุงฟื้นฟูระบบชลประทานเดิม ก่อสร้างฝ่าย/อ่างเก็บน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา
นอกจากนี้ ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง หรือ SP2 มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับช่วงปี 2552-2553 มีมูลค่าทั้งสิ้น 424,349 ล้านบาท หากมาตรการ SP2 ถูกเร่งรัดโครงการลงทุนต่างๆ ให้มีความคืบหน้าได้ตามแผน จะช่วยให้มีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้นภาคการผลิต และการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งภาคการก่อสร้าง
และหากรัฐบาลมีความชัดเจนในโครงการขนส่งมวลชนรูปแบบรางในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล จะทำให้มีการก่อสร้าง ที่อยู่อาศัยในทำเลตามแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น
ตลาดที่อยู่อาศัยยังมีการเปิดตัวโครงการใหม่ไม่มาก ปัญหา อุปทานบ้านรอขายที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีโครงการเกิดใหม่ไม่มากนัก ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีความชำนาญ และมีเงินทุนที่เข้มแข็ง
ปัจจัยเสี่ยงสำหรับธุรกิจก่อสร้างคือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทย อาจยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการลงทุนของธุรกิจ ขณะที่ สถาบันการเงินระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า การก่อสร้างในครึ่งหลังปี 2552 โดยรวม น่าจะมีการหดตัวอยู่ระหว่างร้อยละ 3.5-7.4 จากที่คาดว่า จะหดตัวร้อยละ 5.5-8.8 ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งส่งผลให้ทั้งปีจะมีการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5-8.1 โดยการลงทุนก่อสร้างภาครัฐจะเป็น ส่วนสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างดีขึ้น คาดว่าจะมีการหดตัวในช่วงครึ่งปีหลังที่ร้อยละ 0.2-6.7 จากร้อยละ 3.4-8.2 ในครึ่งปีแรก ส่งผลให้การลงทุนก่อสร้างภาครัฐทั้งปีจะหดตัวที่ระดับร้อยละ 1.6-7.4 สำหรับการลงทุนก่อสร้างภาคเอกชนครึ่งปีหลังหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 7.0-8.1 จากที่คาดว่าหดตัวร้อยละ 7.4-9.4 ในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ทั้งปีหดตัวที่ร้อยละ 7.2-8.7
สำหรับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง ปริมาณการก่อสร้างภายในประเทศในครึ่งปีหลัง แม้ว่าอาจจะยังไม่ฟื้นตัวขึ้นได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยบวกต่างๆ อาจช่วยสนับสนุนความต้องการที่อยู่อาศัยได้ในระดับหนึ่ง
การเจาะตลาดในกลุ่มโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่ยังมีความต้องการซื้อในตลาด จึงอาจเป็นโอกาสสำหรับผู้รับเหมาโครงการภาคเอกชน
|
|
 |
|
|