Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
ชมศาลากลางนิวยอร์ก             
 





นิวยอร์กเริ่มมีนายกเทศมนตรีตั้งแต่ปี 1665 รูดอล์ฟ จุยเลียนี่ คน ปัจจุบันเป็นคนที่ 107 และรับตำแหน่งมา แล้วสองสมัย เขาสังกัดพรรครีพับลิกัน พรรคเดียวกับประธานาธิบดี บุช

นายกฯ มีบ้านพักอยู่ย่านดี ริมแม่น้ำ แต่มีเงินเดือนไม่มากนัก คือ ตกเดือนละ 13,750 เหรียญ แตกเป็นเงินไทยเหมือนจะเยอะ  แต่ลองคิดดูว่า คน เป็นครูมาสัก 10 ปี ในโรงเรียนรัฐของ ที่นี่ ก็จะได้เงิน 6,000 เหรียญต่อเดือน แถม งานก็สบาย เช้าชามเย็นชาม เลิกงานตอน บ่ายสองโมง ตำแหน่งใหญ่อื่นๆ ในเทศ-บาลนครนิวยอร์ก ก็ได้เงินเดือนสูสีกัน

นายกฯ มีรอง 4 คน ทำหน้าที่ช่วยด้านการบริหารเมือง ประสานงานกับหน่วยราชการต่างๆ การพัฒนา และวางแผนเศรษฐกิจ ชักชวนให้นักลงทุนสนใจ การศึกษา และบริการประชาชน ดูแลเยาวชน ผู้สูงอายุ คนจรจัด สวัสดิ การสังคม  บ้านอยู่อาศัย โรงเรียน การ พัฒนาชุมชน และบริการธุรกิจ เงินเดือน คนละ 11,845 เหรียญ ดูแลกลุ่มสมาคม และธุรกิจขนาดเล็ก

ภรรยานายกฯ มีสำนักงานอยู่ ที่บ้านนายกฯ มีเลขา มีทีมงาน และมีประชาสัมพันธ์ ตัวนายกฯ มีศูนย์ฯ ดำเนินงาน หรือ Action Center คอยทำหน้าที่ตอบจดหมาย รับโทรศัพท์ รับ คำร้อง มีสำนักงาน ที่ปรึกษา 9 คนที่นายกฯ ตั้งเองทุก 2 ปี และมีสำนักงานแถลงข่าว

หน่วยงาน ที่ขึ้นกับนายกฯ มี สำนักงานบริหาร และจัดการงบประมาณ สำนักงานโครงการรับเหมา ทำหน้าที่ดูแลข้อตกลงของหน่วยงานรัฐกับองค์กรเอกชน และกลุ่ม เพื่อสังคมต่างๆ สำนักงานดำเนินการ คอยช่วยเหลือด้าน เทคนิค และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานต่างๆ สำนักงานงานก่อสร้าง ทำหน้าที่ตรวจสอบทุกโครงการของเมือง สำนัก งานการสัญจร ซึ่งคอยประสานงานกับหน่วยงานรถไฟใต้ดิน

สำนักงานประสานงานกิจการต่างรัฐหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนธุรกิจ ต่างชาติ หน่วยงาน เพื่อสหประชาชาติ และกลุ่มทูต สำนักงานพิธีการ สำนัก งานโครงการพิเศษ และกิจกรรมชุมชน สำนักงานกิจการด้านนิติกรรม สำนักงาน ประสานงานคณะกรรมการยุติธรรม ที่ปรึกษานายกฯ ด้านงานยุติธรรม หน่วย ดำเนินงานตรวจสอบตำรวจคอร์รัปชั่น

หน่วยสนับสนุนชุมชน ทำหน้าที่ประสานงานกับกลุ่มต่างๆ ในแต่ละชุมชน สำนักงานรณรงค์ปฏิบัติการส่งเสริมธุรกิจย่านกลางเมือง คณะกรรมการ ดูแลผู้อยู่อาศัยในห้องโถงชั้นบนของตึกแถวแบบโรงงาน ( ที่จริงแปลเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า Loft Board เพราะนิวยอร์กมี ที่อยู่อาศัย แบบ Loft ซึ่งไม่ได้ออกแบบมาเป็นห้องพัก แต่เคยเป็นโกดังเก็บของในชั้นบนของตึกแถว จึงมีเพดานสูง และห้องโล่งกว้าง พวกศิลปินชอบกัน)

สำนักงานสาธารณสุข สำนักงาน เพื่อคนทุพพลภาพ คณะ กรรมาธิการประสานงานนโยบายเอดส์ทั่วเมือง คณะกรรมาธิการแผนงาน เพื่อประชากร และสุขภาพผู้ป่วยโรคเอดส์ สำนักงานบริการต่างภาษา และกิจการผู้อพยพ คณะกรรมาธิการ เพื่อสถานภาพผู้หญิง สำนักงานกิจกรรมทหารผ่านศึก

สำนักงานประสานงานสิ่งแวด ล้อม คอยดูแลนโยบายสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนหน่วยงานรัฐให้คอยพิทักษ์สิ่งแวดล้อม คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมแห่งมหานครนิวยอร์ก เป็นหน่วยงานทุก เอกชน ที่จัดตั้งให้สำนักงานนายกฯ ทำหน้าที่สร้างความตื่นตัวในเรื่องป้องกันสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนตลาดปลอดสารพิษ ดูแลขยะเสีย และขยะนำกลับมาใช้ใหม่

สำนักงานบริหารงานฉุกเฉิน คอยบริหารงาน ที่เกิดขึ้นกะทันหัน และขาดหน่วยงานดูแล และผู้พิทักษ์มวลชนแห่งมหานครนิวยอร์กคอยตรวจสอบ การทำงานของเทศบาลมหานคร และทำหน้าที่แทนนายกฯ ในกรณีลาออก ถูก ย้าย หรือเสียชีวิต

เมืองมีคณะกรรมาธิการศิลปะ  มาตั้งแต่ 102 ปีก่อน ทำหน้าที่ตรวจสอบ เติมแต่ง ติดตั้ง ศิลปะ สถาปัตยกรรม  สิ่งก่อสร้างถาวร และสิ่งประดับข้างทาง ในเมือง สมาชิกมี 11 คน เจ็ดคนแต่งตั้ง โดยนายกฯ ตามคำแนะนำของสำนักงาน ศิลปกรรมแห่งนิวยอร์ก และต้องประกอบด้วยหนึ่งจิตรกร หนึ่งช่างปั้น หนึ่งสถาปนิก หนึ่งนักภูมิทัศน์ สามสมาชิกถาวร ตัวนายกฯ เอง ตัวแทนห้อง สมุดกลางนิวยอร์ก พิพิธภัณฑ์ศิลปะบรู๊คลิน และพิพิธภัณฑ์ศิลปะมหานครนิวยอร์ก

วัฒนธรรมฝรั่งที่ดีอย่างหนึ่ง คือ เขามีกรรมการศิลปะในหน่วยงานอย่างรถไฟใต้ดิน ซึ่งต้องมีสิ่งตกแต่งกุ๊กกิ๊ก เพื่อลดความแห้งแล้งของทิวทัศน์เมืองใหญ่

หน่วยงาน ที่คอยกำกับนายกฯ คือ คณะกรรมการกำกับการ ซึ่งมาจากหน่วย งานการธนาคาร กรรมการด้านการเงินรัฐ หน่วยงานภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม คอย ดูแลตรวจสอบการใช้เงินของรัฐ และการ จ่ายเงินเดือนค่าจ้างของผู้บริหารมหานคร มีหน่วยงานย่อยดูแลด้านกฎหมาย งบประมาณ และทรัพย์สินเมือง 21 หน่วย

ข้าราชการรัฐ ที่ไม่ได้ขึ้นกับสำนักนายกฯ โดยตรง อาทิ กองตำรวจ กองนิติกรรม กองขนส่งสาธารณะ คณะกรรมการขนส่งมวลชน ศาล กองดับเพลิง กองสาธารณสุข กองอนามัย กองมัณฑนากร กองพัฒนาเศรษฐกิจ กองการเงิน กองคุ้มครองผู้บริโภค

คณะกรรมาธิการวางแผนเมือง กองบริการด้านการบริหารงาน คณะกรรมาธิการด้านการเงิน การธนาคารของ เทศบาลนคร กองบริการธุรกิจ คณะกรรมการการศึกษา กรรมการโรงเรียนรัฐ หน่วยบริหารทรัพยากรบุคคล กองบริการเด็ก คณะกรรมาธิการพลเมืองกองดูแลผู้สูงอายุแห่งมหานครนิวยอร์ก

องค์กรร่วมพัฒนาบ้านเรือน องค์กรร่วมสาธาณสุข และโรงพยาบาลกองกิจการวัฒนธรรม สำนักงานภาพ- ยนตร์ โรงละคร และการวิทยุโทรทัศน์ คณะกรรมาธิการควบคุมภูมิทัศน์เมือง และหน่วยงานประเภทมหาวิทยาลัย ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสวนสาธารณะทั่วมหานคร

นอกจากนั้น ยังมีประธาน 5 คนดูแลในแต่ละเทศบาลย่อย หรือ Bor-rough ซึ่งแบ่งเป็นห้าเทศบาลย่อย คือ แมนฮัตตัน ควีนส์ บรู๊คลิน บร็องซ์ และ สเทเท่น ไอส์แลนด์ นอกจากนั้น มีสภาบริหารเมือง คัดเลือกตัวแทนจากประ ชากรในแต่ละเขต โดยให้ 144,000 คน ต่อหนึ่งตัวแทน ปัจจุบันมี 51 คน 10 คน มาจากแมนฮัตตัน 8 คนจากบร็องซ์ 14 คน จากควีนส์ 16 คน จากบรู๊คลิน และ 3 คนจากสเทเท่น ไอส์แลนด์ และยังมีสารวัตรเมืองอีก 80 คน

นั่นคือ เขาปกครองเมืองใหญ่กันยังไง แต่หน่วยงานเยอะก็ยังเก็บงานไม่ครบ นิวยอร์กมีปัญหาเรื่องขยะ ซับเวย์ บริการสาธารณะ คนจรจัด บ้านแพง ของแพง และปัญหาเล็กน้อยเรื่องอาชญา กรรม เหมือนว่าปีนี้จะแย่กว่าปีที่แล้วมาก เพราะคนอพยพทะลักเข้ามาในนิวยอร์ก  ตามสภาพเศรษฐกิจอเมริกันที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จนรถไฟช่วงเร่งด่วนกลายเป็นแออัดแล้ว อย่างไรก็ตาม รูปแบบของเขา ก็เป็นตัวอย่างการบริหารงานยักษ์ ซึ่งใน ปี 1998-1999 นครนี้เก็บภาษีอาคาร และ ที่ดินได้ถึง 77,000 ล้านดอลลาร์

บางส่วน ที่ทำได้ง่ายๆ และผู้รับผิดชอบกรุงเทพมหานครอาจนำมาวิเคราะห์ และปรับใช้กับเมืองของเราได้ เช่น การติดตั้ง และตกแต่งภูมิทัศน์รถไฟลอยฟ้า หรือการตกแต่งข้างทาง ที่มากกว่าสวนหย่อมพุ่มไม้ ดอกไม้ เก้าอี้ เหล็กดัด และสนามกีฬา แต่หมายถึงงาน ศิลปะนอกสถานที่ ในรูปแบบสมัยใหม่ ไม่ใช่รูปปั้น หรืออนุสาวรีย์ แต่สิ่งที่เป็น สีสัน และสัญลักษณ์ของชีวิตยุคใหม่

อีกอย่างคือ การคุมข้างถนนให้เป็นที่สำหรับคนเดิน และตลาด หรือตลาดนัด อยู่ในส่วนของตลาดหรือบนถนน ที่มีการปิดจราจรอย่างเป็นทางการเท่านั้น ซึ่งกรุงเทพฯ มีปัญหานี้มาก ที่ นิวยอร์กนั้น การขายของข้างทางแบบอาหารรถเข็นนั้น มีจำกัด โดยการออกใบ อนุญาตให้ดำเนินกิจการ และใบอนุญาตผู้ขาย หมายถึง ต้องใช้คู่กันทั้งสองใบ ใบแรกนั่นเลิกออกใหม่มาหลายปีแล้ว และอีกใบมีคนเข้าคิวรออยู่ถึง 7,000 คน

พวกขายของเร่ร่อนข้างทาง ที่นิวยอร์ก ก็ต้องวิ่งหนีตำรวจเหมือนเมือง ไทย แต่มีจำนวนน้อยกว่ามากส่วนใหญ่วางของพวกวิดีโอ นาฬิกา และซีดีผิดกฎหมาย หรือของเก่า ที่เอามาใช้การต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นคนดำ ที่ไม่อุตสาหะ พอกับการทำงานเป็นลูกจ้างใคร เทศบาล นครนิวยอร์กไม่มีเขตผ่อนผัน ไม่มีการให้ตั้งแผงลอยขวางทางเดิน แต่คอยจับแหลก

ส่วนในเรื่องรูปแบบการปกครอง หน่วยงานย่อยของสำนักนายกฯ นิวยอร์ก ตาม ที่กล่าวมาแล้ว มีหลายหน่วยงาน ที่มีอรรถประโยชน์การทำงานที่ดี และอาจนำมาปรับใช้กับเมืองใหญ่ของเราได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us