|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ค่ายไทยพาณิชย์คาดจีดีพีปีหน้าขยายตัว 3.5-4% ตามการฟื้นตัวของการส่งออก ขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ย 2.4% ค่าเงิน 33 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าต่อเนื่องจากปี 52 ขณะที่บิ๊กภัทร "ศุภวุฒิ สายเชื้อ" ชี้หากจีดีพีต่ำกว่า 3.5% เกิดปัญหาแน่
วานนี้ (1 ก.ย.) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี SCB Annual Conference on the Economy : SCB ACE หัวข้อเรื่อง “กลยุทธ์หลังวิกฤติ ทิศทางปี 2553” โดยมีนายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร SCB เป็นประธานเปิดการสัมมนาพร้อมด้วยผู้นำจากภาคธุรกิจแนวหน้าของประเทศ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และ Chief Economist SCB เปิดเผยว่า ภาพเศรษฐกิจโดยรวมของไทยในปี 2553 โดยเฉพาะอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5-4.0% ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกและภาคการผลิต ได้รับแรงเสริมจากการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลัง
“เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะกลับสู่สภาวะเดิม โลกหลังวิกฤตจะไม่เหมือนเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจึงไม่สามารถพึ่งพิงการส่งออกในโครงสร้างเดิมได้ แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยผลักดันใหม่ๆ เช่น การใช้จ่ายของประเทศจีน การใช้จ่ายภายในประเทศตามโครงสร้างของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสด้านธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเติบโตตามการใช้จ่ายของปัจจัยทั้งสองและส่งผลดีต่อประเทศไทยในระยะ ยาว” นายเศรษฐพุฒิกล่าว
ในส่วนของภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยมีอัตราการเติบโตแท้จริงประมาณ 4-5% ส่วนการส่งออกคิดเป็นสกุลเงินดอลลาร์น่าจะขยายตัวได้ประมาณ 14% ซึ่งแน่นอนว่าตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทยเหล่านี้ค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อ สมมติฐานการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ในขณะเดียวกันภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวก็ยังคงมีความ เสี่ยงอยู่ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวจะอยู่ที่ 3-4% ส่วนตัวเลขจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากนักท่องเที่ยวจะกลับมาขยายตัวได้ ประมาณ 6% และ 12% ตามลำดับ หลังจากที่ในปีนี้ติดลบประมาณ 15% และ 20% ตามลำดับ ซึ่งยังไม่พอที่จะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวกลับไปดีเหมือนช่วงก่อนวิกฤต เศรษฐกิจได้
อัตราเงินฝืดในปีหน้ายังไม่มีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะเป็นบวกภายในเดือน พ .ย.นี้ และในปีหน้าเงินเฟ้อเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2.4% ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 1% สำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าจะยังคงไม่มีการ ปรับขึ้น และน่าจะมีการปรับขึ้น 0.25-0.50% ในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มฟื้นและแรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังอยู่ในระดับ ต่ำ ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไม่ต้องการเห็นดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบ
เงินบาทแข็งค่าแตะ 33
นายชาตรี โสตางกูร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการเงิน และ Head of Treasury SCB กล่าวว่า สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุล อื่นๆ ของโลก เนื่องจากภายหลังปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และปัจจัยพื้นฐานจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ซึ่งภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตครั้งนี้น้อยที่สุด
คาดว่าค่าเงินบาทในสิ้นปี 2552 นี้จะแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และจะแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงปี 2553 ดังนั้นจึงคาดว่าในปลายปีหน้า ค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะยังคงอ่อนค่าลง จากการที่ปัจจัยพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่ยังไม่แข็งแกร่ง รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มเกินดุลอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยจะ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทใน อนาคตด้วย
"อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงสภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นที่ยังมีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ในขณะนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีกจากปริมาณ พันธบัตรรัฐบาลที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้นตามงบประมาณการขาดดุลในปีงบประมาณ 2553 และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง"
"ศุภวุฒิ" ชี้ ศก.ปีหน้าโตช้า
วันเดียวกัน ในการสัมมนาประสานความร่วมมือระหว่าง อย.กับภาคธุรกิจ ครั้งที่ 5 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) (PHATRA) บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ภาวะเศรษฐกิจจากนี้ไป” ว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยเชื่อว่าในปีหน้าอัตราการเติบโตของจีดีพีจะอยู่ที่ 3.5% ถือว่าเป็นการเติบโตที่ช้ามาก แตกต่างจากอดีตในปี 2513-2529 อยู่ที่ 6.3% ที่มีอัตราเติบโตกว่าจีดีพีของโลกขณะนั้นถึง 2 เท่า และในปี 2530-2539 มีอัตราการเติบโตสูงถึง 9.5% เป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าจีดีพีโลกถึง 3 เท่า
สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศในโครงการไทยเข้มแข็งว่า แม้จะมีแผนโครงการย่อยภายจำนวนมาก นายศุภวุฒิกล่าวกล่าวว่า ยังมองไม่ออกว่าจะมีกลยุทธ์หลักที่ช่วยกระตุ้นให้ไทยเข้มแข็งได้อย่างไร ซึ่งแผนย่อยในการลงทุนด้านพลังงานที่ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนภาครัฐวิสาหกิจ แม้ว่าจะยังมีแผนการดำเนินโครงการต่างๆ อยู่ เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้า โรงงานเหล็ก และโรงงานปิโตรเลียม แต่ในความเป็นจริงโครงการเหล่านี้ยังไม่สามารถเดินหน้าได้เพราะติดปัญหา มาตรา 67 รัฐธรรมนูญ ที่กำหนดทำรายงานผลกระทบต่อสุขภาพหรือเอชไอเอก่อน
นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อการลงทุนขนาดใหญ่ในมาบตาพุด จ.ระยอง ที่ศาลปกครองยังมีคำสั่งคุ้มครองให้เป็นเขตควบคุมมลพิษ ดังนั้นหากเรื่องสิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุขยังไม่ลงตัว โครงการลงทุนต่างๆ ที่วางไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศก็ไม่แน่ใจว่าจะเติบโตได้แค่ไหน
“สิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนคือ ต้นทุนที่กลายเป็นหนี้สาธารณะในอนาคตซึ่งรัฐบาลต้องจ่าย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีรัฐบาลจ่ายหนี้คืนเหล่านี้ได้ แต่การคืนหนี้จะเกิดจากจีดีพีที่เพิ่มสูงและไม่สร้างหนี้เพิ่มเท่านั้น ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับการเติบโตของจีดีพีเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลคาดว่าจีดีพีจะโตเพิ่ม 5.5% ขณะที่เงินเฟ้อจะเพิ่ม 3.5% รวมแล้วเป็นเม็ดเงินที่โตขึ้น 9% ทำให้การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10-11% แต่หากจีดีพีไม่เป็นไปอย่างที่คาดไว้ และยังต่ำกว่า 3.5% ปัญหาเกิดขึ้นแน่” นายศุภวุฒิกล่าวและว่า ในปี 2554 หากจีดีพีอยู่ที่ 3% ก็น่าเป็นห่วงแล้ว เพราะบ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงถึง 50% ที่เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยจะไม่ดี ดังนั้นจึงขึ้นอยู่การลงทุนของภาครัฐในโครงการนี้ว่า จะก่อให้เกิดการจ้างงานที่มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน รวมถึงความสามารรถในการดึงดูดภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน.
|
|
|
|
|