|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สินเอเซียสวนกระแสสินเชื่อหด ปรับเป้าปล่อยกู้รายใหญ่เพิ่มจากเดิมที่ 2.8 หมื่นล้าน เป็น 3 หมื่นล้าน เผยเน้นลูกค้ารายใหญ่ที่มีการระดมทุนผ่านตลาดทุน เลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ ขณะที่เอ็นพีแอลยังอยู่ในระดับต่ำที่ 0%
นางสุรีย์ วิภาตกนก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบรรษัทธุรกิจ ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) (ACL) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการปรับเพิ่มเป้าหมายการเติบโตสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ในปีนี้เป็น 3 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมายเดิมที่ธนาคารตั้งไว้ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท หรือเติบโตประมาณ 13% คิดเป็นวงเงินประมาณ 1.8 หมื่นล้าน จากฐานของธนาคาร ณ สิ้นปี 2551 ที่อยู่ในระดับ 2.6 หมื่นล้านบาท แต่เนื่องจากในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาปรากฎว่าสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารได้เติบโตเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ธนาคารจึงมีการพิจารณาปรับเป้าหมายการเติบโตดังกล่าว ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ในสัดส่วน 65% ของสินเชื่อรวม
"กลยุทธ์ทางธุรกิจของธนาคารในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีนี้ จะยังยึดแผนธุรกิจเดิมที่ใช้ในครึ่งปีแรกคือ การเน้นลูกค้ารายใหญ่ที่มีการระดมทุนผ่านตลาดทุน การเลือกลูกค้าที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ และการรักษาลูกค้าเดิมของธนาคาร ซึ่งแผนการดังกล่าวถือว่าประสบผลสำเร็จในครึ่งปีแรก เนื่องจากธนาคารสามารถอนุมัติสินเชื่อในครึ่งปีแรกได้มากกว่า 8 พันล้านบาท"
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาพรวมสินเชื่อทุกประเภทของธนาคารถือว่ายังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี โดยเชื่อจะสามารถปล่อยกู้ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ 10% หรือประมาณ 4-5 พันล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อรวมของธนาคาร ณ สิ้นปี 51 ที่อยู่ในระดับ 4.5 หมื่นล้านบาท มาอยู่ที่ระดับ 5 หมื่นล้านบาทในสิ้นปีนี้
สำหรับปี 2553 ธนาคารได้มีการประมาณการเติบโตสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ในเบื้องต้นว่าจะสามารถเติบโตได้ 10-15% เนื่องจากเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจได้ผ่านช่วงต่ำสุดไปแล้ว จึงน่าจะเป็นเวลาของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนมีมากขึ้นทั้งเรื่องการผลิตและการสต๊อกสินค้า และจะส่งผลให้ความต้องการใช้สินเชื่อมีมากขึ้น ทั้งสินเชื่อเพื่อการลงทุนและสินเชื่อหมุนเวียน
ด้านหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ในส่วนของสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่นั้น ปัจจุบันระดับเอ็นพีแอลดังกล่าวอยู่ที่ระดับ 0% ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ธนาคารไม่มีเอ็นพีแอลในสินเชื่อประเภทดังกล่าว เนื่องจากธนาคารได้มีการคัดกรองและดูแลลูกค้าที่ดี รวมทั้งจากการที่ธนาคารยังมีฐานลูกค้าและขนาดสินเชื่อที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพเอ็นพีแอลมีประสิทธิภาพ
|
|
|
|
|