Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2531
เภา VS อักขราทรใครโกหก?             
 

   
related stories

เบนซ์แวน หยุดเสียก่อนที่เลือดจะท่วมกรมตำรวจ!
วสันต์ โพธิพิมพานนท์ 'เอาเงิน 4 ล้านมายัดใต้โต๊ะใช่ไหม'?

   
search resources

เภา สารสิน
อักขราทร จุฬารัตน์
Vehicle




"ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าผู้ใหญ่บ้านเมืองนี้ เขากำลังเล่นอะไรกัน ยิ่งไม่รู้ว่าทำไมต้องเอาชื่อผมไปอ้างด้วย"

ใครก็ตามที่ได้ยินคำพูดนี้ คงเดาออกถึงความงุนงงสงสัยและสมเพชเวทนาในการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ ไม่คำนึงว่าจะเป็นผลเสียแก่คนที่ถูกพาดพิงถึงอย่างไรบ้าง

ถ้าไม่มีเรื่อง "เบนซ์แวน" ชื่อของ "ดร. อักขราทร จุฬารัตน์" คงยังเป็นเพียงกรรมการร่างกฎหมายประจำของสำนักงานกฤษฎีกา เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายของนักศึกษาหลายสถาบันทั้งที่จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รวมไปถึงมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ทำงานด้วยความสุขใจ ไม่ต้องยุ่งยาก รำคาญใจกับคำถามที่หลายคนต้องการทราบว่าไปเกี่ยวข้องกับเรื่อง "เบนซ์แวน" ที่อื้อฉาวทุกวันนี้ได้อย่างไร???

อักขราทรจบปริญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์สอบได้เนติบัณฑิตไทย ได้รับทุนรัฐบาลของสำนักงานกฤษฎีกาไปศึกษาต่อจนจบปริญญาเอกจาก UNIVERSITY OF ROME แล้วกลับมาเมืองไทย โดยทำงานที่สำนักงานกฤษฎีกามาโดยตลอด

"ท่านคงเห็นว่าผมเป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมากมั้งถึง "ยืม" ชื่อของผมไปใช้" อักขราทรกล่าวอย่างติดตลกเมื่อ "ผู้จัดการ" ถามถึงสาเหตุที่ "บังเอิญ" มีชื่อว่าได้เสนอแนะให้คำปรึกษาข้อกฎหมายในการอนุญาตจดทะเบียนเบนซ์แวนเจ้าปัญหา

ซึ่งใคร ๆ ก็ทราบว่า จริง ๆ แล้วเรื่องนี้ไม่ตลกเลยสักนิด!!!

"ท่าน" ในที่นี้ก็คือ พล.ต.อ. เภา สารสิน อธิบดีกรมตำรวจคนปัจจุบัน ที่ขณะทำหนังสือพาดพิงถึงอักขราทร ยังเป็นผู้ช่วยอธิบดีฝ่ายกิจการพิเศษอยู่

พล.ต.อ. เภา สารสินเป็นบุตรคนที่2 ของอดีตนายกรัฐมนตรีพจน์กับท่านผู้หญิงสิริ สารสิน เป็นพี่น้องท้องเดียวกันกับรองนายกรัฐมนตรีพงส์, เอกอัครราชทูตอาสา และอธิบดีกรมสรรพากรบัณฑิต บุณยะปานะ

สำเร็จมัธยมหกจากวชิราวุธวิทยาลัย แล้วไปเรียนต่อที่ไฮสคูลที่วิลบราแฮม สหรัฐอเมริกา จบปริญาตรีทางวิทยาศาสตร์สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์และปริญญาตรีอาชญวิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย

พล.ต.อ. เภา จัดได้ว่าเป็นนายตำรวจที่ "มือสะอาด" ของกรมตำรวจ เริ่มรับราชการตำรวจครั้งแรกประจำที่กองวิทยาการ แล้วขึ้นเป็นผู้กำกับการ 1 กองพิสูจน์หลักฐาน จากนั้นเป็นรองหัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน หัวหน้ากองพิสูจน์หลักฐาน ผู้ชาวยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางตามลำดับ

เป็นเลขาธิการคนแรกของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งริเริ่มก่อตั้งเองในช่วงปี 2521-2525 แล้วกลับมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ขึ้นเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจในปี 2527 เป็นรองอธิบดีในปี 2529 และเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจในปี 2531 นี่เอง

หนังสือดังกล่าวอ้างว่า พล.ต.อ. เภา ให้เจ้าหน้าที่ที่อยู่ในสำนักงานผู้ช่วย อ.ตร. นำเรื่องไปปรึกษาเป็นการส่วนตัวกับ ดร. อักขราทร ซึ่ง พล.ต.อ. เภา ขอให้ช่วยงานด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจตราควบคุมแร่และสรุปเป็นความเห็นส่งขึ้นไปให้ พล.ต.ท. ประเนตร ฤทธิฤาชัยในการพิจารณาสั่งการ

ทั้ง ๆ ที่ ดร. อักขราทรเองก็ไม่เคยพบ พล.ต.อ. เภามาก่อนและยังไม่เคยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนไหนมาปรึกษาหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยสักครั้ง!?!

และยังรวมไปถึงการที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับที่รายงานผลการประชุมคณะกรรมาธิการปกครองสภาผู้แทนฯ ที่ ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง หัวหน้าพรรคมวลชน ผลักดันให้มีการสอบสวน พล.ต.อ. เภา ว่า พล.ต.อ. เภาได้มีเอกสารแสดงว่ามีการหารือเป็นส่วนตัวกับ ดร. อักขราทรแสดงต่อที่ประชุม ทำให้คณะกรรมการไม่ติดใจประเด็นดังกล่าวอีก

"ถ้าท่านมีเอกสารที่ว่าจริง ผมก็มีสิ่งที่ยืนยันได้ว่าไม่เคยมีการหารือเช่นนั้นเลยเหมือนกัน "อักขราทรปฏิเสธเรื่องที่ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวกับ "ผู้จัดการ" อย่างหนักแน่น

ในฐานะที่เป็นถึงผู้บริหารระดับสูง เป็นข้าราชการมหาดไทยคนหนึ่ง ยังคงจำได้ถึงความหมายของมหาดไทยที่ว่า

"มหาดไทย หมายถึง ข้าราชการผู้ใหญ่ที่มีอิสระพอที่จะสั่งปฏิบัติงานได้ด้วยอำนาจของตนเอง(ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา) คือมีอำนาจสั่งการ หรือปฏิบัติการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทุกกรณีด้วยตนเอง ตามหลักการที่ได้มอบหมายไว้ และตนเองจะต้องผูกพันรับผิดชอบในการปฏิบัตินั้นด้วย"

กับข้าราชการอีกคนหนึ่งที่เป็นทั้งนักวิชาการ เป็นที่ปรึกษาทางกฎหมาย เป็นคนที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในสาขาวิชาที่ตนเองทำงานอยู่

ซึ่ง "ผู้จัดการ" เชื่อมั่นลึก ๆ ว่า ทั้งสองย่อมสำนึกในหน้าที่ และบทบาทที่ตนเองมีอยู่อย่างมาก

แต่เรื่องจริง ๆ เล่าเป็นฉันใด??

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us