Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV ผู้จัดการรายสัปดาห์31 สิงหาคม 2552
ไฮสปีดบรอดแบนด์ ถึงเวลาติดจรวดโลกไซเบอร์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
Networking and Internet




*ผู้ประกอบการบรอดแบนด์อัปเกรดไลฟ์สไตล์คน Gen C
* เซตมาตรฐานใหม่บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเทียบเท่าต่างชาติ
* เปิดประสบการณ์ใหม่ คนท่องเว็บ ต้องแรงสุดๆ

ตลาดบริการไฮเทคที่นับวันทวีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ และจะฮอตยิ่งขึ้นเมื่อประเทศไทยมีการออกใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ก็คือ บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือจะเรียกว่า บรอดแบนด์ ก็ได้

บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเป็นบริการที่เพิ่งได้รับความนิยมในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ เมื่อทางบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดฉากดัมป์ 'ราคา' อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยี 'เอดีเอสแอล' ลงมาเหลือเพียง 590 บาท บนความเร็วในการดาวน์โหลด 1 เมก สำหรับผู้ใช้บริการ 'ทรู' ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญต่อตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศไทย หนึ่ง มาตรฐาน 'ราคา' ซึ่งถือเป็นการตั้งมาตรฐานราคาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงขั้นต่ำขึ้นมาเป็นครั้งแรก ซึ่งถูกกว่าของ 'บัดดี้ บรอดแบนด์' ที่เคยสร้างความฮือฮาราคาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 1 เมก ไว้ที่ราคา 650 บาทมาก่อนหน้านี้ได้ในบัดดล สอง มาตรฐาน 'ความเร็ว' อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่จะต้องไม่ต่ำกว่า 1 เมก ในราคา 590 บาท

นับจากนั้นมาจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันมีการประเมินกันว่า ตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเอดีเอสแอลปีนี้น่าจะมีถึง 1,500,000 พอร์ต ซึ่งยังมีสัดส่วนที่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ที่ทางสภาพัฒน์ประเมินว่า น่าจะมีถึง 13,600,000 ราย

สาเหตุที่ทำให้อัตราการเติบโตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในบ้านเราเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่ง เป็นการแข่งขัน 'ความเร็ว' อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่นับวันรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุอีกประการน่าจะมาจากความต้องการใช้งานแอปพลิเคชั่นบนอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไปจากเดิม ที่ผู้ใช้หันมาใช้บริการมัลติมีเดียจากเว็บไซต์ดังๆ อย่าง ยูทูบ เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ ซึ่งต้องใช้แบนด์วิธหรือความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลที่สูงขึ้น

หากถามว่า 'ใคร' คือผู้จุดชนวนการแข่งขันเรื่อง 'ความเร็ว' ของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในตลาดเมืองไทยนั้น คำตอบคงไม่ใช่ 'ทรู' ที่เคยสร้างปรากฏการณ์ราคาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว พระเอกของงานนี้ ก็คือ บริษัท ทริปเปิ้ลที บรอดแบนด์ จำกัด เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว ได้เปิดตัวแคมเปญ 'แม็กซ์เน็ต 3 เมก' ราคา 590 บาท พร้อมๆ กับการเปิดตัวเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ 'แม็กซ์เน็ต' รุกคืบเข้ามาแย่งตลาดของทรูในกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ตลาดหลักของแม็กซ์เน็ตอยู่ในตลาดต่างจังหวัดบนเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานของบริษัทแม่ 'ทีทีแอนด์ที' โดยเป็นไปตามข้อสัญญาสัมปทานเดิมที่ยังไม่ให้แม็กซ์เน็ตเปิดให้บริการในกรุงเทพฯ ได้

การบุกตลาดในครั้งนั้นส่งผลให้แม็กซ์เน็ตมียอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็น 470,000 ราย

เมื่อการรุกตลาดกรุงเทพฯ ของแม็กซ์เน็ต ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญของทรูออนไลน์ ทางทรูจึงได้เกทับด้วยการเปิดแพกเกจ 8 เมกออกมา จนกระทั่งต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัท ทริปเปิ้ลที บรอดแบนด์ จำกัด เปิดฉากรุกอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกครั้งด้วยการเปิดตัวแพกเกจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เป็น 'พรีเมียมแพกเกจ' ภายใต้ชื่อบริการ '3บีบี' ด้วยข้อเสนอความเร็ว 10 เมก ในราคา 1,490 บาทต่อเดือน พร้อมๆ กับการเปิดตัวแคมเปญโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้ติดตลาดเร็วยิ่งขึ้น

ครั้นถึงกลางเดือนกรกฎาคม ทาง 'ทรู' ก็ลุกขึ้นมาสู้เพื่อทวงคืนความเป็นผู้นำในตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ด้วยการเกทับความเร็วเป็น 12 เมก

'นนท์ อิงคุทานนท์' ผู้จัดการทั่วไปสายงานธุรกิจไวร์ไลน์ บริการบรอดแบนด์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า เพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ให้ตรงใจตามไลฟ์สไตล์ผู้ชื่นชอบเน็ตความเร็วสูง ทรู ออนไลน์ จะปรับเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าที่ใช้แพกเกจ 8 เมก เพิ่มขึ้นเป็น 12 เมก โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมทั้งจัดเตรียมคอนเทนต์สตรีมมิ่ง ที่เหมาะกับความเร็วดังกล่าว อาทิ ทรูวิชั่นส์ ให้ทดลองใช้เป็นเวลา 2 เดือน

'ถ้าลูกค้าได้ทดลองใช้และมั่นใจว่าความเร็วสูงดังกล่าว เป็นความเร็วมาตรฐานสำหรับไลฟ์สไตล์ของตัวเอง สามารถสมัครใช้บริการได้เลย และถ้าลูกค้าทรูต้องการใช้ต่อ เพียงเปลี่ยนแพกเกจบรอดแบนด์ 12 เมกได้ในราคาเดือนละ 1,690 บาท นอกจากนี้ลูกค้าทรูไฮสปีดอินเทอร์เน็ตแบบ 3 เมก กลุ่มที่เป็นคอนเวอร์เจนซ์แพกเกจยังได้รับสิทธิ์เพิ่มความเร็วแบนด์วิธไปต่างประเทศเป็นเท่าตัวด้วย'

การเพิ่มความเร็วเป็น 12 เมกในครั้งนี้ ทางทรูได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพชุมสายกว่า 7,000 โหนดทั่วกรุงเทพฯ ให้รองรับเอดีเอสแอล2+ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 1,500 โหนด โดยในแผนปีนี้จะเพิ่มอีก 200 โหนด รวมเป็น 1,700 โหนด ใช้งบประมาณโหนดละ 1 ล้านบาท

'ทางเทคนิคเครือข่ายของทรูสามารถให้ความเร็วได้สูงสุดที่ 20 เมก แต่รัศมีในการให้บริการจะสั้นเพียง 1 กิโลเมตรจากชุมสาย จึงเลือกที่ความเร็ว 12 เมก เพราะให้บริการได้กว้างกว่าและเพียงพอกับการใช้งาน'

เพื่อไม่ให้เสียหน้า บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ได้โดดลงมาเล่นสงครามความเร็วอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเช่นกัน โดยได้ส่งแพกเกจที่เรียกว่า 'เน็ต ท็อป สปีด' ที่พัทยา เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ที่ความเร็ว 8 เมก ในราคา 1,000 บาทต่อเดือน และความเร็ว 12 เมก ในราคา 1,500 บาทต่อเดือน ฟรี ค่าแรกเข้าพร้อมรับโมเด็มฟรีหรือแลกซื้อ Wireless Router Modem ในราคา 1,500 บาท

แคมเปญดังกล่าวสามารถใช้ Peer-to-Peer ทั้งภายในและต่างประเทศได้ในช่วงเวลา 00.01-06.00 น.โดยมีการจำกัดความเร็วในการดาวน์โหลดไว้ไม่เกิน 512K สำหรับอินเตอร์เนชั่นแนล แบนด์วิธ และไม่เกิน 1 เมกสำหรับโดเมสติกแบนด์วิธ โดยมีพื้นที่ให้บริการทั่วประเทศและระยะทางไม่เกิน 1 กิโลเมตร จากจุดให้บริการทีโอที

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการที่ขอใช้บริการแคมเปญนี้ในเขตพื้นที่ศรีราชาและพัทยา จะได้รับบริการ ทีโอที ไว-ไฟฟรีวันละ 10 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 เดือน

'แคมเปญ เน็ต ท็อป สปีด มุ่งเจาะกลุ่มลูกค้าครัวเรือนที่เน้นการใช้งานประเภทดาวน์โหลด รับ-ส่งอีเมล ตั้งเป้าจนถึงสิ้นปีจะมียอดลูกค้าบรอดแบนด์ 1 ล้านราย' ธีรวุฒิ บุณยโสภณ ประธานกรรมการ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าว

อีกทั้งทีโอทีมีแผนจะให้บริการบรอดแบนด์ เข้าไปยังกลุ่มหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเริ่มนำร่องไปแล้วที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รวมถึงการเข้าไปติดตั้งเครือข่ายไว-ไฟให้บริการตามเมืองท่องเที่ยวต่างๆ โดยได้รับความร่วมมือจาก วิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ที่เป็นกรรมการบอร์ดทีโอที ซึ่งจะให้ทีโอทีเข้าไปให้บริการอินเทอร์เน็ตร่วมกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และทีโอทียังมีแผนเข้าไปให้บริการกับหน่วยงานราชการ กระทรวงต่างๆ

นอกจากนี้ ทีโอทียังปรับเปลี่ยนทำการตลาดเชิงรุกมากขึ้นด้วยการส่งพนักงานเข้าไปเสนอบริการให้ลูกค้าถึงหน้าบ้าน เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่มีการทุ่มงบประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เป็นจำนวนมาก

'ไม่ต้องกลัวว่าจะเสียหน้าหรือเสียภาพลักษณ์ ขอเพียงให้ขายบริการบรอดแบนด์ทีโอทีได้ก็พอใจแล้ว'

ส่วนทาง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ถึงแม้จะไม่ได้โดดลงมาแข่งเรื่องความเร็วเหมือนผู้เล่นรายอื่น แต่ได้ปรับกลยุทธ์หาลูกค้าร่วมกับพันธมิตรอย่างเคเบิลทีวีตามต่างจังหวัด ภายใต้ชื่อบริการ 'เน็ตออนเคเบิลทีวี'

'เน็ตออนเคเบิลทีวีไปได้สวย แม้เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน แต่ได้รับความนิยมอย่างในหาดใหญ่ จันทบุรี มีลูกค้า 2-3 พันรายแล้ว กำลังจะเปิดที่เชียงใหม่ พิษณุโลก ด้วย รายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้หลังหักส่วนแบ่งกับเคเบิลทีวี ซึ่งมีตั้งแต่ 70-160 บาท กสทฯ จะได้รับราว 300 บาทต่อเดือน แต่กับบรอดแบนด์เพาเวอร์ไลน์กำลังหาสาเหตุว่าเป็นเพราะเทคโนโลยีหรือสภาพเศรษฐกิจทำให้ลูกค้าเพิ่มขึ้นไม่มาก' สมพล จันทร์ประเสริฐ รักษาการในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

ในซีกของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ก็มีความเคลื่อนไหวในการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเช่นกัน ล่าสุด ทางบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เพิ่งเปิดตัว 'เอสเอ็มเอส อินเทอร์เน็ต ซิม' ซึ่งเป็นซิมเวอร์ชั่นที่ 2 ที่ออกแบบมาสำหรับคนเล่นเน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานบริการเสริม เอสเอ็มเอสและดาต้า ด้วยราคาเพียงเดือนละ 149 บาท ส่งเอสเอ็มเอสได้ 200 ข้อความ ใช้จีพีอาร์เอส/เอดจ์ 20 ชั่วโมง ส่วนที่เกินจ่ายแค่ครึ่งจากปรกติ

ชัยยศ จิรบวรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสกลุ่มธุรกิจโพสต์เพด ดีแทค กล่าวว่า ปีที่ผ่านมาเราได้ทยอยเปิดตัวซีรีส์ต่างๆ ของซิมที่ 2 ออกมาเป็นระยะๆ เริ่มด้วย อินเทอร์เน็ต ซิมที่ให้ลูกค้ากลุ่มที่เน้นใช้บริการดาต้าได้ใช้บริการอย่างเต็มที่ในราคาสุดคุ้ม ตามมาด้วย เอสเอ็มเอส ซิมสำหรับลูกค้าที่ต้องการส่งข้อความเอสเอ็มเอสบ่อยๆ โดยไม่เน้นการโทร.ออก ซึ่งทั้งสองซิมได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีผู้ใช้งานร่วม 1 แสนราย

'ลูกค้าให้การตอบรับแนวคิดซิมที่สองอย่างน่าพอใจ อย่างไรก็ดีเราเล็งเห็นว่ายังมีลูกค้าโพสต์เพดอีกกลุ่มที่มีความต้องการใช้ทั้งบริการดาต้าและเอสเอ็มเอสไปพร้อมๆ กัน จึงเป็นที่มาของเอสเอ็มเอส อินเทอร์เน็ต ซิมที่ให้ลูกค้าใช้บริการดาต้าและเอสเอ็มเอสได้อย่างสบายใจ ส่วนค่าโทร.ทุกเครือข่ายนาทีละ 1.50 บาท โดยเชื่อว่าน่าจะฟิตกับความต้องการใช้งานของลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างดี'   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us