Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2544








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2544
PDA เลขานุการส่วนตัวบนอุ้งมือ ตอนที่ 3 (ตอนจบ)             
โดย อเนกระรัว
 

   
related stories

PDA เลขานุการส่วนตัวบนอุ้งมือ ตอนที่ 1
PDA เลขานุการส่วนตัวบนอุ้งมือ ตอนที่ 2

   
search resources

PDA




สองตอน ที่แล้วผมกล่าวถึงเครื่อง PDA (Per-sonal Digital Assistant) สองค่ายใหญ่ คือ ค่ายPalm และค่าย Pocket PC มาบ้างแล้ว คราวนี้ผมจบตอนด้วยข้อเสนอแนะในการเลือกซื้อ (หรือเลือก ที่จะยังไม่ ซื้อ) เครื่อง PDAมาไว้เป็นเลขานุการส่วนตัว

ผมขอจัดกลุ่มเครื่อง PDA ที่จำหน่ายในท้องตลาดออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. เครื่องจากค่าย Palm (ทั้งยี่ห้อ Palm และยี่ห้ออื่น) 2. เครื่อง Pocket PC 3. เครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ และ 4. โทรศัพท์มือถือ ที่มีความสามารถของ PDA

กลุ่มแรก เครื่องจากค่าย Palm เป็นเครื่อง PDA ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด นับเฉพาะในบ้านเราไม่ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เครื่อง PDA ในค่าย Palm มีหลายยี่ห้อ เช่น Palm, IBM, Handspring (Visor), TRG และ Sony เป็นต้น (เครื่อง Sony ยังไม่มีการนำเข้ามาจำหน่าย) เครื่อง PDA ในกลุ่มนี้เป็นทางเลือกหลักสำหรับผู้คิดจะใช้เครื่อง PDA ให้เป็นงานเป็นการเพราะความง่ายในการใช้งาน, Software หลากหลาย, การบริการ และ ความสามารถในการเขียนภาษาไทย (มีชื่อเฉพาะว่า Graffiti ตอน นี้ทำได้อยู่เจ้าเดียว) เครื่องในค่าย Palm ทุกยี่ห้อมีการใช้งาน ที่เหมือนกัน แต่ ที่พิเศษออกไปคือ เครื่อง Visor ของ Handspring มีช่องเสียบอุปกรณ์ ที่สามารถเพิ่มลูกเล่นให้กับเครื่องได้ เช่น เพิ่มหน่วยความจำ ติดกล้องถ่ายรูป หรือติด อุปกรณ์ให้เครื่องกลายเป็นโทรศัพท์ มือถือ เป็นต้น ส่วนเครื่องของ Sony มีความสามารถในการเพิ่มหน่วยความจำด้วยช่องเสียบ Memory Stick และเครื่องมีความสามารถด้านการแสดงภาพ

กลุ่ม ที่สอง Pocket PC ซึ่งได้แก่ Com- paq, Casio และ Hewlett Packard เป็นต้น เครื่อง Pocket PC มีสองรูปแบบ คือ รูปแบบของเครื่อง Palm คือ มีจอภาพให้ใช้ปากกา Stylus จิ้มหรือขีดเขียน และแบบเป็นตลับ ที่ฝาเปิดเป็นจอภาพ และมีแป้นกดอักษรขนาดจิ๋ว เครื่อง Pocket PC จะมีความสามารถด้าน Multimedia คือ แสดงภาพถ่าย วิดีโอ และเสียง แต่สิ่งเหล่านี้ผมคิดว่าเป็นของเล่นเสียมากกว่า และ ที่สำคัญการใช้งานด้าน Multimedia ของเครื่อง PDA ยังมีข้อจำกัดอยู่มากโดยเฉพาะเรื่อง หน่วยความจำ และการเก็บข้อมูล แต่ ที่น่าสนใจคือ เครื่อง Pocket PC แบบตลับ ที่สามารถป้อนข้อมูลด้วยการกดแป้นตัวอักษร เพราะการมีแป้น กดตัวอักษรทำให้สามารถเขียนข้อความลงในเครื่องได้ง่ายขึ้นมาก (โดยเฉพาะผู้ที่ใช้แป้นพิมพ์ เป็นประจำ) ท่านลองนึกภาพว่าขณะกำลังเจรจาธุรกิจอยู่จะต้องให้คู่เจรจารอท่าน จิ้ม จิ้ม และ จิ้ม เป็นระยะๆ ภาษาอังกฤษอาจพอทนแต่ถ้าเป็น ภาษาไทยละหืดทีเดียว หรือแม้จะเป็นการใช้การเขียนอักษรเข้าเครื่องก็ตาม จะเขียนได้ทีละตัวอักษร และจะต้องเขียนตามกฎเกณฑ์ของเครื่อง ซึ่งอาจขัดความรู้สึก ข้อเสียของเครื่อง Pocket PC แบบตลับคือ จะมีขนาดใหญ่กว่า เวลาถือใช้งานด้วยมือจะไม่สะดวกนัก ซึ่งถือว่าได้อย่างเสีย อย่างต้องเลือกเอา

กลุ่ม ที่ 3 คือ เครื่อง ที่ไม่ใช่ทั้งค่าย Palm และ Pocket PC กลุ่มนี้ ได้แก่ เครื่องยี่ห้อ Cellvic, Pison และ Casio รุ่นที่ไม่ใช่ Pocket PC เป็นต้น เครื่องในกลุ่มนี้ผมให้ความสนใจน้อยที่สุดเพราะเครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเฉพาะตัว ดูโดดเดี่ยว และมีข้อจำกัด ที่ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้ และ ที่สำคัญคือ ข้อจำกัดเรื่อง Software ที่นับวันจะมีอะไรดีๆ โผล่ออกมาเรื่อยๆ เว้นแต่ท่านไม่คิดจะขยับขยายอะไรให้ยุ่งยาก และพอใจกับการใช้งานเท่า ที่ใช้ได้ก็อาจเป็นทางเลือก

กลุ่มสุดท้าย ซึ่งผมให้ความสนใจอยู่ไม่น้อยคือ โทรศัพท์มือถือ ที่มีความสามารถเป็นเครื่อง PDA ในตัว เช่น Nokia 9110, Ericsson R380 หรือ Motorola A6188 เป็นต้น จุดที่ น่าสนใจคือ ท่านลองนึกภาพการที่เราต้องพก โทรศัพท์มือถือ (บางรายคิดมากลงทุนพก PCT คู่ไปด้วย) วิทยุติดตามตัว และเครื่อง PDA ( และ ที่ขาดไม่ได้ สมุดจดเล่มเล็กๆ และปากกา) ทั้งหมดยังไม่รวม พวงกุญแจ กระเป๋าสตางค์ และ ผ้าเช็ดหน้า ถ้าจะต้องพกพาสิ่งเหล่านี้ไปไหนต่อไหนทุกวันดูจะเป็นการลดทอนคุณภาพชีวิตลงไป ซึ่งไหนๆ จะต้องพกโทรศัพท์แล้วถ้าจะเป็นเลขาไปในตัวด้วยก็น่าจะดีไม่น้อย

ข้อได้เปรียบ ที่สำคัญของโทรศัพท์มือถือ ที่มี PDA อยู่ด้วยคือ การใช้ความสามารถด้านการสื่อสารทำงานร่วมกับ PDA ท่านสามารถส่งข้อมูลระหว่างเครื่องตั้งแต่ใบเสนอราคาให้กับลูกค้าจนถึงใบสั่งจากทางบ้านในรูปของ SMS (Short Message Service) ข้อมูลที่รับส่งกันยังสามารถจัดเก็บให้เป็นระเบียบได้ด้วย นอก จากนั้น โทรศัพท์พิสดารพวกนี้มีความสามารถในการติดต่อเครือข่าย Internet ในรูปแบบของ WAP (Wireless Application Protocol มีโอกาสจะนำมาเล่า) อธิบายง่ายๆ คือ เราสามารถ ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อผ่านระบบ Internet เพื่อ ใช้ค้นหาข้อมูลหรือใช้บริการโอนเงิน ซื้อของ จองตั๋ว และ E-mail ฯลฯ ซึ่งเริ่มมีให้ใช้บริการบ้างแล้ว และกำลังจะขยับขยายต่อไป และดูจะเป็นแนวโน้ม ที่มีอนาคต ข้อเสียของโทรศัพท์ ที่มี PDA ในตัวคือ จะมีราคาสูง (ไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท) และใช้ระบบปฏิบัติการเฉพาะตัว ที่ไม่เป็นมาตรฐาน แม้ขณะนี้ยังเป็นช่วงเริ่มต้นของการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตโทรศัพท์ ซึ่งยังไม่สุกงอมน่าทานเท่า ที่ควร แต่คาดว่าอุปกรณ์สื่อสาร ที่มีความสามารถเป็น PDA จะเป็นสมรภูมิรบ ที่ดุเดือดในไม่ช้า (ใครรอได้สมควรรอ)

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการแนะนำเบื้องต้นสำหรับการเลือกหาอุปกรณ์ PDA มาใช้ ถ้าจะเอาจริงผมแนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจาก นิตยสารทั้งไทย และเทศ และสำหรับความรู้เรื่องเครื่อง Palm ผมขอแนะนำ www.mrpalm.com ซึ่งมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่ไม่น้อย สุดท้ายนี้ผมถือโอกาสอวยพรสหัสวรรษใหม่ให้ท่านทั้งหลายมีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น และมีสุขภาพแข็งแรง และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ ท่านมองโลกในแง่ดีมีกำลังใจต่อสู้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และดำเนินชีวิตบนหนทาง ที่ไม่ประมาท จากใจจริงครับ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us