Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2531








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2531
โมบิล-สยามสหบริการ ผู้เกิดท่ามกลางเสือสิงห์กระทิงแรด             
 


   
search resources

โมบิล (ประเทศไทย)
สยามสหบริการ, บมจ.
Oil and gas




เชลล์ประเทศไทยแนะนำฟอร์มูล่าเชลล์ผลมสปาร์คเอดเดอร์ ซึ่งหวังจะเป็นหมัดเด็ดในการเพิ่มพูนส่วนแบ่งตลาดน้ำมันเบนซินซูเปอร์เมื่อปลายเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา โดยมีการแถลงข่าวข้ามทวีปให้เหล่าผู้สื่อข่าวที่ล้วนแล้วแต่เป็นระดับอาวุโสซึ่งได้รับเชิญให้ไปชมความก้าวหน้าของเชลล์ที่ยุโรปและอังกฤษ ถัดจากนั้นเชลล์ก็โหมโฆษณาอย่างหนักหน่วง

จากนั้นเพียง 4 เดือนเชลล์ก็ประสบมรสุมครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ฟอร์มูล่าเชลล์มีปัญหากับรถยนต์ถึง 4,000 คันก็จะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และจำนวนรถยนต์ที่ประสบปัญหามีเพียง 0.002% เท่านั้นก็ตาม แต่ด้วยคำแนะนำแกมบังคับจากบริษัทแม่ อนุจินต์ สุพล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของเชลล์คนไทยคนแรกจึงต้องจัดแถลงข่าวการถอนฟอร์มูล่าเชลล์อย่างกะทันหัน "มันเป็นการรักษาภาพพจน์ที่ดีในแง่ความรับผิดชอบต่อสาธารณชน" นักการตลาดระดับอ๋องคนหนึ่งวิจารณ์

บรรดานักการตลาดต่างพากันสรรเสริญการกระทำของเชลล์ในครั้งนั้นกันเอิกเกริก แต่สำหรับเหล่าคู่แข่งแล้วมันคือช่วงเวลาทองที่หาได้ยากยิ่ง

ขนาดโค้กเพียงกะพริบตาก็ถูกเป๊ปซี่รุมขย้ำ แล้วเชลล์พลาดครั้งนี้เสมือนกับเชลล์ต้องไปผ่าต้อทีเดียว ก็ลองเปรียบดูเถอะว่าจะกระอักขนาดไหน

รุ่งขึ้นภายหลังการประกาศถอนฟอร์มูล่าเชลล์เพียง 1 วัน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) แนะนำน้ำมันเบนซินสูตรใหม่ "พีทีที ไฮออคเทน" ซึ่งมีค่าออคเทนสูงถึง 97 ราวกับจะล่วงรู้ว่าเชลล์จะพลาด "เราไม่รู้เลยว่าเชลล์จะเกิดปัญหาและขออนุญาตไม่กล่าวถึงเขา" ระดับบริหารคนหนึ่งของ ปตท. บอก

ปตท. สร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อทวีส่วนแบ่งตลาดซึ่งเป็นรองยักษ์ต่างชาติอยู่หลายขุม แต่ความโดดเด่นในผลิตภัณฑ์ของ ปตท. เสมือนดาบสองคมย้อนกลับมาทิ่มแทงเมื่อคาลเท็กซ์ตอบโต้ ปตท. ทันควันด้วยการกล่าวว่ารถยนต์ในเมืองไทยไม่เหมาะกับออคเทนสูง ๆ ซึ่ง ปตท. ก็ต้องเหนื่อยกับการตอบโต้ข้อสงสัยนี้ไม่น้อย

คาลเท็กซ์หลังจากกระหน่ำ ปตท. เบาะ ๆ แล้วก็หันมาทุ่มโฆษณา คาลเท็กซ์ ซีเอ็กซ์-3 ที่คาลเท็กซ์ถือเป็นไม้ตายที่ภูมิใจมาก ๆ ตั้งแต่ 7 ปีที่แล้วจวบจนปัจจุบันก็ยังไม่เปลี่ยน

ห้วงเวลานี้ถ้าใครคิดจะเข้ายุทธจักรน้ำมัน ก็ต้องเพียบพร้อมทุกด้านจริงๆ เพราะยุทธจักรนี้เสือสิงห์กระทิงแรดเพียงใด ดูง่าย ๆ จากการพันตูข้างต้นก็คงเห็นชัด

และแล้วก็ปรากฏ "ผู้มาใหม่ อีกราย นั่นคือโมบิล (ประเทศไทย) เจ้าของโลโก้ปิกาซุส ผู้หาญทาบเสือสิงห์กระทิงแรด

อันที่จริงโมบิล จะว่าใหม่ก็ไม่ใหม่ทีเดียว

โมบิลเคยเข้ามาเมืองไทยเมื่อ 94 ปีที่แล้วเมื่อครั้งร่วมกับบริษัทเอกซอน ในชื่อสแตนดาร์ดแวคคัม ออยล์ แต่ต่อมาภายหลังเนื่องจากบริษัทนี้มหึมาเกินไปจึงถูกเงื้อมมือของแอนตี้ทรัสต์ลอร์ของสหรัฐฯ บีบให้แยกบริษัทออกเป็น 2 บริษัท

คือเป็นเอกซอนหรือที่คนไทยรู้จักในชื่อเอสโซ่เจ้าของโลโก้เสือพลังสูงและโมบิลออยล์ม้าบินนั่นเอง

เมื่อแยกออกจากกันบริษัททั้งสองยังคงถ้อยทีถ้อยอาศัยมีการแบ่งตลาดแต่ละประเทศไม่ก้าวก่ายกัน

โมบิลเข้ายึดหัวหาดที่ฟิลิปปินส์และสิงค์โปร์ ส่วนเอกซอน (หรือเอสโซ่) ครองความเป็นเจ้าในเมืองไทย

แต่ธุรกิจก็คือธุรกิจไม่มีข้อตกลงใดเป็นนิรันดร์ การเติบโตของตลาดน้ำมันเมืองไทยหอมหวนจนโมบิลอดใจไว้ไม่อยู่กระทั่วต้องหวนกลับมาอีกเมื่อปี 2510 แต่โมบิลก็มิอาจเจาะตลาดเมืองไทยได้ดังหวัง "ไม่แปลกหรอกเพราะบรรดาเจ้าตลาดที่มีอยู่ต่างก็ปกป้องตลาดอย่างแข็งขัน ยากมากที่โมบิลจะเจาะได้" คนในวงการน้ำมันเล่าให้ฟัง

การเข้ามาของโมบิลจึงมีลักษณะเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ไม่ฟู่ฟ่าเท่าที่ควร โมบิลไปได้สวยในตลาดน้ำมันเครื่อง ซึ่งก็มีมูลค่าการตลาดไม่สูงมากนัก เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่อยู่ในกำมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ครองตลาดอยู่แล้ว

ดังนั้นการบุกตลาดของโมบิลในครั้งใหม่ล่าสุดนี้จึงมีการตระเตรียมอย่างพรักพร้อมตั้งแต่การเลือกพาร์ทเนอร์เจ้าถิ่นซึ่งก็คือสยามสหบริการ

สยามสหบริการ ก่อตั้งเมื่อปี 2520 ด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท วัตถุประสงค์เริ่มแรกคือการประกอบกิจการรับส่งสินค้าคนโดยสารและสิ่งของอื่น ๆ โดยทางบก น้ำ และอากาศ ผู้ถือหุ้นในยุคแรกมี 55 คน

ปี 2526 เพิ่มทุนเป็น 10 ล้านบาท และในปีนี้เอง มงคล สิมะโรจน์ เข้าถือหุ้นด้วยและเป็นกรรมการ ซึ่งก็ประจวบเหมาะกับการที่เขาสอบตก ส.ส. ที่เขตพระโขนง จึงมีเวลาทุ่มเทให้ธุรกิจหลังจากที่น้องชายต้องกระโดดโลดเต้นตามลำพังมานาน และในปี 2527 เพิ่มทุนเป็น 15 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 85 คน ปี 2528 ได้มีการเพิ่มวัตถุประสงค์ของบริษัทเป็นรับเจาะและจำหน่ายน้ำบาดาลและที่สำคัญคือจำหน่ายและเป็นตัวแทนจำหน่าย, สั่งเข้ามาจำหน่ายซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด

เรียกว่าตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมาสยามสหบริการนอกจากจะประกอบกิจการขนส่งสินค้าแล้วยังได้ใบอนุญาติค้าน้ำมันอีกด้วย

สยามสหบริการมีข้อได้เปรียบที่ประกอบกิจการขนส่งจึงมีเรือเป็นของตนเองสำหรับบรรทุกน้ำมันอยู่หลายลำ อาทิ สยามนที สยามนลิน สยามวานิช สยามวารินทร์ และสยามนาวิน รวม ๆ แล้วมีระวางบรรทุกได้ 2,876 ตัน สยามสหบริการได้นำเข้าน้ำมันจากโรงกลั่นโมบิลที่สิงคโปร์ สามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วได้มากพอสมควร

เดือนเมษายน 2529 มีกรรมการเข้าใหม่ 5 คนที่น่าสนใจคือ ชาติเชื้อ กรรณสูต เจ้าพ่อช่อง 7 สี และอีก 1 เดือนต่อมาก็มีการเพิ่มทุนรวดเดียว 60 ล้านบาทเป็น 75 ล้านบาท ผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 74 คน

ปีถัดมาเพิ่มทุนเป็น 82,500,000 บาทและมีกรรมการเพิ่มสองคนคือ อุปจิต วสุรัตน์ ลูกชายของ อบ วสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและอดีตประธานกรรมการบริษัทวิทยาคมส่วนอีกคนคือ อำพล สุนทรเวช

กรรมการที่เข้าใหม่แสดงนัยสำคัญว่ามงคลเริ่มหาหุ้นส่วนที่มีแบ๊คหนุนหลังอันเข้มแข็งทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น ชาติเชื้อ กรรณสูต ที่แนบแน่นอยู่กับแบงก์กรุงศรีอยุธยา หรือ อุปจิต วสุรัตน์ที่มีฐานะอยู่ในขั้นเศรษฐี หากเหลียวมองด้าน อำพล สุนทรเวช ที่เป็นกรรมการอยู่ด้วยอาจบอกเป็นนัย ๆ ว่าสายสัมพันธ์ของเสี่ยหมงกับสมัครยังคงมีเยื่อใยอยู่เหนียวแน่น

ในช่วงเวลานี้เองที่มงคลเริ่มติดต่อกับทางโมบิลในการร่วมทำธุรกิจกับทางโมบิลและจะสร้างปั๊มน้ำมันของตนเองซึ่งคนในวงการปรามาสว่า "ไม่มีทางเป็นไปได้"

แต่เสี่ยหมงก็ทำให้มันเป็นไปแล้ว มีการเพิ่มทุนอีกครั้งเป็น 200 ล้านบาท และแตกหุ้นเป็นหุ้นละ 10 บาท พร้อม ๆ กับแผนการร่วมมือก็ได้ถูกวางอย่างไม่เงียบเท่าใดนัก และในที่สุดก็ประกาศร่วมมือกับโมบิลอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา

โครงการร่วมมือกันถูกวางไว้อย่างสวยหรูแต่ในขั้นแรกจะเป็นการให้ลิขสิทธิ์การใช้ชื่อม้าบินและถัดมาจะเป็นการร่วมทุนระหว่างโมบิลกับสยามสหบริการ

นอกจากนี้เสี่ยหมงยังมีแผนจะนำสยามสหบริการเข้าตลาดหลักทรัพย์และเพิ่มทุนเป็น 1,000 ล้านโดยจะกระจายให้หุ้นเป็นบริษัทมหาชนให้ได้ด้วย "เพื่อหวังว่าผู้ถือหุ้นก็ต้องใช้น้ำมันของเขา" คนในวงการทายใจ

แต่หลายคนวิเคราะห์ว่าการเป็นบริษัทน้ำมันมหาชนในทรรศนะของมงคลยังไม่น่าจะเป็นไปได้ "เขากระจายหุ้นไปมาก ๆ ไม่ได้เพราะเขาต้องรักษาอำนาจทางการบริหารอยู่ อย่างมากก็เพียงโฆษณาเท่านั้น"

มีธนาคารอย่างน้อยสองธนาคารที่หนุนหลังสยามสหบริการอยู่คือกรุงศรีอยุธยาโดยผ่าน ชาติเชื้อ กรรมสูต และเห็นได้จากเอ็ตโก้เป็นผู้จำหน่ายหุ้นด้วยส่วนหนึ่ง อีกธนาคารนั้นคาดกันว่าคือ ธนาคารกรุงเทพซึ่งสินเอเชียเป็นผู้ขายหุ้นให้สยามสหบริการอีกรายหนึ่งในอัตราส่วนที่มากกว่าเอ็ตโก้ด้วยซ้ำ และยิ่งโยงไปถึงการที่ชาตรีแผ่ขยายปีกไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ ยิ่งฉายภาพความเป็นนักเซ็งลี้ของเขา ประจวบกับการเข้ามาเป็นพนักงานธนาคารกรุงเทพของประยูร คงคาทอง อดีตผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดเอสโซ่ก็ยิ่งเป็นเรื่องน่าคิด?

การเข้ามาของประยูรนั้นชาตรีบอกว่าเพื่อจะเป็นมือด้านการตลาดของแบงก์กรุงเทพแต่ผู้สันทัดกรณีทำนายว่าเขาจะมาเป็นขุนพลคนที่ 5 ของชาตรีในการสยายปีกไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ และธุรกิจที่ชาตรีจับตาอยู่คือธุรกิจน้ำมันเห็นได้จากการที่สหายสนิทของเขาคือ สว่าง เลาหทัย เคยคิดที่จะประกอบธุรกิจน้ำมันอยู่พักใหญ่ ซึ่งว่ากันว่าเขาออกหน้าแทนชาตรี

ทางด้านโมบิลนั้นให้เครดิตแก่สยามสหบริการยาวนานถึง 3 เดือนและยังให้เลตเตอร์ ออฟคอมฟอร์ตด้วย

เรียกว่าด้านเงินทุนก็มีสองธนาคารหนุน ส่วนด้านผลิตภัณฑ์มีโมบิลทุ่มให้สุดตัว

งานนี้คงจะสัประยุทธ์กันอย่างถึงพริกถึงขิงแน่ ๆ ซึ่งขณะนี้สงครามเฉพาะหน้าก็คือการชิงปั๊มกันอย่างหนักหน่วงเพื่อขยายปริมณฑลของ OUTLET

สำหรับเสือสิงห์กระทิงแรดที่อยู่ในตลาดมาก่อนที่สู้ก็จะต้องสู้กันต่อไป

ส่วนที่จะต้องคุมกำเนิดก็คงจะมองข้ามไม่ได้เสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us