|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สภาพัฒน์แถลงจีดีพีไตรมาสสองติดลบ 4.9% เป็นผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำให้ส่งออก-ท่องเที่ยวหดตัว แต่ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว แนวโน้มดีขึ้นทั้งการลงทุนและบริโภค
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แถลงว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ยังติดลบร้อยละ 4.9 ดีขึ้นกว่าช่วงไตรมาสแรกที่จีดีพีติดลบร้อยละ 7.1 เมื่อรวม 6 เดือนแรกปี 2552 จีดีพีติดลบร้อยละ 6.0
อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายไตรมาส การใช้จ่ายภาคครัวเรือนมีสัญญาณดี คือเดือน มิ.ย. ซึ่งการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคดีขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ค. เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้กำลังซื้อของประชาชนดีขึ้น การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.9 และร้อยละ 9.6 ตามลำดับจากที่เคยขยายตัวร้อยละ 3.6 และติดลบร้อยละ 9.1 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณและงบกลางปีเพิ่มเติม ทำให้มีการก่อสร้างเพิ่มขึ้น
ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 8.4 จากที่เคยติดลบร้อยละ 14.4 ไตรมาสแรก ด้านการนำเข้าเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ปริมาณนำเข้าหดตัวร้อยละ 27.5 จากที่เคยติดลบร้อยละ 35 ในไตรมาสแรก เนื่องจากภาคเอกชนมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจ จึงมีการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ มาผลิตสินค้าตามความต้องการสั่งซื้อของตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเหล็กนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ในเดือน มิ.ย. ทำให้ภาพรวมการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมเริ่มดีขึ้น
**การเมืองปัญหาฉุด ศก.
เลขาธิการ สศช. กล่าวถึงปัจจัยลบที่ยังกระทบเศรษฐกิจไทยว่า คือ ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองที่ยังมีต่อเนื่องจนทำให้ภาคการลงทุนของภาคเอกชนยังไม่กระเตื้องมากนัก โดยยังติดลบร้อยละ 16.1 การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กระทบต่อผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวต่างชาติ และจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ทำให้กำลังซื้อของนักท่องเที่ยวลดลง ส่งผลต่อภาคการโรงแรมและภัตตาคาร หดตัวร้อยละ 5.6 จากที่หดตัวร้อยละ 6.0 ในไตรมาสแรก นอกจากนี้ยังมีปัญหาราคาสินค้าและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ทำให้รายได้เกษตรกรลดลง และการใช้จ่ายภาคครัวเรือนฟื้นตัวช้า
“สิ่งที่ต้องระวังคือ ผลกระทบเรื่องราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น แม้อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ยังติดลบร้อยละ 2.8 เทียบกับติดลบร้อยละ 0.3 ในไตรมาสแรก สำหรับอัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ 1.8 เริ่มปรับตัวดีขึ้น และเป็นสิ่งที่ไม่น่ากังวลแล้ว เพราะตัวเลขว่างงานปกติของไทย จะอยู่ประมาณ 4-5 แสนคน ซึ่งตัวเลขการว่างงานเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 5-6 แสนคน และปีนี้อัตราว่างงานไม่น่าจะเกิน 1 ล้านคน ทำให้สภาพัฒน์ประเมินว่า จีดีพีตลอดปีนี้จะอยู่ในกรอบเดิม คือ ติดลบไม่เกินร้อยละ 3.0-3.5
ขณะเดียวกัน สิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ คือ เร่งรัดใช้จ่ายงบประมาณปีงบประมาณ 2552 ให้ได้ร้อยละ 94 การเดินหน้าใช้จ่ายเงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งเตรียมไว้ในช่วงปีงบประมาณ 2553 ให้เงินออกสู่ระบบ การให้ธนาคารรัฐปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและรายย่อยที่ขาดสภาพคล่อง การใช้ระบบประกันราคาสินค้าเกษตร ไม่ให้เป็นภาระของรัฐบาลและดูแลสินค้าเกษตรในช่วงปรับลดลง แต่ต้องไม่ให้เกิดการทุจริตโครงการดังกล่าว ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนต้องดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสม ไม่ให้อ่อนค่ามากเกินไปในช่วงราคาน้ำมันแพง แต่ไม่แข็งค่าจนกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว ส่วนราคาน้ำมันตลาดโลกเฉลี่ยปีนี้อยู่ที่ประมาณ 60-65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
**“มาร์ค” เชื่อจีดีพีปี 52 ติดลบ 3-4
วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานและมอบรางวัลผู้ส่งออกสินค้าและบริการดีเด่น (Prime Minister's Export Award) ประจำปี 2552 ว่า รัฐบาลมีมาตราการสนับสนุนการส่งออก คือสิ่งที่พยายามดูคือในการอำนวยเรื่องของสินเชื่อให้ได้อย่างต่อเนื่อง และยุทธศาสตร์ของการทำตลาด ก็เป็นเรื่องที่เราจะพยายามเปิดตลาดใหม่ และใช้สำนักงานผู้แทนการค้าให้เป็นประโยชน์ โดยประสานกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งตนจะเดินทางไปยังประเทศต่าง ๆเพื่อผลักดันและเปิดตลาดขณะที่การดำเนินการในประเทศ รัฐบาลได้สนับสนุนให้มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ที่มีนโยบายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ให้เป็นรูปธรรม
"ไตรมาสที่ 4 รัฐบาลจะพยายามทำให้เป็นบวกในทุกด้านโดยเฉพาะในไตรมาสสุดท้าย แต่ก็คงไม่พอที่จะไปเฉลี่ยทั้งปีให้เป็นบวกได้ เพียงแต่ว่าเท่าที่เราดูแนวโน้มขนาดนี้ ตัวเลขเดือนต่อเดือนในทุกด้านค่อนข้างจะดีขึ้น น่าจะทำให้ให้มีแรงเหวี่ยงด้วยต่อไป และหากมีโครงการไทยเข้มแข็ง ลงไปด้วย น่าจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในภาครวมได้ด้วย" นายกฯ กล่าว.
|
|
|
|
|