Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ASTV-ผู้จัดการรายวัน24 สิงหาคม 2552
แบงก์จ่อขึ้นดอกเบี้ยฝาก สกัดลูกค้าหนี! คาดกนง.คงอาร์พี             
 


   
search resources

Interest Rate




บอนด์แบงก์ชาติพ่นพิษ นายแบงก์คาดดอกเบี้ยเงินฝากอาจขึ้นเพื่อรักษาฐานลูกค้า ประสานเสียง กนง.คงดอกเบี้ยที่ 1.25% ช่วยประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ส.ค.2552 นี้คาดว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร(อาร์พี) ระยะ 1 วัน หรืออัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ตามเดิม เนื่องจากไม่มีเหตุการณ์ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงนี้

“ตัวเลขหลายตัวแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวแล้ว เช่น ตัวเลขการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขหลายตัวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว แต่ก็ไม่จำเป็นต้องรีบปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพราะยังไม่รู้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้จะเป็นการฟื้นตัวอย่างแท้จริงหรือไม่” นายธวัชชัย กล่าว

ด้านนายตรรก บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (BAY) กล่าวว่า ในการประชุมกนง.ครั้งนี้ ธนาคารคาดการณ์ว่ากนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% และตลอดไตรมาส 3 นี้ เนื่องจากเป็นนโยบายของทางการที่ต้องการจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เพื่อช่วยภาคธุรกิจในการดำเนินกิจการหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนในขณะเดียวกันก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานไปได้พอสมควร

“อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำจะเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระประชาชนได้อย่างมาก ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เป็นสถาบันการเงินได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องหันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบและช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านต่างๆจากการดำเนินงานของธุรกิจไปได้จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว” นายตรรก กล่าว

ส่วนไตรมาส 4 ทิศทางอัตราดอกเบี้ยจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอดูสภาพเศรษฐกิจก่อนว่ามีการฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากน้อยแค่ไหนแต่เชื่อว่าน่าจะมีการทรงตัวอัตราดอกเบี้ยไประยะหนึ่งแล้วมีการปรับขึ้น เพราะหากดูแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศแล้ว มีบางประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น จึงเป็นปัจจัยทำให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ก็มองว่าอาจจะมีบางธนาคารมีการปรับสูงขึ้นซึ่งจะเป็นฝั่งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะกลางประเภท 12 เดือน เพื่อต้องการรักษาฐานลูกค้าเดิมเอาไว้และใช้เป็นกลยุทธ์ในการแข่งขัน แต่ระดับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากดังกล่าวก็คงจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก

ในขณะที่นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารซีไอเอ็มไทย จำกัด (มหาชน) (CIMBT) ประเมินอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ที่สอดคล้องกับตลาดว่า เป็นช่วงเวลาปกติที่ทางการจะต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้ก่อน เพราะทาง ธปท.ก็ออกมาพูดชัดเจนแล้วว่าขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในมีเม็ดเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่วนเรื่องอัตราเงินเฟ้อก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ จึงเชื่อว่ายังไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

“ทางการจะคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับปัจจุบันไปจนกระทั่งต้นปี 2553 แล้วถึงจะมีการปรับขึ้น เพราะเมื่อพิจารณาแล้วยังไม่มีปัจจัยอะไรที่จะกดดันให้มีการปรับขึ้นอีกทั้งเมื่อดูประเทศสหรัฐฯแล้วก็คงอีกนานเช่นกันกว่าที่เขาจะตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ย” นายบันลือศักดิ์กล่าว.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us