Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2530








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2530
"อิตัลไทยจับมือนิปปอน สตีล"             
 


   
www resources

โฮมเพจ อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

   
search resources

อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์, บมจ.
ไทยนิปปอนสตีล
Investment




23 ก.พ. 30-นพ. ชัยยุทธ กรรณสูต ประธานเครืออิตัลไทยแถลงในงานเปิดตัวบริษัทร่วมทุนระหว่างอิตัลไทยกับบริษัทญี่ปุ่นคือ บริษัทนิปปอน สตีล เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่นคอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งบริษัทเครือจักรกลสยามและบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวลลอปเม้นท์ บริษัทในเครือและกลุ่มผู้ถือหุ้นฝ่ายไทยถือหุ้น 62% และฝ่ายญี่ปุ่นคือบริษัทนิปปอนสตีล จำกัดถือหุ้น 38% โรงงานที่จะตั้งขึ้นนี้จะนำเข้าเหล็กรีดร้อน เพื่อนำมาผลิตเป็นเหล็กกล้าสำเร็จรูปเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซในทะเล และงานผลิตโครงเหล็กขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งยังไม่มีการดำเนินการขึ้นมาก่อนในประเทศ โรงงานนี้ใช้ทุนจดทะเบียนจำนวน 62 ล้านบาท จะมีกำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นตันต่อปี โดยเริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่เดือน มี.ค. นี้ จะใช้โรงงานเดิมของบริษัทเครื่องจักรกลสยามที่ตำบลท้ายบ้าน สมุทรปราการ จนกว่าจะสร้างโรงงานใหม่เสร็จภายในเนื้อที่ 50 ไร่บริเวณเดียวกัน ในขั้นต้นจะใช้เงินลงทุน 168 ล้านบาท ในขั้นเต็มโครงการคือปีที่ 2 จะลงทุนเพิ่มอีกจนเต็มเป้าหมาย 350 ล้านบาท โครงการทั้งหมดจะใช้คนงานถึง 700-800 คนผู้ร่วมทุนฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตและช่วยหาตลาดต่างประเทศสนับสนุนในด้านการส่งออกอีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยได้มากเพราะญี่ปุ่นครองตลาดเป็นจำนวนมาก ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบนั้น นอกจากนำเข้าจากญี่ปุ่นเองแล้ว หากวัตถุดิบจากแหล่งอื่นถูกกว่าก็จะนำเข้าจากที่อื่นสำหรับงานทางด้านการผลิตแท่นเจาะป้อนบริษัทน้ำมัน บริษัทคาดหวังว่าหลังจากที่รัฐบาลอนุมัติให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยสร้างโรงแยกก๊าซแห่งที่ 2 ขึ้นก็คาดว่าจะทำให้มีการขุดเจาะเพื่อนำก๊าซขึ้นมามากขึ้น การใช้แท่นเจาะก็จะเพิ่มตามตัว โดยคาดการณ์ว่าจะใช้แท่นเจาะเพิ่มเติมอย่างต่ำ 14 แท่น มูลค่าประมาณแท่นละ 120-150 ล้านบาท ซึ่งยังต้องการความช่วยเหลือจากรัฐอีกมาก สำหรับทางบีโอไอก็สนับสนุนเต็มที่ด้วยการยกเว้นภาษีซึ่งจะช่วยให้การผลิตในประเทศสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ได้ แต่การจำหน่ายในประเทศคงยังไม่มีปัญหาการแข่งขันเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ต้นทุนเป็นหลัก จึงยังไม่จำเป็นต้องตั้งกำแพงภาษี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us